Page 450 - kpi17073
P. 450

การสร้างดุลยภาพระหว่างสถาบันการเมือง

                            กับการเมืองภาคพลเมือง :
                            มุมมองจากกรอบกติกาในรัฐธรรมนูญ

                            และการเมืองเรื่องสิ่งแวดล้อม



                            ดร.บัณฑูร เศรษฐศิโรตม์*









                                  การสร้างดุลยภาพระหว่างสถาบันการเมืองกับการเมืองภาคพลเมืองเป็น
                            โจทย์สำคัญประการหนึ่งในกรอบ “การปฏิรูปการเมือง” ของประเทศไทย ใน

                            ช่วงที่ผ่านมา มีปัญหาความขัดแย้งทางการเมืองและทางสังคมในหลายกรณีที่
                            เกี่ยวโยงกับ “การเมืองเรื่องสิ่งแวดล้อม” (Environmental Politics) ที่เป็น

                            รูปธรรมสะท้อนถึง “ความไม่มีดุลยภาพ” ระหว่างสถาบันการเมืองกับการเมือง
                            ภาคพลเมือง ตัวอย่างเช่น กรณีโรงไฟฟ้าหินกรูดบ่อนอก กรณีโรงเหล็ก
                            บางสะพาน กรณีการประกาศเขตควบคุมมลพิษในพื้นที่นิคมอุตสาหกรรม

                            มาบตาพุด กรณีโครงการน้ำ 3.5 แสนล้าน กรณีเหมืองแร่ทองคำ จ.เลย ฯลฯ
                            สิ่งที่เกิดขึ้นคล้ายกันจากตัวอย่างกรณีปัญหาต่างๆ นี้ คือ ในขณะที่ภาคพลเมือง

                            ยึดถือบทบัญญัติในมาตราต่างๆ ของรัฐธรรมนูญที่เกี่ยวโยงกับการพัฒนาที่ยั่งยืน
                            การมีส่วนร่วมในการจัดการสิ่งแวดล้อม สิทธิของประชาชนในการมีส่วนร่วมต่อ
                            การกำหนดนโยบายสาธารณะ และสิทธิชุมชน แต่หน่วยงานภาครัฐและรัฐบาล

                            ยึดถือและกล่าวอ้างถึงความชอบธรรมในการใช้อำนาจตัดสินใจกำหนดนโยบาย
                            สาธารณะ และอำนาจหน้าที่ของหน่วยงานภาครัฐตามที่กำหนดไว้ในกฎหมาย

                            ระดับพระราชบัญญัติต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง แม้ว่าเนื้อหาของกฎหมายเหล่านั้น
                            หลายฉบับอาจมีเนื้อหาไม่สอดคล้องรองรับกับบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ
                            ปมสำคัญตรงจุดนี้จึงเป็นสาเหตุของความขัดแย้งทางสังคมและทางการเมืองใน

                            หลายระดับระหว่างผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกฝ่าย ระหว่างประชาชนและชุมชนกับ
                            หน่วยงานภาครัฐ ระหว่างชุมชนกับภาคธุรกิจ รวมถึงความขัดแย้งระหว่าง

                            สมาชิกของชุมชนด้วยกัน มีคดีฟ้องร้องมากมายต่อศาลปกครอง เป็นปัญหา
                            เชิงโครงสร้างและระบบที่สำคัญเรื่องหนึ่ง และมีแนวโน้มจะมีความขัดแย้งขยาย
                            กว้างและรุนแรงมากยิ่งขึ้น


                              *  ผู้อำนวยการสถาบันธรรมรัฐเพื่อการพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม และสมาชิกสภาปฏิรูป
                            แห่งชาติ ด้านสิ่งแวดล้อมและสาธารณสุข
   445   446   447   448   449   450   451   452   453   454   455