Page 509 - kpi17073
P. 509

508     การประชุมวิชาการ
                   สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 16


                               ส่วนของสังคมเข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการนิติบัญญัติในทุกขั้นตอนได้อย่าง
                               แท้จริง ครอบคลุมตั้งแต่กระบวนการยกร่างและจัดทำกฎหมาย (Legislative

                               Preparation) ไปจนถึงกระบวนการควบคุมและตรวจสอบภายหลังที่มีการประกาศ
                               ใช้กฎหมายแล้ว (Monitoring and Assessment of Legislation)


                       3. ปรับปรุงกฎหมายและกฎระเบียบที่เป็นอุปสรรคต่อการมีส่วนร่วมของภาคประชา
                  สังคมในกระบวนการนิติบัญญัติ ดังนี้


                          (1) ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำกฎหมายของฝ่ายบริหาร
                               โดยการแก้ไขเพิ่มเติมพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการเสนอเรื่องและการประชุม

                               คณะรัฐมนตรี พ.ศ. 2548 และระเบียบว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการเสนอเรื่องต่อ
                               คณะรัฐมนตรี พ.ศ. 2548 โดยกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีดำเนินการรับฟังความ

                               คิดเห็นของผู้เกี่ยวข้องในการจัดทำร่างพระราชบัญญัติให้หน่วยงานของรัฐถือปฏิบัติ
                               ให้เป็นไปในแนวทางเดียวกันและเพื่อป้องกันการใช้ดุลพินิจในการกำหนดวิธีดำเนิน
                               การรับฟังความคิดเห็นที่ไม่ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อประชาชน ตลอดจนกำหนด

                               รูปแบบและวิธีการจัดรับฟังความคิดเห็นจะต้องดำเนินการให้รัดกุมภายใต้หลักของ
                               ความมีประสิทธิภาพ โปร่งใส และนำรูปแบบการรับฟังความคิดเห็นที่มีความ

                               ทันสมัยมาปรับใช้เพื่อก่อให้เกิดประโยชน์ต่อประชาชนมากที่สุด

                           (2) ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำกฎหมายของรัฐสภา โดยการ

                               แก้ไขข้อบังคับการประชุมสภาผู้แทนราษฎรและข้อบังคับการประชุมวุฒิสภา เช่น
                               การกำหนดกรอบระยะเวลาที่แน่ชัดในการพิจารณาร่างกฎหมายในแต่ละฉบับ

                               การเพิ่มสัดส่วนผู้แทนจากภาคประชาสังคมและองค์กรภาคประชาชนให้เข้ามามี
                               ส่วนร่วมในการพิจารณาร่างกฎหมายที่มีผลกระทบโดยตรงต่อประชาชนในชั้นการ
                               พิจารณาของคณะกรรมาธิการทุกคณะ


                           (3) ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในการเสนอร่างกฎหมาย โดยการเพิ่มช่อง

                               ทางการเสนอร่างกฎหมายของภาคประชาชนให้สามารถใช้สิทธิริเริ่มในการเสนอ
                               กฎหมายผ่านองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญและกำหนดประเภทของกฎหมาย

                               ที่ประชาชนมีสิทธิเสนอให้มีความหลากหลายไม่จำกัดเฉพาะร่างกฎหมายที่เกี่ยวกับ
                               สิทธิและเสรีภาพของประชาชน และร่างกฎหมายที่เกี่ยวกับแนวนโยบายพื้นฐาน
                               แห่งรัฐเท่านั้น ตลอดจนออกมาตรการเพื่อการป้องกันไม่ให้ร่างกฎหมายที่เสนอ

                               โดยประชาชนตกไปโดยไม่มีเหตุอันควร เช่น การมอบอำนาจการตัดสินใจ
                               ขั้นสุดท้ายให้กับประชาชน การกำหนดให้รัฐสภาไม่สามารถแก้ไขหรือเปลี่ยนแปลง

                               เนื้อความของร่างกฎหมายที่เสนอโดยประชาชนในทางที่จะกระทบต่อเจตนารมณ์
        การประชุมกลุ่มย่อยที่ 5   ของร่างกฎหมายและมาตรการอื่นๆที่ให้รัฐสภาเล็งเห็นถึงความสำคัญของ

                               ร่างกฎหมายภาคประชาชนให้มีความทัดเทียมกับร่างกฎหมายที่เสนอโดยสมาชิก

                               รัฐสภาและคณะรัฐมนตรี
   504   505   506   507   508   509   510   511   512   513   514