Page 479 - kpi17073
P. 479

478     การประชุมวิชาการ
                   สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 16


                       สรุปสาระสำคัญของกฎหมายการชุมนุมสาธารณะในประเทศต่างๆ ที่เป็นกรณีศึกษา
                  ทุกประเทศคืออังกฤษ ฝรั่งเศส เยอรมัน เกาหลีใต้ ยกเว้นสหรัฐอเมริกา มีการตรากฎหมาย

                  ในระดับพระราชบัญญัติเฉพาะว่าด้วยการชุมนุมในที่สาธารณะขึ้นใช้บังคับ 1

                       ในประเด็นการแจ้งให้ทราบหรือการขออนุญาตก่อนการชุมนุมสาธารณะ กฎหมายกำหนด

                  ให้ผู้จัดให้มีการชุมนุมต้องแจ้งต่อเจ้าหน้าที่ของรัฐแล้วแต่กรณีเพื่อให้เจ้าหน้าที่ทราบและเข้าไป
                  ดูแลความสงบเรียบร้อยในการชุมนุม และเพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่ประชาชนอื่นในการใช้ที่

                  สาธารณะ แต่ในทางปฏิบัติในบางประเทศเจ้าหน้าที่จะคัดค้านไม่ให้มีการชุมนุมทำให้ผู้จัดการ
                  ชุมนุมต้องอุทธรณ์ต่อผู้บังคับบัญชาและศาลปกครองตามลำดับเพื่อใช้สิทธิในการชุมนุมต่อไป


                       อำนาจการห้ามชุมนุม เจ้าหน้าที่ตำรวจและนายกเทศมนตรีจะมีอำนาจสั่งห้ามชุมนุม แต่
                  ประชาชนมีสิทธิในการอุทธรณ์ข้อห้าม แต่ต้องฟ้องร้องต่อศาลปกครองในการเพิกถอนคำสั่งห้าม

                  ซึ่งกระบวนการในการพิจารณาคำร้องเป็นไปอย่างรวดเร็วมิชักช้า

                       การสลายการชุมนุม เจ้าหน้าที่ตำรวจสามารถสลายการชุมนุมได้ต่อเมื่อมาตรการอื่น

                  ไม่สามารถใช้ได้ผลแล้วเท่านั้น ทั้งจะต้องประกาศให้ผู้ชุมนุมทราบก่อนว่าจะมีการสลายการชุมนุม
                  โดยผู้จัดการชุมนุมสามารถอุทธรณ์ต่อผู้บัญชาการตำรวจระดับสูงและศาลปกครองต่อไป


                       ในประเด็นข้อห้ามเรื่องสถานที่และเวลา บางประเทศ เช่น สหรัฐอเมริกาสามารถชุมนุม

                  และเดินขบวนได้ทุกวัน เวลา สถานที่ แต่ต้องไม่ก่อให้เกิดความวุ่นวาย แต่ประเทศส่วนใหญ่จะมี
                  ข้อห้ามชุมนุมใกล้สถานที่สำคัญบางแห่งและห้ามชุมนุมในยามวิกาล


                       สำหรับประเด็นบทลงโทษ มีทั้งโทษทางแพ่งและอาญาสำหรับผู้จัดการชุมนุม ส่วนผู้เข้าร่วม
                  การชุมนุมจะได้รับโทษเบากว่าและบางประเทศไม่ได้กำหนดโทษสำหรับผู้เข้าร่วมชุมนุม อีกทั้ง
                  ยังมีบทลงโทษสำหรับผู้มาก่อกวนขัดขวางการใช้สิทธิในการชุมนุม



                  3. การชุมนุมสาธารณะ : พระราชบัญญัติ

                  ที่เสนอโดยองค์กรต่างๆ

                   ร า   ะรั  น ร  ร า พรร เพ       ร า พรร ประ า  ป     ร า    ส นัก านก    น
                  สนับสน นการสร้า เสร  ส   าพ  ละ ้ เสน      ะกรร การส     น    น     า

                       ในส่วนของประเทศไทยเสรีภาพดังกล่าวได้รับการคุ้มครองโดยการบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ

                  ตั้งแต่ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช 2489 จนกระทั่งถึงรัฐธรรมนูญ
                  พ.ศ.2550 ที่ได้บัญญัติให้มีเสรีภาพในการชุมนุมโดยสงบ สันติและปราศจากอาวุธ


                       ในปัจจุบันภาครัฐใช้กฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องเข้ามาพิจารณาว่าจะส่งเสริมหรือจำกัดเสรีภาพ
        การประชุมกลุ่มย่อยที่ 5   ในการชุมนุมไม่ให้เกิดขึ้นได้จริง เช่น พระราชบัญญัติว่าด้วยการรักษาความสะอาดและความเป็น






                        รายละเอียดของกฎหมายแต่ละประเทศ โปรดดูใน ปกรณ์ นิลประพันธ์, 2555. วินิจ เจริญชัยยง, 2539 ,
                     1
                  จันทจิรา เอี่ยมมยุรา. 2533
   474   475   476   477   478   479   480   481   482   483   484