Page 457 - kpi17073
P. 457
456 การประชุมวิชาการ
สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 16
political models. The result of the project goes far beyond politics of the people in a
way that people can understand. This article also presents a proposal to the civil
society sector for mobilizing the people’s politics to create an effective balance of
power among sectors.
ภาคประชาสังคม กับ พัฒนาการทางความคิด
ประชาสังคม (civil society) ปรากฏอยู่ในงานปรัชญาการเมือง ตั้งแต่ อริสโตเติล
(Aristotle) โธมัส อะไควนัส (Thomas Aquinas) จนถึง โธมัส ฮอบส์ (Thomas Hobbs)
ที่อธิบายประชาสังคมในนัยของการเป็นส่วนหนึ่งของรัฐ ไม่ได้แยกจากรัฐ ขณะที่ล็อค (John
Locke) พยายามแยกประชาสังคมออกจากรัฐโดยเห็นว่าการทำพันธะสัญญาทางสังคมและยอม
เสียสิทธิบางประการให้ผู้ปกครองเพื่อความเรียบร้อยสงบสุขในสังคมนั้นปัจเจกบุคคลยังมีเสรีภาพ
และหากไม่พึงพอใจผู้ปกครองหรือองค์อธิปัตย์ ก็สามารถถอดถอนได้ ประชาสังคมของล็อคจึงเป็น
สิ่งที่คู่กับรัฐและสามารถเปลี่ยนแปลงแก้ไขรัฐได้ ขณะที่มองเตสกิเออร์ (Montesquieu) เห็นว่า
สังคมและรัฐต่างอยู่ในดุลยภาพแห่งการสร้างสรรค์กันและกัน ขาดสังคมรัฐจะดำรงอยู่ไม่ได้ หาก
ไม่มีรัฐสังคมจะไม่สามารถดำรงอยู่ได้เช่นกัน ในช่วงศตวรรษที่ 19 และศตวรรษที่ 20 เป็นต้นมา
สายธารความคิดเพื่อทำความเข้าใจกับประชาสังคมเปลี่ยนไปตามบริบทและกระแสประชาธิปไตย
ที่ทำให้งานอธิบายประชาสังคมตั้งแต่ Alexis de Tocqueville Karl Marx Jurgen Habermas
จนถึงงาน Bowling Alone: The Collapse and Revival of American Community (2001)
ของ Robert Putnam ในปัจจุบัน ได้ผูกโยงประชาสังคมเข้าไว้กับสังคมและประชาธิปไตย จำแนก
ได้เป็น 2 แนวคิด คือ การที่ประชาสังคมเป็นพื้นที่ความสัมพันธ์ในระนาบเดียวกันและก่อให้เกิด
ความไว้วางใจกันของผู้คนในพื้นที่นั้น และกลายมาเป็นพื้นที่บ่มเพาะค่านิยมประชาธิปไตย และ
แนวคิดที่สองคือการที่ประชาสังคมเป็นฐานรากของสังคมเสรีนิยม โดยประชาสังคมเป็นพาหนะ
ในการจัดการพลเมืองเพื่อท้าทายอำนาจรัฐที่ไม่เป็นประชาธิปไตย เพื่อการมีส่วนร่วมและปกป้อง
สิทธิของพลเมืองและชุมชน (Seligman, 1992 อ้างถึงใน Fioromonti, and Fiori, 2010) ขณะ
เดียวกันสำหรับรัฐแล้วจะต้องทำหน้าที่ในการช่วยเหลือและปลดปล่อยประสิทธิภาพของประชา
สังคมที่จะต้องทำหน้าที่ทั้งทางเศรษฐกิจและการเมืองและเป็นการทำให้เกิดความรับผิดชอบ
ร่วมกันของสมาชิกและลดความเป็นส่วนตัว ซึ่งการที่รัฐต้องมีบทบาทดังกล่าวทำให้ประชาสังคม
สามารถกลายเป็นกลไกและเครื่องมือของรัฐที่ใช้เพื่อแทรกซึมอุดมการณ์และส่งต่อคำสั่งไปทั่วรัฐ
ได้เช่นเดียวกัน ดังที่ เฮเกล (Georg Friedrich Hegel) และ อันโตนีโอ กรัมซี่ (Antonio
1
Gramci) เห็นคล้อยไปในทิศทางเดียวกันว่าในขณะที่ภาคประชาสังคมสามารถทำให้เกิดการ
1 แนวคิดของ อันโตนิโอ กรัมซี่ นั้น ผู้ศึกษาประชาสังคม ควรทำความเข้าใจในฐานะแนวคิดที่ทรงอิทธิพล
ในการศึกษาประชาสังคม กรัมซี่โต้กลับมาร์กซ์ที่ต้องการเปลี่ยนแปลงสังคมให้อยู่ในมือของประชาสังคมซึ่งมาร์กซ์
การประชุมกลุ่มย่อยที่ 5 เห็นว่าประชาสังคมที่เป็นโครงสร้างส่วนล่างของสังคมและประกอบด้วย 2 ชนชั้นที่ต้องมีการเปลี่ยนแปลงเงื่อนไข
ประชาสังคมให้มีความยุติธรรม เสมอภาค ซึ่งหากเปลี่ยนแปลงได้โครงสร้างส่วนล่างที่สำคัญสุดของสังคมได้ก็จะเป็น
ตัวกำหนดรูปแบบรัฐซึ่งเป็นโครงสร้างส่วนบนได้ แต่กรัมซี่ ซึ่งให้ความสำคัญกับอุดมการณ์หรือจิตสำนึกและเห็น
ว่าการปฏิวัติหรือการเปลี่ยนแปลงแบบมาร์กซ์ไม่สามารถทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่ถาวรเพราะไม่ได้ให้ความสำคัญ
กับการเปลี่ยนแปลงสำนึกของคน การเปลี่ยนแปลงจิตสำนึกของคนกระทำผ่านการครอบงำสังคม (hegemony)