Page 487 - kpi17073
P. 487
486 การประชุมวิชาการ
สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 16
4. ประเด็นวิเคราะห์
1 การ ้ ้ ราบ ร การ น า
ในประเทศต่างๆ ในประเด็นการแจ้งให้ทราบหรือการขออนุญาตก่อนการชุมนุมสาธารณะ
พบว่ากฎหมายกำหนดให้ผู้จัดให้มีการชุมนุมต้องแจ้งต่อเจ้าหน้าที่ของรัฐแล้วแต่กรณีเพื่อให้
เจ้าหน้าที่ทราบและเข้าไปดูแลความสงบเรียบร้อยในการชุมนุม และเพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่
ประชาชนอื่นในการใช้ที่สาธารณะมิใช่การขออนุญาตต่อเจ้าหน้าที่รัฐ แต่ก็อาจมีข้อจำกัดในทาง
ปฏิบัติที่เจ้าหน้าที่รัฐอาจยื่นคัดค้านไม่ให้เกิดการชุมนุมได้เช่นกัน จึงต้องมีช่องทางสำหรับการ
อุทธรณ์กรณีที่เจ้าหน้าที่รัฐห้ามจัดการชุมนุม ร่างพระราชบัญญัติของไทยที่เสนอโดยภาคส่วน
ต่างๆ เป็นไปในทิศทางเดียวกันว่าไม่ต้องขออนุญาตการจัดการชุมนุม แต่บัญญัติให้แจ้งให้ทราบ
มีตั้งแต่ 24 ชั่วโมง จนถึง 168 ชั่วโมง แตกต่างกันไป รวมถึงวิธีการแจ้งมีทั้งแจ้งด้วยหนังสือหรือ
แจ้งด้วยวาจา อีกทั้งมีความแตกต่างกันในประเด็นการต้องแจ้งให้ทราบก่อนอย่างเคร่งครัดกับถ้ามี
เหตุจำเป็นสุดวิสัยก็สามารถแจ้งให้ทราบในภายหลังได้
้ ้า น นสถาน ก น ละระ ะเ ลา ้า น
ในต่างประเทศสถานที่ในการชุมนุมที่สามารถกระทำได้คือในที่สาธารณะที่มิใช่พื้นที่หวงห้าม
บางประเทศ เช่น สหรัฐอเมริกาสามารถชุมนุมและเดินขบวนได้ทุกวัน เวลา สถานที่ แต่ต้อง
ไม่ก่อให้เกิดความวุ่นวาย แต่ประเทศส่วนใหญ่จะมีข้อห้ามชุมนุมใกล้สถานที่สำคัญบางแห่ง ไม่ว่า
จะเป็นพระราชวัง รัฐสภา ทำเนียบรัฐบาล ศาล เป็นต้น และห้ามชุมนุมในยามวิกาล สำหรับร่าง
พระราชบัญญัติที่เสนอมาโดยภาคส่วนต่างๆ ในประเทศไทย มีความแตกต่างกันระหว่างข้อห้าม
ในการชุมนุมในสถานที่บางแห่ง เช่น ร่างพระราชบัญญัติบางฉบับ เสนอว่าห้ามจัดการชุมนุมใกล้
สถานที่ประทับของพระมหากษัตริย์ พระราชินี องค์รัชทายาท และสถานที่พักอาศัยของผู้สำเร็จ
ราชการแทนพระองค์ในรัศมี 100 เมตร แต่ไม่ได้กำหนดข้อห้ามระยะการชุมนุมสำหรับอาคาร
รัฐสภา ที่ทำการศาล สนามบิน ตราบเท่าที่ไม่ขัดขวางการให้บริการสาธารณะ ในขณะที่ร่าง
พระราชบัญญัติบางฉบับ มีข้อห้ามการชุมนุมใกล้หน่วยงานรัฐแทบจะทุกหน่วยงาน ส่งผลให้การ
ชุมนุมสาธารณะที่เป็นการกดดันเพื่อให้บรรลุข้อเรียกร้องอาจไม่ได้รับการตอบสนองเท่าที่ควร
โดยที่การมาชุมนุมสาธารณะจำนวนมากเป็นไปเพื่อเรียกร้องความต้องการ บอกให้สังคมรับรู้ถึง
ปัญหาของตนเอง ถ้ามีการจำกัด หรือมีข้อห้ามเรื่องสถานที่ก็จะไม่ทำให้เกิดการกดดันต่อภาครัฐ
ในการรีบเร่งแก้ไขปัญหาความเดือดร้อน
สั ้า การ น การสลา การ น ละการ ร
ในต่างประเทศ เจ้าหน้าที่ตำรวจและนายกเทศมตรีจะมีอำนาจสั่งห้ามชุมนุม แต่ประชาชน
มีสิทธิในการอุทธรณ์ข้อห้าม แต่ต้องฟ้องร้องต่อศาลปกครองในการเพิกถอนคำสั่งห้าม
การประชุมกลุ่มย่อยที่ 5 ซึ่งกระบวนการในการพิจารณาคำร้องเป็นไปอย่างรวดเร็วมิชักช้า สำหรับประเด็นการสลาย
การชุมนุม เจ้าหน้าที่ตำรวจสามารถสลายการชุมนุมได้ต่อเมื่อมาตรการอื่นไม่สามารถใช้ได้ผล
แล้วเท่านั้น ทั้งจะต้องประกาศให้ผู้ชุมนุมทราบก่อนว่าจะมีการสลายการชุมนุม โดยผู้จัดการ