Page 484 - kpi17073
P. 484
การประชุมวิชาการ
สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 16 483
ข้อเสนอของคณะกรรมการ สิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ควรกำหนดกรอบและขั้น ตอนการควบคุมฝูงชน โดย ต้องเลือกใช้มาตรการรุนแรง น้อยที่สุดและเท่าที่จำเป็น โดยห้ามมิให้มีการใช้อาวุธ ปืนในการยุติหรือเลิกการ ชุมนุมโดยเด็ดขาด ในส่วนเจ้าหน้าที่รัฐที่ดูแล การชุมนุม รัฐต้องฝึกอบรม เพื่อปฏิบัติกับกลุ่มผู้ชุมนุม ตามหลักสากล
ร่างของสำนักงานกองทุน สนับสนุนการสร้าง เสริมสุขภาพ (สสส.) พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจ ออกคำสั่งสลายการชุมนุม หรือเคลื่อนขบวนได้ เช่น เมื่อปรากฎข้อเท็จจริงว่าการ ชุมนุมสาธารณะหรือเคลื่อน ขบวนอาจเป็นอันตราย โดยตรงต่อความมั่นคง หากผู้ชุมนุมไม่ยุติการชุมนุม และมีข้อเท็จจริงว่ากระทำ การอันอาจเป็นอันตรายต่อ การรักษาความมั่นคง พนักงานเจ้าหน้าที่อาจ ดำเนินการบังคับทาง ปกครองโดยตรง รวมถึง การใช้อาวุธหรือกำลัง แต่ก็ ต้องทำอย่างได้สัดส่วนและ พอสมควรแก่เหตุ และ
ร่างพรรคเพื่อไทย หากผู้ชุมนุมฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติ ตามคำสั่งให้เลิกการชุมนุม ให้เจ้าพนักงานมีอำนาจสั่งให้ แก้ไขสถานการณ์หรือสลาย การชุมนุมได้ตามความ จำเป็น
ร่างพรรคประชาธิปัตย์ หากผู้ชุมนุมฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติ ตามคำสั่งให้เลิกการชุมนุม ให้เจ้าพนักงานมีอำนาจสั่งให้ แก้ไขสถานการณ์หรือสลาย การชุมนุมได้ตามความ จำเป็น เจ้าหน้าที่ไม่ต้องรับผิดทั้ง ทางแพ่งและอาญา หากการ ปฏิบัติหน้าที่ในการสลาย การชุมนุมนั้นเป็นการกระทำ ที่สุจริตโดยหน้าที่ตามความ จำเป็นและเป็นไปตาม มาตรฐานสากล
ร่างคณะรัฐมนตรี เจ้าพนักงานของรัฐร้องขอต่อ ศาลเพื่อมีคำสั่งให้ผู้ชุมนุม เลิกการชุมนุม หากศาลเห็น ว่าการชุมนุมสาธารณะนั้น ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ให้ศาล มีคำสั่งโดยออกคำบังคับให้ ผู้ชุมนุมเลิกการชุมนุม ในกรณีที่ผู้ชุมนุมไม่เลิก ชุมนุมตามคำสั่งศาล ให้เจ้าพนักงานประกาศเป็น พื้นที่ควบคุมและให้ออกจาก พื้นที่โดยเร็ว เมื่อพ้นระยะเวลาให้ออกจาก พื้นที่ ให้ผู้ควบคุมมีอำนาจ ค้นและจับผู้อยู่ในพื้นที่ ควบคุม ยึดหรืออายัด ทรัพย์สินที่ใช้ในการชุมนุม
การสลายการชุมนุม การประชุมกลุ่มย่อยที่ 5
ประเด็น