Page 506 - kpi17073
P. 506

การประชุมวิชาการ
                                                                                         สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 16   505


                                  (1)  การให้ข้อมูล (Access to information)


                                          การให้ข้อมูล คือ การมีส่วนร่วมในระดับต้นซึ่งองค์กรที่เกี่ยวข้องกับ
                      กระบวนการนิติบัญญัติใช้เป็นช่องทางในการสื่อสารกับภาคประชาชนในเรื่องที่เกี่ยวกับความ
                      เคลื่อนไหว ในกระบวนการนิติบัญญัติและเป็นรูปแบบของการสื่อสารทางเดียวที่ไม่ต้องการ

                      ปฎิสัมพันธ์จากผู้ที่เกี่ยวข้อง เช่น การแถลงข่าว การเผยแพร่ข้อมูลนิติบัญญัติ (ร่างกฎหมาย
                      รายงานและบันทึกการประชุมของรัฐสภา และเอกสารประกอบการพิจารณาร่างกฎหมาย) ผ่าน

                      ช่องทางต่างๆ เช่น อินเตอร์เน็ต สื่อวิทยุและโทรทัศน์ สื่อสิ่งพิมพ์ และการจัดกิจกรรมรณรงค์
                      เผยแพร่ความรู้ในทุกรูปแบบทั้งที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการ จากการศึกษาพบว่าแม้ว่า
                      มาตรการดังกล่าวจะเป็นการสื่อสารทางเดียวจากสถาบันนิติบัญญัติแต่ก็เป็นการทำให้ภาค

                      ประชาสังคมสามารถรับรู้และสามารถกำหนดทิศทางการเคลื่อนไหวในเรื่องที่เกี่ยวกับกระบวนการ
                      นิติบัญญัติได้ นอกเหนือไปจากการให้ข้อมูลขององค์กรที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการนิติบัญญัติแก่

                      ประชาชนแล้ว ภาคประชาสังคมยังมีส่วนร่วมในการให้ข้อมูลความเคลื่อนไหวเกี่ยวกับ
                      กระบวนการนิติบัญญัติแก่ประชาชนทั่วไปด้วย เช่น การจัดตั้งหน่วยในการเฝ้าระวังกฎหมาย
                      (legislative watch unit) ในภาควิชาการหรือภาคประชาสังคมเพื่อสนับสนุนให้ประชาชนสามารถ

                      เข้าร่วมในกระบวนการนิติบัญญัติได้มากขึ้นในระยะยาว ตลอดจนการจัดทำเว็บไซต์ระบบติดตาม
                      (tracking system) ร่างกฎหมายซึ่งกำลังจะเข้าสู่กระบวนการนิติบัญญัติในขั้นตอนต่างๆ

                      (สมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์ และคณะ;2553)

                                 (2) การปรึกษาหารือ (Counselling and Consultation)


                                          กระบวนการปรึกษาหารือ คือ กระบวนการมีส่วนร่วมสองทางที่องค์กร

                      นิติบัญญัติต้องการรับทราบคำแนะนำและความคิดเห็นจากภาคประชาสังคมในประเด็นต่างๆ ที่
                      เกี่ยวข้องกับกฎหมายฉบับต่างๆ เช่น การรับฟังความคิดเห็นของประชาชนเพื่อการจัดทำกฎหมาย
                      และกฎระเบียบของรัฐในรูปแบบต่างๆ เช่น การขอความคิดเห็นจากประชาชนโดยวิธีการทาง

                      ไปรษณีย์การทำแบบสอบถาม การสัมภาษณ์ การจัดสัมมนาระดมความคิดเห็นกับผู้ที่เกี่ยวข้อง
                      การจัดประชุมเชิงปฏิบัติการ การเปิดอภิปราย และการรับฟังความคิดเห็นแบบออนไลน์ผ่านอินเต

                      อร์เน็ต เป็นต้น ทั้งนี้ กระบวนการดังกล่าวจะทำให้ผู้จัดทำกฎหมายรับทราบถึงข้อท้าทาย
                      ทางออกในการแก้ไขปรับปรุงกฎหมายให้มีความสอดคล้องกับความต้องการของประชาชนไปจนถึง
                      ผลกระทบของร่างกฎหมายฉบับนั้นๆที่จะมีในอนาคต


                                  (3) การร่วมปฏิบัติ (Partnership)


                                          การร่วมปฏิบัติเป็นการปฏิบัติงานร่วมกันระหว่างภาคประชาสังคมและ
                      องค์กรที่เกี่ยวข้องในกระบวนการนิติบัญญัติในลักษณะหุ้นส่วน (Partnership) ซึ่งถือเป็นระดับ

                      การมีส่วนร่วมของภาคประชาสังคมในกระบวนการนิติบัญญัติในระดับสูงที่สุด เช่น การจัดตั้ง
                      ภาคีเครือข่ายหรือคณะทำงานเพื่อการจัดทำกฎหมายร่วมกับรัฐบาลหรือสมาชิกรัฐสภา (working

                      groups for drafting legislation) การที่ประชาชนใช้สิทธิในการเสนอกฎหมายทั้งในระดับชาติ               การประชุมกลุ่มย่อยที่ 5
   501   502   503   504   505   506   507   508   509   510   511