Page 491 - kpi17073
P. 491

490     การประชุมวิชาการ
                   สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 16


                        นา    เ ้า น้า    นการสั   ้า  ละการ    ร       ้   น

                       หากเจ้าหน้าที่ตำรวจเห็นว่าการชุมนุมใดไม่อยู่ในขอบเขตของรัฐธรรมนูญหรือเห็นว่า
                  อาจทำให้เกิดความไม่สงบเรียบร้อย ให้เจ้าหน้าที่มีอำนาจในการออกคำสั่งห้าม โดยให้ผู้ชุมนุม

                  สามารถร้องขอให้เพิกถอนคำสั่งห้ามมิให้ชุมนุมต่อศาลปกครองได้ โดยการพิจารณาไม่ควรชักช้า


                       น้า      เ ้า น้า     ร   ละ  า ร ้ ้านการ   น

                       เจ้าหน้าที่ตำรวจมีหน้าที่ในการควบคุมดูแลการชุมนุมให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อย
                  อำนวยการจราจร อำนายความสะดวกให้กับผู้มาชุมนุม ห้ามไม่ให้มวลชนมาปะทะกัน จัดการกับ

                  ผู้มาก่อกวนการชุมนุมอย่างทันท่วงที อีกทั้งมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการชุมนุมสาธารณะ
                  ได้รับการฝึกฝนให้มีความอดทนต่อการยั่วยุและสภาพบรรยากาศที่ตึงเครียด มิใช่ใช้เจ้าหน้าที่
                  ตำรวจตามสถานีตำรวจ และต้องไม่พกอาวุธในกรณีที่เป็นการชุมนุมอย่างสงบ สันติและปราศจาก

                  อาวุธ (จันทจิรา เอี่ยมมยุรา, 2552, น.23)


                      การสลา การ   น

                       มาตรการสลายการชุมนุมจะใช้ได้ต่อเมื่อเป็นการชุมนุมที่ก่อให้เกิดความเสียหายอย่าง
                  ร้ายแรงต่อส่วนรวมเท่านั้น และจะใช้มาตรการสลายการชุมนุมก็ต่อเมื่อมาตรการอื่นใช้ไม่ได้ผล

                  แล้วเท่านั้น โดยต้องมีการแจ้งผู้ชุมนุมก่อนที่จะดำเนินการเป็นลำดับจากเบาไปหาหนัก ไม่ควรใช้
                  อาวุธปืนในการสลายการชุมนุมนอกเสียจากว่ามีหลักฐานอย่างชัดเจนว่าผู้มาชุมนุมมีอาวุธร้ายแรง

                  ควรมีการกำหนดแนวทางและขั้นตอนของเจ้าหน้าที่ในการควบคุม การใช้แก๊สน้ำตา ระเบิดควัน
                  ท่อฉีดน้ำ ควรใช้ต่อเมื่อมีการใช้ความรุนแรงหรือเจตนาทำลายทรัพย์สิน


                    1  การ   น   น า   กาล

                       ถ้าพิจารณาธรรมชาติการชุมนุมของเรา ผู้มาชุมนุมหลายๆครั้ง มักจะมาพักค้างหลายคืน
                  ไม่ได้มาแบบเช้าไปเย็นกลับเท่านั้น เช่น สมัชชาคนจน หรือกลุ่มอื่นๆ การพักค้างคืนในที่

                  สาธารณะจึงกระทำได้ แต่ไม่ควรมีกิจกรรมการชุมนุมในยามวิกาลเนื่องจากอาจเสี่ยงต่อเรื่องความ
                  ปลอดภัย และอาจกระทบต่อคนที่ไม่ได้มาชุมนุมที่ต้องการพักผ่อนในยามค่ำคืน ถ้าหากใช้หลัก
                  “ใจเขา ใจเรา” ถ้าผู้ชุมนุมเป็นประชาชนทั่วไป และถ้าประชาชนทั่วไปเป็นผู้มาชุมนุม ก็จะทำให้

                  การชุมนุมสาธารณะเป็นไปอย่างสงบ สันติ และมีอารยะมากยิ่งขึ้น


                    11 สถาน    ้า    น

                       การห้ามมิให้ชุมนุมในพื้นที่บางแห่งควรห้ามเฉพาะพื้นที่ควรห้ามจริงๆ เช่น สถานที่ประทับ
                  ของพระมหากษัตริย์ พระราชินี องค์รัชทายาท ส่วนสถานที่อื่นๆ อาจมีระดับของการห้ามหรือ

                  ระยะห่างของการชุมนุมในสถานที่ที่แตกต่างกันไป แต่หัวใจสำคัญคือการชุมนุมต้องไม่กีดขวาง
        การประชุมกลุ่มย่อยที่ 5   หน่วยงานนั้นๆ ยังคงสามารถปฏิบัติงานให้บริการกับประชาชนต่อไปได้
                  ทางเข้าออกสถานที่ราชการต่างๆ หรือชุมนุมจนกระทั่งขัดขวางการให้บริการสาธารณะ ต้องทำให้
   486   487   488   489   490   491   492   493   494   495   496