Page 489 - kpi17073
P. 489
488 การประชุมวิชาการ
สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 16
5. บทสรุปและข้อเสนอแนะ
1 ร ก า การ น สา าร ะ
ในประเทศไทยปัจจุบันยังไม่มีกฎหมายเฉพาะเกี่ยวกับการชุมนุมสาธารณะ ซึ่งมีความ
ใกล้เคียงกับประเทศสหรัฐอเมริกา ถ้าผู้ชุมนุมใช้เสรีภาพในการชุมนุมเกินขอบเขต แล้วกระทำผิด
กฎหมายใด ก็ต้องรับผิดตามกฎหมายนั้น โดยศาลเป็นผู้ใช้อำนาจตีความกฎหมายในการควบคุม
การใช้เสรีภาพในการชุมนุมไม่ให้เกินขอบเขตตามรัฐธรรมนูญ การไม่มีกฎหมายการชุมนุม
สาธารณะทำให้อาจเกิดปัญหาการใช้กฎหมายอื่นมาเป็นข้อห้ามทำให้การชุมนุมสาธารณะ
ไม่สามารถเกิดขึ้นได้จริง เช่นใช้ พระราชบัญญัติด้านเครื่องขยายเสียง พระราชบัญญัติด้านความ
สะอาด ประมวลกฎหมายอาญา พระราชบัญญัติทางหลวง พระราชบัญญัติการจราจร เป็นต้น
การใช้กฎหมายอาญามาดำเนินการกับผู้ชุมนุมจึงไม่เหมาะสม เพราะผู้มาชุมนุมไม่ได้มีเจตนาร้าย
เพียงแต่ประสงค์จะมาแสดงออกซึ่งความเดือดร้อนของตนเอง ดังนั้นจึงควรมีพระราชบัญญัติ
เกี่ยวกับการชุมนุมสาธารณะเพื่อประกันให้เสรีภาพในการชุมนุมเกิดขึ้นได้จริง ในขณะเดียวกัน
ก็เป็นการประกันสิทธิของประชาชนที่จะไม่ถูกกระทบจากการชุมนุมสาธารณะมากเกินไป
า า าการ น สา าร ะเป นประเ น า การเ เ านั น
การชุมนุมสาธารณะในสังคมไทยไม่ได้มีแต่ประเด็นการเรียกร้องทางการเมือง เช่น
การคัดค้านร่างพระราชบัญญัตินิรโทษกรรม หรือการคัดค้านนักการเมืองกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งเท่านั้น
แต่มีประเด็นปัญหาปากท้องด้านเศรษฐกิจ ทั้ง ผลผลิตทางการเกษตร ข้าว ยางพารา มันสำปะหลัง
อ้อย รวมถึง การค้าขายที่ได้รับผลกระทบ อีกทั้ง การคัดค้านโครงการพัฒนาของรัฐที่อาจส่งผล
กระทบต่อวิถีชีวิตความเป็นอยู่ นอกจากนี้ ยังมีประเด็นการเคลื่อนไหวเรียกร้องที่เป็นประเด็น
สมัยใหม่ ในเรื่องกลุ่มรักร่วมเพศ สิทธิสตรี โลกร้อน เป็นต้น จากรายงานของกระทรวง
มหาดไทย มีสถิติจำนวนการชุมนุมในสมัยรัฐบาลพันตำรวจโททักษิณ ชินวัตร เฉลี่ย 2,200 ครั้ง
ต่อปี รัฐบาลพลเอกชวลิต ยงใจยุทธ จำนวนเฉลี่ย 1,200 ครั้งต่อปี สมัยรัฐบาลชวน หลีกภัย
จำนวนเฉลี่ย 750 ครั้งต่อปี สมัยรัฐบาลพลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ จำนวนเฉลี่ย 150 ครั้งต่อปี
(เพลินตา ตันรังสรรค์, 2552, น.77) ดังนั้นเราจึงไม่ควรไปหลงหรือยึดติดมีมายาคติว่าการ
ชุมนุมเป็นเรื่องการเมืองที่แสวงหาอำนาจของกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง แต่แท้ที่จริงแล้วการชุมนุม
สาธารณะเป็นเรื่องของเราทุกคนที่อาจเกิดผลกระทบต่อเราได้ เราจึงควรมีช่องทางที่จะเข้าถึง
เสรีภาพในการชุมนุมอย่างทั่วถึงและเท่าเทียม
เสร าพการ น เป น ลักการส ั ้ ้รับการประกัน ้เก น ้ ก
้ กั
เสรีภาพการชุมนุมเป็นหลักการสำคัญที่ต้องได้รับการประกัน ส่วนการห้ามการชุมนุมเป็น
การประชุมกลุ่มย่อยที่ 5 ประเด็นรองลงไป โดยยึดหลัก “การชุมนุมได้เป็นหลัก การห้ามชุมนุมเป็นเรื่องรอง” มิเช่นนั้น
ประชาชนก็จะไม่สามารถใช้เสรีภาพในการชุมนุมสาธารณะเพื่อแสดงออกถึงความเดือดร้อน