Page 462 - kpi17073
P. 462

การประชุมวิชาการ
                                                                                         สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 16   461


                      และความรุนแรง กลุ่มนี้จึงให้ความสำคัญกับการรวมตัวในลักษณะกลุ่มองค์กรหรือสมาคมภายใต้
                      สังคมที่จัดตั้งขึ้นใหม่ ทำการต่อรอง กดดันในรัฐมีนโยบายสาธารณะเพื่อเอื้อเฟื้อแก่กลุ่มตน

                      ผ่านพื้นที่ ช่องทาง และกลไกในระบบการเมืองปกติ เช่น การล็อบบี้ของสมาคมธุรกิจ


                      ภาคประชาสังคม กับการเมืองภาคพลเมือง

                      และการถ่วงดุลทางการเมือง



                            ดังที่ได้กล่าวมาแล้วว่ากระแสการพัฒนาที่เข้ามาพร้อมกับองค์กรพัฒนาเอกชนที่ทำงานเพื่อ

                      พัฒนาสังคมตั้งแต่ต้นทศวรรษที่ 2500 แนวคิดภาคประชาสังคมที่ขับเคลื่อนกระแสแนวคิด
                      ประชาธิปไตยเป็นกลุ่มที่มีทั้งปัญญาชน นักวิชาการ สื่อมวลชน เข้าร่วม และมีความกระตือรือร้น
                      ในการเคลื่อนไหวกลุ่มดังกล่าวใช้ประเด็นความเหลื่อมล้ำ และเรียกร้องประชาธิปไตยจนนำมาสู่

                      เหตุการณ์ที่นิสิต นักศึกษา ประชาชนเข้ามีส่วนทางการเมืองในปี พ.ศ. 2516 เหตุการณ์เวลานั้น
                      ได้รวมเอากลุ่มแนวคิดประชาสังคมทั้งหมดไว้ด้วยกันและได้ใช้พื้นที่ทั่วประเทศในการเคลื่อนไหว

                      ไปพร้อมๆ กันทำให้การเมืองภาคพลเมืองไม่ได้มีความหมายแยกแยะตามแนวคิดประชาสังคม
                      และมักรวมภาคประชาสังคมเข้าไว้กับการเมืองภาคพลเมืองตลอดมาซึ่งนักวิชาการจำนวนหนึ่ง
                      ใช้เป็นเหตุการณ์อ้างอิงว่าเป็นจุดเริ่มต้นของการเมืองภาคพลเมือง เพราะได้เห็นปฏิสัมพันธ์และ

                      การดุลอำนาจอย่างชัดเจนระหว่างรัฐกับประชาชน

                            ภาคประชาสังคมในการเมืองภาคพลเมืองได้แสดงความเฉพาะเจาะจงของกลุ่มในการในการ

                      เคลื่อนไหวแต่ละครั้ง เช่น ปรากฏการณ์ในเดือน พฤษภาคม 2535 ประชาชนในภาคประชาสังคม
                      ครั้งนั้นถูกเรียกว่า ม๊อบมือถือ แสดงให้เห็นองค์ประกอบสำคัญของประชาชนที่ร่วมอยู่ในการ

                      เคลื่อนไหวว่าเป็นกลุ่มชนชั้นกลางและมีอำนาจทางเศรษฐกิจมากขึ้น เช่นเดียวกับการเคลื่อนไหว
                      ของภาคประชาชนของผู้เดือดร้อนเรื่องผลผลิตทางการเกษตร กลุ่มประชาชนผู้เดือดร้อนด้าน
                      ทรัพยากรหรือที่ทำกิน กลุ่มประชาชนพิทักษ์สิ่งแวดล้อม หรือกลุ่มที่รวมปัญหาคล้ายๆ กันเข้าไว้

                      ด้วยกันเพื่อเสริมพลังต่อรองอย่างสมัชชาคนจน เครือข่ายสลัม 4 ภาค สมัชชาเกษตรกรรายย่อย
                      กลุ่ม คณะกรรมการรณรงค์เพื่อประชาธิปไตย (ครป.) กลุ่มประชาธิปไตยเพื่อประชาชน (ปXป)

                      เป็นต้น ขณะที่ความชัดเจนของประชาชนผู้เคลื่อนไหวก็อยู่ที่ประเด็นของการเคลื่อนไหวได้เช่นกัน
                      และประเด็นเหล่านั้นนั่นเองที่แสดงให้เห็นถึงความต้องการของประชาชนต่อนโยบายและการใช้
                      อำนาจหน้าที่ของรัฐในการบริหารบ้านเมือง ทั้งประเด็นที่ต้องการแก้ไข พัฒนา หรือป้องกัน

                      การเมืองภาคพลเมืองดังกล่าวจึงเป็นการเรียกร้อง ทวงถาม ตรวจสอบ และดุลอำนาจกับรัฐได้ใน
                      ฐานะพลเมืองที่มีสิทธิความเป็นพลเมือง สิทธิทางการเมือง และเป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตย


                            วิกฤติเศรษฐกิจในปี พ.ศ. 2540 ได้สะท้อนให้เห็นว่านักการเมืองและพรรคการเมืองไทย

                      ไม่มีคุณสมบัติและคุณธรรมพอที่จะนำประเทศชาติไปสู่ความผาสุกและเจริญรุ่งเรือง เกิดกระแส
                      ความด้อยประสิทธิภาพของผู้แทนราษฎรและความคิดเห็นที่ว่าโครงสร้างทางการเมืองที่มีแต่
                      ผู้แทนราษฎรนั้นไม่เพียงพอต่อสำหรับการแก้ไขปัญหาของประเทศ และอาจเป็นสาเหตุแห่งปัญหา                 การประชุมกลุ่มย่อยที่ 5

                      เสียเอง ภาคประชาสังคมและการจัดการตนเองในแนวคิดประชาสังคมแบบชุมชนนิยมกลับมาได้
   457   458   459   460   461   462   463   464   465   466   467