Page 474 - kpi17073
P. 474
การประชุมวิชาการ
สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 16 473
(UN International Convenant on Civil and Political Rights) อีกทั้งอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก
(Convention on the Rights of the Child) (สิริโฉม พรหมโฉม, 2557, น. 166-167) แต่มี
ข้อสังเกตว่ากติการะหว่างประเทศดังกล่าวรับรองเสรีภาพแบบมีข้อจำกัด กล่าวคือ รัฐสามารถ
ตรากฎหมายจำกัดเสรีภาพดังกล่าวได้เพื่อประโยชน์ในการรักษาความมั่นคงของชาติ (National
security) หรือความปลอดภัยสาธารณะ (Public safety) การรักษาความสงบเรียบร้อยของ
ประชาชน (Public order) การคุ้มครองสาธารณสุขหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน (Protection
of the rights and freedoms of others) (ปกรณ์ นิลประพันธ์, 2555, น.1)
การใช้เสรีภาพในการชุมนุมจำเป็นต้องได้รับการประกันให้สามารถเกิดขึ้นได้จริง เนื่องจาก
ผู้มาชุมนุมมาเพราะความเดือดร้อนและต้องการแสดงออกถึงปัญหาของตน การมาชุมนุมนั้นมีทั้ง
การเรียกร้องทางการเมือง การคัดค้านโครงการพัฒนาของรัฐ การเรียกร้องจากปัญหาความเดือด
ร้อนเรื่องปากท้อง ไม่ได้มาชุมนุมเพราะประเด็นทางการเมืองเท่านั้น จึงไม่ควรเหมารวมความ
เดือดร้อนของประชาชนทุกเรื่องให้เป็นเรื่องทางการเมือง ควรต้องยึดหลัก เคารพเสรีภาพชุมนุม
เป็นหลัก ห้ามหรือจำกัดการชุมนุมเป็นรอง หรือดังที่จันทจิรา เอี่ยมมยุรา (2552) เห็นว่า
“ประชาชนมีเสรีภาพในการชุมนุมเป็นหลัก การจำกัดการชุมนุมโดยรัฐเป็นข้อยกเว้น”
การใช้เสรีภาพในการชุมนุมอาจจะกระทบต่อสิทธิเสรีภาพบุคคลอื่น จึงจำเป็นต้องหาจุด
ที่เหมาะสม ระหว่างเสรีภาพในการชุมนุมกับ สิทธิของบุคคลอื่นและความสงบเรียบร้อยของ
บ้านเมือง ในรัฐธรรมนูญของไทยในหลายฉบับ เช่น รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช
มาตรา 63 ก็ได้ระบุไว้ว่าบุคคลมีเสรีภาพในการชุมนุมโดยสงบและปราศจากอาวุธ แต่การจำกัด
เสรีภาพสามารถกระทำได้เพื่อคุ้มครองความสะดวกของประชาชนที่จะใช้ที่สาธารณะ เป็นต้น
(สถาบันพระปกเกล้า, 2550) แต่หลักใหญ่ใจความแม้จะมีการกระทบต่อประชาชนบ้าง มีการใช้
เสียงในการชุมนุม กีดขวางการจราจร มีการทำให้เกิดความไม่สะอาดบ้าง ก็ควรยึดหลัก “เสียง
ร้องของเด็กเล็กในอาคารชุดไม่เป็นเหตุให้เพื่อนบ้านฟ้องร้องผู้ปกครองเด็กเล็กได้แม้ได้รับความ
เดือดร้อนก็ตาม” ประชาชนจะต้องอดทนเสียงดังของผู้ชุมนุมประท้วงในระดับหนึ่ง เพราะการ
กระทำเสียงดังเป็นลักษณะปกติของการชุมนุม (วรวิทย์ กนิษฐะเสน, 2554, น.152) อย่างไร
ก็ตาม ผู้ใช้เสรีภาพมีหน้าที่โดยปริยาย (Implied duty) ที่จะต้องชุมนุมในลักษณะก่อให้เกิด
ผลกระทบต่อผู้อื่นน้อยที่สุด (ปกรณ์ นิลประพันธ์, 2555, น.5)
การใช้เสรีภาพในการชุมนุมต้องเป็นไปโดยสันติ สงบ ปราศจากอาวุธ ถ้าหากผู้มาชุมนุมใช้
ความรุนแรงหรือปรากฏว่ามีอาวุธอย่างชัดเจน เห็นภัยที่จะเกิดขึ้นได้อย่างชัดเจน ไมใช่เป็นการ
คาดการณ์ ทางเจ้าหน้าที่รัฐก็ย่อมสามารถเข้าควบคุมสถานการณ์ได้เพื่อคุ้มครองสิทธิของ
ประชาชน แต่การดำเนินการก็ต้องเป็นไปตามหลักสากล และการเคารพสิทธิมนุษยชน โดยต้องมี
การประกาศให้ชัดเจนว่าจะเข้าควบคุมพื้นที่ซึ่งขั้นตอนดังกล่าวต้องมีความโปร่งใสตรวจสอบได้
จากนั้นก็ควรมีมาตรการจากเบาไปหาหนักตามลำดับ ส่วนการใช้กำลังเข้าสลายการชุมนุมก็ต้อง
หลีกเลี่ยงที่จะไม่ทำให้เกิดความสูญเสียในชีวิตและทรัพย์สิน
การประชุมกลุ่มย่อยที่ 5