Page 488 - kpi17073
P. 488

การประชุมวิชาการ
                                                                                         สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 16   487


                      ชุมนุมสามารถอุทธรณ์ต่อผู้บัญชาการตำรวจระดับสูงและศาลปกครองต่อไป แต่ประเด็นสลายการ
                      ชุมนุมกฎหมายต่างประเทศไม่ได้ระบุรายละเอียดขั้นตอนการใช้กำลังไว้ ซึ่งปกรณ์ นิลประพันธ์

                      (2555) เห็นว่าอาจพิจารณา Code of Conduct of Law Enforcement ของสหประชาชาติ แต่
                      การใช้กำลังของเจ้าหน้าที่รัฐต้องเป็นกรณียกเว้นและมาตรการที่ใช้ต้องไม่เกินกว่าเหตุหรือต้องได้
                      สัดส่วนด้วย อีกทั้งต้องตระหนักว่าการใช้กำลังและอาวุธควรเป็นไปอย่างจำกัดโดยมีหลักว่า


                             1. ถ้าเป็นการชุมนุมที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย แต่ไม่ก่อให้เกิดความรุนแรง เจ้าหน้าที่รัฐต้อง

                                หลีกเลี่ยงการใช้กำลัง หรือหากไม่สามารถหลีกเลี่ยงการใช้กำลังได้ ให้ใช้กำลังเพียง
                                เท่าที่จำเป็น แต่ไม่สามารถใช้อาวุธได้


                             2.  ถ้าเป็นการชุมนุมที่ก่อให้เกิดความรุนแรง เจ้าหน้าที่ของรัฐอาจใช้อาวุธได้ หากไม่สามารถ
                                ใช้มาตรการอื่นที่อันตรายน้อยกว่านี้ได้


                            ในประเทศไทยร่างพระราชบัญญัติที่เสนอโดยฝ่ายต่างๆ มีประเด็นที่แตกต่างกันคือ ให้
                      เจ้าหน้าที่ตำรวจสามารถร้องขอต่อศาลเพื่อมีคำสั่งให้ผู้ชุมนุมเลิกการชุมนุม หรือเจ้าหน้าที่ตำรวจ

                      สามารถสั่งห้ามการชุมนุมได้เองถ้าเห็นว่าอาจก่อให้เกิดความไม่สงบเรียบร้อย ในประเด็นการ
                      อุทธรณ์คำสั่งให้เลิกการชุมนุม มีความแตกต่างกันระหว่างการอุทธรณ์คำสั่งห้ามหรือสลายการ

                      ชุมนุมให้ยื่นต่อนายกรัฐมนตรีหรือรองนายกรัฐมนตรีที่ได้รับมอบหมายภายใน 7 วัน กับให้ผู้รับ
                      คำสั่งมีสิทธิอุทธรณ์ต่อผู้บังคับบัญชาระดับสูงเป็นผู้วินิจฉัยคำอุทธรณ์ และเมื่อได้ดำเนินการตาม
                      ขั้นตอนครบถ้วนแล้ว ไม่เป็นการตัดสิทธิในการฟ้องร้องไปที่ศาลปกครองต่อไป


                          บ ล


                            ในต่างประเทศ ประเด็นบทลงโทษ มีทั้งโทษทางแพ่งและอาญาสำหรับผู้จัดการชุมนุม
                      ส่วนผู้เข้าร่วมการชุมนุมจะได้รับโทษเบากว่าและบางประเทศไม่ได้กำหนดโทษสำหรับผู้เข้าร่วม
                      ชุมนุม อีกทั้งยังมีบทลงโทษสำหรับผู้มาก่อกวนขัดขวางการใช้สิทธิในการชุมนุม ในประเทศไทย

                      ร่างพระราชบัญญัติที่เสนอโดยฝ่ายต่างๆ มีโทษทางแพ่งและอาญาแตกต่างกันไป มีทั้งโทษสำหรับ
                      ผู้จัดการชุมนุมทั้งทางแพ่งและอาญา และโทษทางแพ่งและอาญาสำหรับผู้เข้าร่วมชุมนุมที่ไม่ยอม

                      ออกจากพื้นที่ควบคุมในเวลาที่ประกาศ อีกทั้งโทษสำหรับผู้เข้าร่วมชุมนุมที่พกอาวุธปืนหรือวัตถุ
                      ระเบิด นอกจากนี้ยังมีโทษสำหรับผู้ขัดขวางการชุมนุม แต่อีกฝ่ายหนึ่งมองว่า ไม่ควรมีโทษทาง
                      อาญาต่อผู้ชุมนุมเพราะผู้กระทำความผิดไม่ใช่อาชญากร และหากกระทำผิดเข้าข่ายอาญา

                      ก็สามารถดำเนินคดีอาญาได้ตามปกติอยู่แล้ว จึงควรเป็นโทษปรับทางปกครอง อีกทั้ง มีการเสนอ
                      โทษสำหรับเจ้าหน้าที่ในการควบคุมการชุมนุม หากเจ้าหน้าที่กระทำโดยไม่มีอำนาจหรือขัด

                      หลักการดังกล่าว อาจต้องรับผิดทั้งทางแพ่งและอาญา และทางวินัย                                        การประชุมกลุ่มย่อยที่ 5
   483   484   485   486   487   488   489   490   491   492   493