Page 507 - kpi17073
P. 507

506     การประชุมวิชาการ
                   สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 16


                  และระดับท้องถิ่น และการที่รัฐสภาเปิดโอกาสให้ตัวแทนจากภาคประชาสังคมเข้าไปมีส่วนร่วม
                  ในการพิจารณาร่างกฎหมายในบทบาทของคณะกรรมาธิการรัฐสภาประเภทต่างๆ เป็นต้น


                         กรณีศึกษาของการทำงานในลักษณะหุ้นส่วนระหว่างภาคประชาสังคมและองค์กร
                  ที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการนิติบัญญัติไทยที่น่าสนใจ มีดังนี้


                             - การเข้าร่วมเป็นกรรมาธิการในการพิจารณากฎหมายของรัฐสภา เช่น ผู้แทนจาก

                               องค์กรพัฒนาเอกชนด้าน เด็ก สตรี คนชรา ผู้พิการ ได้รับสิทธิให้เข้าเป็น
                               กรรมาธิการวิสามัญของสภาผู้แทนราษฎร จำนวนไม่น้อยกว่าหนึ่งในสามของ
                               จำนวนกรรมาธิการทั้งหมด เพื่อพัฒนากฎหมายที่ประธานสภาผู้แทนราษฎร

                               วินิจฉัยว่ามีสาระสำคัญเกี่ยวกับเด็ก สตรี คนชรา ผู้พิการ


                              - การที่สมาคมป้องกันการทารุณสัตว์แห่งประเทศไทย ร่วมกับสภาทนายความและ
                               กรมปศุสัตว์ เสนอร่างพระราชบัญญัติป้องกันการทารุณกรรมและการจัดสวัสดิ
                               ภาพสัตว์ พ.ศ....  ส่งผลให้คณะรัฐมนตรีเห็นความสำคัญในการจัดทำร่างกฎหมาย

                               ฉบับดังกล่าว จึงได้มีการลงมติเสนอร่าง พ.ร.บ.ดังกล่าว ต่อประธานสภาผู้แทน
                               ราษฏร


                         กรณีศึกษาของการปฏิบัติงานร่วมกันระหว่างภาคประชาสังคมและองค์กรที่เกี่ยวข้อง

                  ในกระบวนการนิติบัญญัติในลักษณะหุ้นส่วน (Partnership) ของต่างประเทศที่น่าสนใจ มีดังนี้

                              - กระบวนการจัดทำร่างรัฐธรรมนูญฉบับประชาชนของประเทศตุรกีที่เกิดจากการที่

                               ภาคประชาสังคมสร้างกระบวนการสื่อสารเพื่อรับฟังความคิดเห็นของประชาชนทุก
                               ภาคส่วนผ่านช่องทางที่หลากหลายและจัดทำร่างรายงานนำเสนอคณะกรรมาธิการ
                               ยกร่างรัฐธรรมนูญ ซึ่งคณะกรรมาธิการฯให้ความร่วมมือในเรื่องดังกล่าวเป็นอย่าง

                               ดีและนำผลการศึกษาของภาคประชาชนไปเผยแพร่ในสื่อต่างๆ เพื่อให้ประชาชน
                               ทั่วประเทศแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับร่างรัฐธรรมนูญที่ได้จากการเสนอของ

                               ประชาสังคม ในที่สุดได้มีการนำร่างรัฐธรรมนูญฉบับดังกล่าวประกาศใช้เป็น
                               กฎหมาย ถือเป็นรัฐธรรมนูญที่เป็นเสียงสะท้อนขององค์กรภาคประชาสังคม
                               จำนวนทั้งสิ้น 401 องค์กร


                              - การที่ภาคประชาสังคมเข้าไปเป็นคณะทำงานเพื่อยกร่างกฎหมายร่วมกับรัฐบาล

                               (ร่างกฎหมายที่เสนอโดยฝ่ายบริหาร) และเป็นคณะทำงานร่วมกับรัฐสภา
                               (ร่างกฎหมายที่สมาชิกรัฐสภาเป็นผู้เสนอ) เช่น การแก้ไขปรับปรุงประมวล

                               กฎหมายเลือกตั้งของประเทศมาเซโดเนีย (The Electoral Code, Macedonia)
        การประชุมกลุ่มย่อยที่ 5   มอนเตเนโกร (NGO Law 2012, Montenegro) ซึ่งเป็นผลสำเร็จจากการทำงาน
                               การตรากฎหมายเกี่ยวกับการดำเนินงานขององค์การพัฒนาเอกชนของประเทศ


                               ร่วมกันระหว่างรัฐบาลและองค์กรภาคประชาสังคมและในประเทศเซอร์เบียที่มี
                               กลไกที่ทำหน้าที่ในการประสานงานระหว่างภาครัฐและภาคประชาสังคม (Civil
   502   503   504   505   506   507   508   509   510   511   512