Page 497 - kpi17073
P. 497
496 การประชุมวิชาการ
สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 16
(1) การรวมกลุ่มแบบเป็นทางการ
กลุ่มแบบเป็นทางการ คือ กลุ่มที่จัดตั้งขึ้นโดยมีอำนาจหน้าที่และความ
รับผิดชอบตามโครงสร้างขององค์การ มีลักษณะการจัดโครงสร้างอย่างเป็นระเบียบแบบแผน
เพื่อที่จะทำกิจกรรมสนองความต้องการขององค์การ เช่น องค์กรพัฒนาเอกชน มูลนิธิ องค์กร
สาธารณกุศล สมาคมวิชาชีพ (สมคิด บางโม,2545) จากการศึกษาพบว่าการรวมกลุ่มแบบเป็น
ทางการของภาคประชาชนเพื่อขับเคลื่อนในกระบวนการนิติบัญญัติจะมีลักษณะเป็นกลุ่มทำงาน
เฉพาะ (Task Group) ที่ถูกตั้งขึ้นมาเพื่อทำกิจกรรมเฉพาะอย่างให้สำเร็จลุล่วงตามเป้าหมาย
ที่วางไว้ไม่ใช่การรวมกลุ่มตามสายบังคับบัญชา (Command Group) ที่จัดตั้งขึ้นตามโครงสร้าง
ขององค์การที่มีอยู่แล้วเพื่อปฏิบัติงานที่ได้รับมอบหมายให้สำเร็จ กรณีศึกษาของการรวมกลุ่มแบบ
เป็นทางการที่มีการดำเนินกิจกรรมเพื่อขับเคลื่อนในกระบวนการนิติบัญญัติไทยที่น่าสนใจ มีดังนี้
- การเสนอร่างกฎหมาย เช่น การที่องค์กรพัฒนาเอกชนหลายองค์กร
มีบทบาทในการรวบรวมรายชื่อประชาชนผู้มีสิทธิเสนอกฎหมาย เพื่อ
เสนอกฎหมายเกี่ยวกับสิทธิเสรีภาพของประชาชน เช่น กฎหมายว่าด้วย
ป่าชุมชน กฎหมายว่าด้วยหลักประกันสุขภาพ กฎหมายว่าด้วยสถาบัน
คุ้มครองสุขภาพ เป็นต้น (กฤษฎา บุญชัย และคณะ, 2556 ; น.20)
- การเสนอให้มีการแก้ไข ปรับปรุงกฎหมาย เช่น องค์กรต่อต้านคอร์รัปชั่น
ที่เกิดจากการรวมตัวขององค์กรต่างๆ ทั้งภาคเอกชนและภาครัฐ สถาบัน
การศึกษา ที่ได้ร่วมกันเรียกร้องให้รัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องแก้ไข
กฎหมายให้การทุจริตเป็นอาชญากรรมร้ายแรง แก้ไขกฎหมายหมิ่น
ประมาทในคดีเกี่ยวกับประโยชน์สาธารณะเพิ่มภาระการพิสูจน์ของผู้ฟ้อง
คดี ห้ามบุคลากรในกระบวนการยุติธรรมดำรงตำแหน่งในรัฐวิสาหกิจ
แก้ไขพ.ร.บ.ข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ.2540 เป็นต้น (องค์กรต่อ
ต้านคอร์รัปชั่น: มาตรการกำจัดคอร์รัปชั่นก่อนการเลือกตั้งเพื่อสร้างความ
มั่นใจให้กับประชาชน,2557)
(2) การรวมกลุ่มแบบไม่เป็นทางการ
การรวมกลุ่มแบบไม่เป็นทางการ คือ การที่บุคคลรวมตัวกันด้วยความสนใจ
ที่มีความคล้ายคลึงกัน มีการจัดระเบียบโครงสร้างภายในอย่างหลวมๆ เช่น เครือข่ายผู้ได้รับความ
เสียหายทางการแพทย์ที่สามารถรวมกลุ่มกันอย่างเข้มแข็งและสามารถผลักดัน พ.ร.บ. คุ้มครอง
ผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุขให้ประกาศใช้เป็นกฎหมายซึ่งใช้ระยะเวลาการต่อสู้เรียก
ร้องเป็นระยะเวลายาวนานถึง 20 ปี (สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ, 2554)
การประชุมกลุ่มย่อยที่ 5 ที่ไม่ยึดติดกับรูปแบบของการรวมกลุ่มแบบเป็นทางการ ยิ่งไปกว่านั้นการรวมกลุ่มยังสามารถเกิด
นักวิชาการบางท่านได้ตั้งข้อสังเกตว่าภาคประชาสังคมในประเทศไทยมีพัฒนาการไปในทิศทาง
ขึ้นได้แบบฉับพลันหรือภายในระยะเวลาอันสั้น (Pasuk Phongpaichit; 2002) ข้อสังเกตดังกล่าว
มีความสอดคล้องกับปรากฏการณ์การรวมกลุ่มแบบไม่เป็นทางการของภาคประชาชนที่ขับเคลื่อน