Page 494 - kpi17073
P. 494
บทบาทของภาคประชาสังคม
ในกระบวนการนิติบัญญัติ
วรลักษณ์ สงวนแก้ว*
นับจากอดีตจนถึงปัจจุบัน ประชาชนในทุกกลุ่ม ทุกสาขาอาชีพ ได้มีการ
รวมกลุ่มและดำเนินกิจกรรมในรูปแบบต่างๆ ในนามภาคประชาสังคม เพื่อก่อให้
เกิดความเปลี่ยนแปลงในกระบวนการนิติบัญญัติหลากหลายรูปแบบ เช่น การ
ผลักดันให้มีการแก้ไขเพิ่มเติม ยกเลิก เสนอให้มีการตรากฎหมายที่สอดคล้อง
กับเจตจำนงของประชาชน ตลอดจนการรณรงค์ในรูปแบบต่างๆ เพื่อคัดค้าน
แนวนโยบายด้านกฎหมายของรัฐในทางที่ไม่ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อสังคม
การประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 และ
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 ส่งผลให้เกิดความ
เปลี่ยนแปลงต่อการเมืองในระบบตัวแทนและการเมืองภาคประชาชนหลาย
ประการ ทั้งนี้ เจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญทั้งสองฉบับ คือ การเสริมสร้างความ
เข้มแข็งของการเมืองทั้งสองระบบให้สามารถตรวจสอบและถ่วงดุลซึ่งกันและกันได้
ดังจะเห็นได้จากการขยายบทบัญญัติเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมของประชาชนใน
กระบวนการนิติบัญญัติเพื่อให้ประชาชนมีพื้นที่การมีส่วนร่วมในเรื่องดังกล่าว
มากขึ้น อย่างไรก็ตามผลจากการศึกษาพบว่าประชาชนยังไม่สามารถเข้ามา
มีส่วนร่วมในกระบวนการดังกล่าวได้อย่างเต็มที่ สืบเนื่องมาจากกลไกของ
การเมืองระบบตัวแทนไม่สามารถตอบสนองต่อทิศทางการเคลื่อนไหวของ
ภาคประชาสังคมได้อย่างมีประสิทธิภาพ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงกระบวนการใช้อำนาจของ
ภาคประชาสังคมเพื่อก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในกระบวนการนิติบัญญัติ
ผ่านปรากฏการณ์และกรณีศึกษาต่างๆ ทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศ โดย
แยกเสนอสาระเป็น 2 ส่วนประกอบด้วย พัฒนาการและทิศทางการเคลื่อนไหว
ของภาคประชาสังคมในกระบวนการนิติบัญญัติและการมีส่วนร่วมของภาค
ประชาสังคมในกระบวนการนิติบัญญัติ ตลอดจนวิเคราะห์สภาพปัญหาและ
ปัจจัยที่จะนำไปสู่ความสำเร็จของภาคประชาสังคมในการใช้กลไกและมาตรการ
* นักวิชาการ สำนักวิจัยและพัฒนา สถาบันพระปกเกล้า