Page 473 - kpi17073
P. 473
472 การประชุมวิชาการ
สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 16
การชุมนุมเรียกร้องหลายครั้งมีการเดินขบวนด้วย ภาครัฐย่อมมีหน้าที่ในการดูแลควบคุม
การชุมนุมให้อยู่ในความสงบเรียบร้อย ปราศจากความรุนแรง แต่บางครั้งภาครัฐใช้ความรุนแรง
ต่อผู้ชุมนุมโดยการสลายการชุมนุมด้วยเหตุผลในด้านการรักษาความสงบเรียบร้อย ไม่เพียงส่งผล
กระทบต่อเศรษฐกิจ สังคมและการเมืองภายในประเทศเท่านั้น แต่ขยายวงกว้างสัมพันธ์กับต่าง
ประเทศด้วย ต่างประเทศเองก็เฝ้ามองเราอยู่ในการเข้ามาแทรกแซงเศรษฐกิจรวมถึงการลงทุน
ในประเทศไทย ด้วยข้ออ้างในเรื่องการละเมิดสิทธิมนุษยชน แต่ที่สำคัญการใช้ความรุนแรงต่อ
ผู้ชุมนุม เป็นการสุ่มเสี่ยงต่อการละเมิดสิทธิมนุษยชนและรัฐธรรมนูญที่รับรองสิทธิดังกล่าวไว้
และยากที่จะทำให้ปัญหาที่แท้จริงได้รับการแก้ไข แต่ก็มีข้อโต้แย้งว่าถ้าไม่ใช้กำลังสลายการชุมนุม
รัฐก็จะถูกต่อว่าละเลยต่อการปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมาย และละเลยต่อผลประโยชน์ส่วนรวม
การจำกัดเสรีภาพในการชุมนุมโดยรัฐ จะต้องอยู่ในขอบเขตที่เหมาะสม ไม่มากเกินไป
จนกระทั่งประชาชนไม่สามารถใช้เสรีภาพในการชุมนุมได้ กล่าวคือต้องสามารถชุมนุมได้เป็นหลัก
ไม่สามารถชุมนุมได้เป็นข้อยกเว้น และต้องสามารถให้ศาลเป็นผู้ตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐในการ
ห้ามการชุมนุมเป็นต้น ที่ผ่านมาสังคมไทยมีการชุมนุมสาธารณะเป็นจำนวนมาก รวมถึงการ
ชุมนุมประท้วงทางการเมืองในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ก่อให้เกิดผลกระทบต่อประชาชนทั่วไป
กระทบต่อทั้งสภาพเศรษฐกิจ สังคมและการเมือง นอกจากนั้นผู้ชุมนุมประท้วงก็ได้รับผลกระทบ
ทั้งการเสียชีวิต บาดเจ็บ ทรัพย์สินเสียหาย อีกทั้งเจ้าหน้าที่ของรัฐก็ได้รับผลกระทบถึงขั้นเสียชีวิต
และบาดเจ็บเช่นกัน โดยที่เจ้าหน้าที่รัฐไม่มีกฎหมายที่ถูกออกแบบมาโดยเฉพาะเพื่อจัดการอำนวย
ความสะดวกและควบคุมกลุ่มผู้ชุมนุมได้อย่างเหมาะสม แต่ต้องใช้กฎหมายอื่นๆ เพื่อแก้ไขปัญหา
เฉพาะหน้า เช่น กฎหมายรักษาความสะอาด กฎหมายเกี่ยวกับการใช้เครื่องขยายเสียง กฎหมาย
ทางหลวง เป็นต้น ซึ่งกฎหมายดังกล่าวไม่ได้ถูกออกแบบมาเพื่อใช้กับการชุมนุมสาธารณะได้อย่าง
มีประสิทธิภาพ
โจทย์สำคัญคือเราจะหาจุดสมดุลย์ร่วมกันได้อย่างไรระหว่างเสรีภาพในการชุมโดยสงบและ
ปราศจากอาวุธ กับการควบคุมการชุมนุมไม่ให้กระทบสิทธิของผู้อื่นและต่อประโยชน์สาธารณะ
หากเราเน้นไปที่เสรีภาพในการชุมนุมก็อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อประชาชนในวงกว้าง แต่หาก
เราเน้นไปที่ควบคุมการชุมนุมให้อยู่ในกรอบของความสงบเรียบร้อย เสรีภาพในการชุมนุมก็อาจไม่
สามารถเกิดขึ้นได้จริง จากที่กล่าวมา เราควรจะหาแนวทาง กติการ่วมกันที่เป็นที่ยอมรับของฝ่าย
ต่างๆ ที่เกี่ยวข้องในการทำให้การชุมนุมสาธารณะเกิดประโยชน์ต่อทุกฝ่ายต่อไป
2. หลักการชุมนุมสาธารณะ และกรณีเปรียบเทียบประเทศต่างๆ
ลักการ น สา าร ะ
การประชุมกลุ่มย่อยที่ 5 ซึ่งประเทศประชาธิปไตยให้การยอมรับเสรีภาพนี้ไว้ การชุมนุมโดยสงบและสันติเป็นเสรีภาพที่ได้
เสรีภาพในการชุมนุมโดยสงบและปราศจากอาวุธเป็นเสรีภาพในการแสดงออกทางการเมือง
รับการรับรองไว้ในปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนของสหประชาชาติ (Universal Declaration
of Human Rights) รวมถึง กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง