Page 501 - kpi17073
P. 501

500     การประชุมวิชาการ
                   สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 16


                                      สำหรับกรณีศึกษาของต่างประเทศที่ผู้เขียนจะขอนำเสนอ คือ กรณีศึกษา
                  ของประเทศอียิปต์ที่ภาคประสังคมขับเคลื่อนในกระบวนการนิติบัญญัติโดยอาศัยการดำเนินงาน

                  ในลักษณะของการเป็นหุ้นส่วน (Partnership) เช่น ความร่วมมือระหว่างภาคประชาสังคมกับ
                  สมาชิกรัฐสภา คณะกรรมาธิการของรัฐสภา พรรคการเมือง ตลอดจนองค์กรและสถาบันต่างๆ ที่
                  มีความเกี่ยวข้องกับกระบวนการนิติบัญญัติ ซึ่งยุทธศาสตร์ในการทำงานแบบหุ้นส่วนนี้ ทำให้

                  กฎหมายการลงทุนของประเทศอียิปต์ (The Investment Law,1997) ประกาศใช้บังคับเป็น
                  กฎหมายได้ภายในระยะเวลาอันรวดเร็ว (Center for Development Research : University of

                  Bonn, 2005)

                             (3) อารยะขัดขืน (Civil Disobedience)


                                      ในประเทศที่กระบวนการนิติบัญญัติมีความเข้มแข็ง เช่น ประเทศ

                  สหรัฐอเมริกา และประเทศฝรั่งเศส มักพบว่าการเมืองในระบบตัวแทนและการเมืองภาค
                  ประชาชนดำเนินการไปในทิศทางที่สอดรับกันอย่างเป็นระบบ มีกระบวนการจัดทำกฎหมาย
                  (Law Making Process) ที่เกิดจากแนวนโยบายที่ประชาชนมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วนส่งผลให้

                  กฎหมายที่ออกโดยกระบวนการรัฐสภามีความศักดิ์สิทธิ์และผู้คนทั่วไปยอมรับและปฏิบัติตาม
                  ต่างจากในหลายๆประเทศ เช่น ประเทศไทยที่กระบวนการจัดทำกฎหมายสะท้อนให้เห็นถึงแนว

                  ความคิดแบบ Top-Down Approach กล่าวคือ เป็นกระบวนการที่เกิดจากแนวนโยบายของกลุ่ม
                  บุคคลที่มุ่งรักษาผลประโยชน์ให้แก่กลุ่มผลประโยชน์เพียงบางกลุ่มและขาดการมีส่วนร่วมของ
                  ประชาชนอย่างกว้างขวาง สภาพปัญหาดังกล่าวนำไปสู่ปฎิสัมพันธ์เชิงปะทะระหว่างรัฐและภาค

                  ประชาชน และพัฒนาไปสู่การปฎิเสธอำนาจรัฐที่มีลักษณะ“อารยะขัดขืน” ในประเด็นดังกล่าว
                  มานิตตา ชาญไชย (2552;10)  ได้อรรถาธิบายไว้อย่างน่าสนใจว่า “อารยะขัดขืน” คือการใช้

                  สันติวิธีโดยมีเป้าประสงค์ในการก่อให้เกิดการเปลี่ยนทางกฎหมายและนโยบายของรัฐบาล เพื่อ
                  ต้องการให้สังคมเห็นว่ามีความไม่เป็นธรรมเกิดขึ้น โดยการไม่ปฏิบัติตามกฎหมายและนโยบายที่
                  ประชาชนเห็นพ้องต้องกันว่าปราศจากความเป็นธรรม


                                      ๏ กรณีศึกษาจากต่างประเทศ


                                        จิระพงษ์ เต็มเปี่ยม (2557) ได้นำเสนอกรณีศึกษา “ขบวนการสิทธิ

                  พลเมือง” (Civil Rights Movement) ช่วงระหว่าง ค.ศ.1955-1968 ของประเทศสหรัฐอเมริกา
                  ที่มีการต่อสู้เพื่อสิทธิความเท่าเทียมกันของคนผิวดำไว้อย่างน่าสนใจ เช่น สุภาพสตรีผิวดำปฏิเสธ
                  ที่จะลุกให้ที่นั่งแก่คนผิวขาวบนรถประจำทางกฎหมายท้องถิ่นที่บัญญัติให้คนผิวดำสละที่นั่งโดยสาร

                  ให้คนผิวขาว ส่งผลให้สุภาพสตรีท่านนั้นถูกตัดสินจำคุก จากนั้นกลุ่มคนผิวดำจึงพากันประท้วง
                  จนกระทั่งรัฐบาลท้องถิ่นต้องยกเลิกกฎหมายฉบับดังกล่าวและเป็นที่รู้จักกันดีในนามของการ

                  คว่ำบาตรรถประจำทางมอนต์โกเมอรี (Montgomery Bus Boycott) นอกจากนี้ ยังมีกรณีศึกษา
        การประชุมกลุ่มย่อยที่ 5   ที่น่าสนใจ เช่น การรวมกลุ่มกันต่อสู้ของกลุ่มคนผิวดำโดยการฝ่าฝืนกฎหมายของรัฐบาลกลาง

                  สหรัฐอเมริกา เช่น การใช้วิธี Sit-In ในสถานที่สาธารณะต่างๆ เช่น สวนสาธารณะ ห้องสมุด

                  โรงภาพยนตร์ พิพิธภัณฑ์ เพื่อไม่ให้คนผิวขาวสามารถเข้ามาใช้บริการในสถานที่ดังกล่าวได้อย่าง
   496   497   498   499   500   501   502   503   504   505   506