Page 454 - kpi17073
P. 454
การประชุมวิชาการ
สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 16 453
คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ คณะกรรมการ ป.ป.ช. องค์การอิสระด้านสิ่งแวดล้อมและ
สุขภาพ และการตรวจสอบโดยภาคประชาชน ได้ผลลัพธ์ที่มีประสิทธิผล นำไปสู่การป้องกันและ
แก้ไขปัญหาการใช้อำนาจอย่างไม่เป็นธรรม ไม่เป็นไปตามหลักนิติรัฐและนิติธรรม
3. ด้านการใช้อำนาจอธิปไตยทางตรงของประชาชน เนื่องจากความตื่นตัวของประชาชน
ที่ต้องการมีส่วนร่วมทางการเมือง ต้องการผลักดันการปฏิรูปประเทศ ต้องการเปลี่ยนไปสู่ระบอบ
ประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วมมากขึ้น จึงควรนำพลังความตื่นตัวนี้ไปเป็น “พลังทางสังคม” ที่เป็น
ประโยชน์ต่อการขับเคลื่อนกระบวนการปฏิรูปการเมืองเรื่องสิ่งแวดล้อมรวมทั้งการปฏิรูปในด้าน
อื่นๆ อย่างสร้างสรรค์
แนวทางหลักของการปฏิรูปในมิตินี้ คือการปรับเปลี่ยนรูปแบบ หลักเกณฑ์ และกฎระเบียบ
ต่างๆ ที่เกี่ยวข้องเพื่อให้ประชาชนผู้ซึ่งเป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตยได้ใช้อำนาจอธิปไตยทางตรงได้
สะดวกและกว้างขึ้น ตัวอย่างเช่น การร่วมปรึกษา และร่วมตัดสินใจกำหนดนโยบายสาธารณะ
ด้านสิ่งแวดล้อม การใช้กลไกการออกเสียงประชามติเกี่ยวกับโครงสร้างที่มีผลกระทบต่อ
สิ่งแวดล้อมสูงการเข้าชื่อเสนอกฎหมายของภาคประชาชนฯลฯ
เพื่อให้กระบวนการปฏิรูปการเมืองเรื่องสิ่งแวดล้อมสามารถเริ่มเดินหน้าได้และเป็นฐาน
ต่อการปฏิรูปในเรื่องอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องต่อไป มีข้อเสนอต่อการปฏิรูปการเมืองเรื่องสิ่งแวดล้อม
ในระยะเริ่มต้น 2 เรื่องใหญ่ ได้แก่
(1.) “Reform EIA – Restart SEA” เป็นการ “รื้อ-สร้าง” โครงสร้างและระบบการ
วิเคราะห์ผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ (EIA และ EHIA) ซึ่งถูกใช้เป็นเครื่องมือหลักใน
การตัดสินใจนโยบายสาธารณะด้านสิ่งแวดล้อม แต่ในปัจจุบันได้กลายเป็นกับดักของความขัดแย้ง
ในตัวเอง นอกจากนี้ การมีส่วนร่วมของภาคประชาชนในกระบวนการจัดทำรายงานและพิจารณา
EHIA เป็นเพียงรูปแบบและพิธีกรรม ไม่ได้มีความหมายต่อการพิจารณาและตัดสินใจโครงการ
2
ตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ (มาตรา 67 วรรคสอง ฉบับปี 2550) และนำเอาเครื่องมือใหม่
ที่ช่วยตัดสินใจในระดับนโยบาย แผน และเชิง คือ การประเมินสิ่งแวดล้อมระดับ
ยุทธศาสตร์ (Strategic Environmental Assessment : SEA) มาใช้ให้เกิดผลอย่างมีความหมาย
SEA เป็นเครื่องมือที่ใช้อย่างแพร่หลายมากว่า 20 ปีในประเทศพัฒนาแล้ว ในกลุ่มประชาคม
อาเซียนมีหลายประเทศที่ใช้มานานแล้ว เช่น เวียดนาม สิงค์โปร์ สำหรับประเทศไทยมีมติ
คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติตั้งแต่ปี 2552 ให้นำมาใช้ แต่ยังมีปัญหาและข้อจำกัดที่ต้อง
เร่งปฏิรูปอีกหลายด้านเพื่อให้เกิดผลจริงในทางปฏิบัติ
(2.) การผลักดัน “ชุดกฎหมายเพื่อการปฏิรูปด้านสิ่งแวดล้อมของประเทศไทย”
ประกอบด้วย การแก้ไขปรับปรุงพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ
พ.ศ. 2535 และพระราชบัญญัติผังเมือง พ.ศ. 2518 กฎหมายสองฉบับนี้เป็นเครื่องมือสำคัญต่อ
2 นันทวรรณ วิจิตรวาทการ, 2557. โครงการศึกษาวิจัยการปฏิบัติตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 67 วรรคสอง. การประชุมกลุ่มย่อยที่ 5
ร่างรายงานฉบับสมบูรณ์. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.)