Page 468 - kpi17073
P. 468
การประชุมวิชาการ
สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 16 467
2. ภาคประชาสังคมในฐานะพื้นที่เพื่อการเรียนรู้ ต้องสร้างกระบวนการเรียนรู้เพื่อการเป็น
พลเมืองที่ดีของสังคม ที่ไปไกลกว่าบทบาทหน้าที่ที่พึงปฏิบัติพื้นฐาน ตัวอย่างสำคัญในที่นี้คือ
การไปสู่การเป็นพลเมืองธรรมาภิบาล
3. ภาคประชาสังคมในฐานะกลไกขัดเกลาทางสังคม ต้องสร้างพลเมืองที่เกิดความ
ตระหนักต่อการมีส่วนร่วมและไม่นิ่งดูดายต่อการแก้ไขปัญหา และการปกป้องคุ้มครองสังคมและ
นำพาสังคมไปสู่สังคมที่ดี ทั้งนี้ ควรทำหน้าที่เป็นกลไกในการสร้าง ประสาน หรือทำให้เกิดพลัง
พลเมืองในการมีส่วนร่วม
4. ภาคประชาสังคมต้องยึดโยงกับเครือข่ายในทุกระดับและมุ่งเป้าหมายเดียวกัน
เพื่อให้การขับเคลื่อนผ่านการเมืองภาคพลเมืองเกิดผลและนำไปสู่ความยั่งยืนของสร้างดุลภาพ
ความโดดเดี่ยวของการขับเคลื่อนทำให้ขาดพลังและไม่สามารถสร้างแรงสะเทือนให้เกิดการ
ดุลยอำนาจได้
5. ในฐานะพลเมือง การขับเคลื่อนประชาสังคมหรือการเมืองภาคพลเมืองให้เกิดพลัง
จนสามารถสร้างดุลอำนาจระหว่างสถาบันการเมืองและภาคประชาชนแล้ว พลเมืองต้องตระหนัก
ในอำนาจอธิปไตยของตน ยึดมั่นในหลักการประชาธิปไตย ในสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง
(Civil Right and Political Rights) และบริหารจัดการสิทธินั้นให้เกิดประโยชน์ต่อสังคมและ
ส่วนร่วม และรู้ว่าสิทธินั้นได้รับการคุ้มครองจากรัฐ
6. ในฐานะพลเมือง หากจะขับเคลื่อนประชาสังคมหรือการเมืองภาคพลเมืองเพื่อสร้าง
ดุลอำนาจระหว่างสถาบันการเมืองและภาคประชาชน พลเมืองต้องตระหนักว่านอกจากสิทธิและ
หน้าที่ในฐานะพลเมืองแล้ว ตนมีความรับผิดชอบต่อสังคมและการเมือง และทราบดีว่าการพัฒนา
สังคมการเมืองและประชาธิปไตยต้องการเวลาและการทำงานอย่างหนัก และรัฐบาลต้องการ
การสนับสนุนจากภาคประชาชนตลอดเวลา
7. ในฐานะพลเมือง หากจะขับเคลื่อนประชาสังคมหรือการเมืองภาคพลเมืองเพื่อสร้าง
ดุลอำนาจระหว่างสถาบันการเมืองและภาคประชาชน พลเมืองต้องตระหนักว่าการปกครอง
ในระบอบประชาธิปไตยที่มีดุลยภาพทางการเมืองและดุลอำนาจในการปกครองนั้นจะประสบความ
สำเร็จได้ก็ด้วยการมีส่วนร่วมและการแสดงออกของประชาชน ความสำเร็จหรือความล้มเหลวของ
รัฐบาลเป็นความรับผิดชอบของประชาชน พลเมืองจึงต้องมีการตรวจสอบ ติดตาม ผู้ใช้อำนาจ
อธิปไตยที่พลเมืองมอบไปให้ในการทำงานบริหารจัดการบ้านเมืองเสมอ การจะสร้างดุลยภาพ
ทางการเมืองได้ต้องการความใส่ใจจากประชาชน และเป็นการใส่ใจที่มากกว่าการไปเลือกตั้งอย่าง
สม่ำเสมอ แต่หมายถึงการไม่นิ่งเฉยต่อรัฐบาล และนักการเมือง และเข้ามีส่วนร่วมในรูปแบบ
ต่างๆ
กล่าวได้ว่าการสร้างดุลยภาพทางการเมือง เป็นการปะทะกันของประชาธิปไตยเชิงรูปแบบ
เชิงกระบวนการ อย่างการเลือกตั้ง รัฐสภา รัฐธรรมนูญ ฯลฯ กับประชาธิปไตยเชิงเนื้อหา การประชุมกลุ่มย่อยที่ 5
ซึ่งหมายถึง การมีอำนาจในการปกครอง การมีส่วนร่วมของประชาชน การยึดหลักสิทธิ เสรีภาพ