Page 500 - kpi17073
P. 500
การประชุมวิชาการ
สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 16 499
ตารางแสดงแนวทางการขับเคลื่อนร่างพระราชบัญญัติเกี่ยวกับสิทธิในที่ดินทำกินของประชาชน
ของเครือข่ายกฎหมายเพื่อคนจน 4 ฉบับ
รูปแบบของการรณรงค์ รายละเอียดกิจกรรม
1. การจัดตั้งเครือข่าย จัดตั้งเครือข่ายเพื่อขับเคลื่อนร่างพระราชบัญญัติฯ
ทั้ง 5 ภูมิภาค
2. การรวบรวมรายชื่อ รวบรวมรายชื่อประชาชนผู้มีสิทธิเข้าชื่อเสนอกฎหมาย
ให้ได้จำนวนทั้งสิ้น 4 ล้านรายชื่อ (ฉบับละ 1 ล้าน
รายชื่อ)
3. จัดกิจกรรมเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับร่างกฎหมาย ประชาสัมพันธ์ถึงความเป็นมาและสาระสำคัญของ
ร่างกฎหมายผ่านทางสื่อในรูปแบบ
4. การให้ประชาชนทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมในการ จัดให้มีเวทีรับฟังความคิดเห็นใน 5 ภูมิภาค ผู้เข้าร่วม
จัดทำร่างพระราชบัญญัติ ประกอบด้วย เครือข่ายองค์กรชุมชนที่ปฏิบัติงานด้าน
ที่ดิน ผู้แทนสมาชิกสภาองค์กรชุมชน สมาชิกสภา
เกษตรกรและผู้แทนชุมชนที่ประสบปัญหาเรื่องที่ดิน
5. ยื่นหนังสือเรียกร้องต่อประธานรัฐสภา ยื่นจดหมายเปิดผนึกต่อประธานรัฐสภาเพื่อติดตาม
ความคืบหน้าในการเสนอร่างกฎหมาย
แหล่งที่มาของข้อมูล http://4 laws.info/
(2) การทำงานในรูปแบบเครือข่าย (Networking) และการเป็นหุ้นส่วน
(Partnership)
เป็นที่ทราบกันโดยทั่วไปว่าการขับเคลื่อนเพื่อก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลง
ในกระบวนการนิติบัญญัติจะต้องอาศัยความร่วมมือจากหลายๆ ภาคส่วน ดังนั้นการทำงาน
ในรูปแบบเครือข่าย (Networking) และการเป็นหุ้นส่วน (Partnership) จึงเป็นปัจจัยสำคัญใน
การที่ทำให้การเคลื่อนไหวของภาคประชาสังคมเป็นไปในทิศทางที่ต้องการ ในประเด็นดังกล่าว
สำนักส่งเสริมการมีส่วนร่วมและพัฒนาเครือข่าย สำนักงานคณะกรรมการปฎิรูปกฎหมาย
(2557) ได้วิเคราะห์ถึงความสำคัญของการทำงานในรูปแบบเครือข่ายและการเป็นหุ้นส่วนที่เป็น
ปัจจัยสำคัญในการนำไปสู่ผลสำเร็จของการเข้าชื่อเสนอร่างกฎหมายของภาคประชาชน สรุปสาระ
สำคัญได้ว่า การมีส่วนร่วมของเครือข่ายภาคประชาชนที่เข้มแข็งและการสนับสนุนจากฝ่าย
การเมืองนอกจากจะทำให้การผลักดันร่างกฎหมายจากภาคประชาชนประสบผลสำเร็จแล้ว ยังมี
ผลดีในแง่ของเนื้อหาสาระของกฎหมายที่ออกมาบังคับใช้ที่มีความสอดคล้องต่อความต้องการของ
ประชาชน อันจะส่งผลให้กฎหมายมีประสิทธิภาพในการบังคับใช้ในระยะยาว ดังจะเห็นได้จาก
พระราชบัญญัติที่มาจากการเสนอของประชาชนหลายฉบับที่เป็นผลจากการดำเนินงานในลักษณะ
เครือข่ายของภาคประชาชนที่มีความเข้มแข็งและการดำเนินงานที่มีความร่วมมืออย่างใกล้ชิดกับ
องค์กรที่เกี่ยวข้องในกระบวนการนิติบัญญัติ การประชุมกลุ่มย่อยที่ 5