Page 495 - kpi17073
P. 495

494     การประชุมวิชาการ
                   สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 16


                  ต่างๆ เพื่อแสวงหาแนวทางการเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับภาคประชาสังคมในการมีส่วนร่วม
                  ในกระบวนการนิติบัญญัติสืบไป


                  คำสำคัญ : ภาคประชาสังคม,กระบวนการนิติบัญญัติ, การมีส่วนร่วม



                  1.  พัฒนาการและทิศทางการเคลื่อนไหวของภาคประชาสังคม

                    ในกระบวนการนิติบัญญัติ


                       หากพิจารณาเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญไทยบางฉบับ เช่น รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักร

                  ไทย พุทธศักราช 2550 จะเห็นได้ว่าบทบัญญัติในส่วนที่เกี่ยวข้องกับบทบาทของรัฐสภาได้สะท้อน
                  ให้เห็นถึงเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญที่ให้ความสำคัญต่อฝ่ายนิติบัญญัติในการพิจารณากฎหมาย

                  อย่างเป็นอิสระตลอดจนการรับรองสิทธิเสรีภาพของประชาชนในการมีส่วนร่วมในกระบวนการ
                  นิติบัญญัติหลายประการ (คณะกรรมาธิการวิสามัญบันทึกเจตนารมณ์ จดหมายเหตุ และ
                  ตรวจรายงานการประชุม สภาร่างรัฐธรรมนูญ,2550) สิ่งดังกล่าวจะนำไปสู่เป้าประสงค์ปลายทาง

                  คือ การตรากฎหมายที่สามารถจัดสรรสิทธิประโยชน์ให้แก่ภาคส่วนต่างๆได้อย่างเป็นธรรม
                  อย่างไรก็ตามเป็นที่ทราบกันโดยทั่วไปว่าการเมืองการปกครองและการบริหารประเทศ รวมทั้ง

                  ระบบกฎหมายขาดการบูรณาการและเป็นเรื่องไกลตัวสำหรับประชาชน ทั้งๆ ที่สิ่งต่างๆ เหล่านี้
                  ควรเป็นสิ่งที่ตอบสนองต่อความต้องการของสังคมโดยรวมมิใช่ดำเนินไปเพื่อประโยชน์เฉพาะกลุ่ม
                  บุคคลใดเท่านั้น เมื่อกฎหมายที่ใช้บังคับไม่สามารถตอบสนองต่อความต้องการของสังคมโดยรวมได้

                  ประชาชนจะมีการรวมกลุ่มเพื่อเคลื่อนไหวในรูปแบบต่างๆ อันอาจส่งผลในการก่อให้เกิดการ
                  เปลี่ยนแปลงทางกฎหมายและนโยบายที่เป็นธรรม ในประเด็นดังกล่าวศาสตราจารย์ด้านกฎหมาย

                  แห่งมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดประเทศสหรัฐอเมริกาได้วิเคราะห์ว่าการเคลื่อนไหวของภาคประชาสังคม
                  เพื่อก่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงในกระบวนการนิติบัญญัติ เป็นการเน้นย้ำถึง “หลักการแห่ง
                  ความเป็นธรรมและพลังอำนาจของประชาชนที่อยู่เหนือกฎหมาย” อีกด้วย (Lani

                  Guinier,2009)


                         1 1   พั นาการ ละ  า   า       า ประ าสั

                          การทำความเข้าใจเกี่ยวกับพัฒนาการและความหมายของคำว่า “ภาคประชาสังคม”
                  มีความจำเป็นอย่างยิ่งต่อการวิเคราะห์บทบาทของภาคประชาสังคมในกระบวนการนิติบัญญัติ

                  ดังจะเห็นได้จาก สภาวการณ์ปัจจุบันที่ประชาชนหลากหลายกลุ่มเคลื่อนไหวเพื่อเรียกร้องให้มีการ
                  เปลี่ยนแปลงทางกฎหมายนั้น อาจไม่ใช่การกระทำในนามของ “ภาคประชาสังคม” เสมอไป หาก

                  แต่เป็นการกระทำของกลุ่มผลประโยชน์และกลุ่มกดดันต่างๆ ที่อาศัย “พลังอำนาจของประชาชน”
                  เพื่อเรียกร้องให้มีการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ก่อให้เกิดประโยชน์แก่ตน นับจากอดีตจนถึงปัจจุบัน
        การประชุมกลุ่มย่อยที่ 5   มากมายขึ้นอยู่กับการมองบทบาทและความสำคัญของภาคประชาสังคมจากแนวคิดใด
                  นักนักวิชาการชาวต่างประเทศและนักวิชาการไทยได้ให้คำนิยามของ “ภาคประชาสังคม” ไว้อย่าง
   490   491   492   493   494   495   496   497   498   499   500