Page 467 - kpi17073
P. 467
466 การประชุมวิชาการ
สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 16
ระหว่าง ภาคประชาสังคม พลเมือง และการเมืองภาคพลเมือง และต้องพัฒนาศักยภาพทุกส่วน
ไปพร้อมๆ กันเพื่อสร้างพลังดุลยอำนาจให้กับประชาชน
ในกรณีตัวอย่างนี้ การเริ่มต้นของภาคประชาสังคมประกอบด้วยพลเมืองที่มีความคิดและ
ความตระหนักต่อปัญหาของสังคม ตระหนักในความเป็นสมาชิกของสังคมและเห็นว่าการพัฒนา
หรือการสร้างสังคมให้มั่นคงนั้นเป็นเรื่องของทุกคนในสังคมร่วมกัน ปัญหาความยากจนของ
ประเทศจึงเป็นปัญหาที่พลเมืองทุกคนควรมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาร่วมกับภาครัฐ พลเมืองดัง
กล่าวเป็นพลเมืองที่ตั้งคำถามกับสิ่งที่เกิดขึ้นรอบๆ ตัว การรู้จักวิเคราะห์เชื่อมโยงภาคส่วนที่
เกี่ยวข้องในการแก้ปัญหาหรือพัฒนาให้ดีขึ้น และต้องสามารถสร้างความยั่งยืนของการแก้ไข
ปัญหาได้ ซึ่งไม่ต่างกับการเมืองภาคพลเมืองที่เกิดขึ้นจากภาคประชาสังคมและพลเมืองที่ตระหนัก
ในสิทธิแห่งตน และหน้าที่ในฐานะพลเมืองของสังคม ประเทศ และโลก อันเป็นจุดเริ่มต้นที่สำคัญ
เช่นเดียวกับพลเมืองนักเคลื่อนไหวหลายคนในประเทศไทย
บทสรุปและข้อเสนอ ภาคประชาสังคม การเมืองภาคพลเมือง
และการดุลอำนาจกับสถาบันการเมือง
ดุลยภาพทางการเมืองของไทยในปัจจุบันนั้นยอมรับกันว่าภาคประชาชนเข้ามามีบทบาทและ
สร้างดุลอำนาจทางการเมืองได้มากขึ้นเรื่อยๆ ตามโครงสร้างทางการเมือง โอกาสทางการเมือง
และวัฒนธรรมการเมืองที่เปลี่ยนแปลงไป แต่พลวัตดุลยภาพนั้นจะเปลี่ยนไปอย่างไร โน้มเอียงไป
ทางไหน ภาคประชาสังคมและพลเมืองย่อมไม่สามารถเปลี่ยนขั้วเพราะหาไม่แล้วอำนาจอธิปไตย
ที่เป็นของปวงชนชาวไทยนั้นจะหลุดลอย ดังนั้น ภาคประชาสังคมหรือภาคประชาชนหรือการเมือง
ภาคพลเมืองต้องเป็นขั้วอำนาจที่เข้มแข็งอย่างที่สุด
ซึ่งหมายความว่า ภาคประชาสังคมเองต้องตระหนักในบทบาทและทำหน้าที่สร้างดุลยภาพ
ที่เหมาะสมไม่ว่าสถาบันการเมืองจะเป็นอย่างไร โดยข้อเสนอต่อไปนี้
1. ภาคประชาสังคมในฐานะสถาบันทางสังคม ต้องสามารถสร้างสมาชิกในประชาสังคม
นั้นให้เป็นพลเมืองที่รู้จักสิทธิ และบทบาทหน้าที่ (rights and obligations) ของตนในฐานะ
สมาชิกของสังคมที่ต้องอยู่ร่วมกันภายใต้สังคมประชาธิปไตย และตระหนักว่าสิทธิและเสรีภาพ
ของตนจะได้รับการคุ้มครอง ไม่ถูกละเมิดและการได้รับการปฏิบัติที่เท่าเทียมกันจากรัฐ รวมทั้ง
ตนต้องมีหน้าที่ที่พึงปฏิบัติต่อรัฐและสังคมด้วย ซึ่งนับเป็นการสร้างอุดมการณ์ที่เหมาะสมกับ
9
การเป็นพลเมืองในระบอบประชาธิปไตยลงในตัวตน และสมควรให้อุดมการณ์ดังกล่าวเป็นอำนาจนำ
(hegemony)
การประชุมกลุ่มย่อยที่ 5 9 การสร้างอุดมการณ์แนวคิดของกรัมซี่มีความสำคัญและเห็นว่าประชาสังคมพึงตระหนักในการทำงานของ
อุดมการณ์ที่เข้ามาในประชาสังคมที่บ้างเป็นผลทางบวกต่อการส่งเสริมความเข้มแข็งของประชาสังคมบ้างก็ไม่ ในทาง
กลับกันประชาสังคมเองต้องมีการสร้างอุดมการณ์ใหม่ (counter-hegemony) เพื่อท้าทายอุดมการณ์เหล่านั้น