Page 490 - kpi17073
P. 490

การประชุมวิชาการ
                                                                                         สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 16   489


                      ของตน มีคำกล่าวที่ว่า เสียงร้องของทารกในอพาร์ทเม้นท์ในยามค่ำคืน ไม่สามารถใช้เป็นข้ออ้าง
                      ในการฟ้องร้องผู้ปกครองของเด็กว่าทำให้เกิดเสียงดังได้ ถ้าเรายึดถือตามหลักการดังกล่าวจะช่วย

                      ประกันให้เสรีภาพในการชุมนุมเกิดขึ้นได้จริงแม้จะกระทบต่อประชาชนทั่วไปในเรื่องเสียง ความ
                      สะอาดและการจราจรบ้างก็ตาม อย่างไรก็ตาม เสรีภาพดังกล่าวก็ย่อมมีข้อกัดเนื่องจากการใช้
                      เสรีภาพของประชาชนกลุ่มหนึ่ง ย่อมไปกระทบต่อเสรีภาพของบุคคลอื่นเช่นกัน


                          การ  ้   ้ ราบก  นการ   น  สา าร ะ

                            การชุมนุมสาธารณะเป็นเสรีภาพที่กฎหมายทั้งในและระหว่างประเทศให้การรับรองไว้

                      ดังนั้น การใช้เสรีภาพในการชุมนุมสาธารณะไม่ควรต้องขออนุญาต แต่ควรกำหนดเงื่อนไขให้ผู้จัด
                      ชุมนุมต้องแจ้งให้เจ้าหน้าที่ในพื้นที่ทราบ โดยกำหนดวัตถุประสงค์ ช่วงเวลาที่เหมาะสม สถานที่

                      ในการชุมนุม การชุมนุมสาธารณะควรยึดหลักการแจ้งให้ทราบเพื่อให้เจ้าหน้าที่มาอำนวยความ
                      สะดวกให้กับผู้มาชุมนุมและประชาชนในละแวกที่เกี่ยวข้องที่อาจได้รับผลกระทบ อีกทั้งจะได้
                      ทราบถึงระยะเวลาและกิจกรรมของผู้จัดการชุมนุม ทางเจ้าหน้าที่ตำรวจจะได้วางแผนในการ

                      ปฏิบัติงานได้ต่อไป


                           น้า        ้ ั การ   น

                            ผู้จัดการชุมนุมมีหน้าที่ประสานงานกับเจ้าหน้าที่รัฐ ดูแลการชุมนุมให้เป็นไปด้วยความ
                      เรียบร้อย รวมถึงความสะอาดบริเวณที่มาชุมนุม ควบคุมสอดส่องไม่ให้ผู้มาชุมนุมใช้ความรุนแรง

                      และควรมีแนวคิดว่าที่สาธารณะนั้นเป็นของส่วนรวมควรแบ่งปันพื้นที่ในการใช้ร่วมกัน โดยยึดหลัก
                      “แบ่งปันทุก แบ่งปันสุข” ในกรณีที่ผู้จัดการชุมนุมเห็นว่าไม่สามารถควบคุมการชุมนุมให้อยู่ใน
                      ความสงบได้ ก็ต้องประสานกับเจ้าหน้าที่ตำรวจโดยเร็วเพื่อขอความช่วยเหลือในการเข้าควบคุม

                      ผู้มาชุมนุม อย่างไรก็ตามกรณีที่ไม่มีผู้จัดการชุมนุม เป็นการมาชุมนุมโดยต่างคนต่างออกมา
                      เรียกร้องแสดงพลัง ก็ต้องเปิดโอกาสให้การชุมนุมสาธารณะเกิดขึ้นได้


                        6  น้า        ้ า   น

                            ผู้เข้าร่วมชุมนุมต้องเข้าร่วมการชุมนุมโดยสงบและปราศจากอาวุธ ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่

                      เจ้าหน้าที่กำหนด ให้ความร่วมมือกับผู้จัดการชุมนุม ไม่ก่อให้เกิดความไม่สงบเรียบร้อย ถ้าหาก
                      ผู้มาชุมนุมมีการยั่วยุหรือใช้ความรุนแรง ย่อมทำให้การชุมนุมสาธารณะไม่เป็นไปตามหลักการ
                      สันติ สงบ ปราศจากอาวุธและนำไปสู่การถูกดำเนินคดีได้ต่อไป ความสงบนั้นไม่ได้หมายความ

                      เพียงแค่การเดินไปอย่างเป็นระเบียบเรียบร้อยเท่านั้น แต่หมายความรวมถึง ไม่มีการกระตุ้นให้
                      เกิดความรุนแรง เช่น ประเทศอังกฤษในสมัยหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 มีขบวนการต่อต้านชาวยิว

                      มีการอภิปรายและชุมนุมในพื้นที่สาธารณะ ซึ่งเป็นไปอย่างสงบเรียบร้อยและไม่มีอาวุธ แต่แกนนำ
                      หรือผู้ปราศรัยมีการยกมือใช้สัญลักษณ์ที่กระตุ้นให้เกิดความรุนแรง ซึ่งศาลตัดสินว่าเป็นการ
                      ชุมนุมที่ไม่สงบ (เพลินตา ตันรังสรรค์, 2552, น.75)                                                  การประชุมกลุ่มย่อยที่ 5
   485   486   487   488   489   490   491   492   493   494   495