Page 445 - kpi17073
P. 445

444     การประชุมวิชาการ
                   สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 16


                       ทหารยังสั่งผู้ใหญ่บ้านมาเกณฑ์ชาวบ้านให้ได้วันละ 35 ครัวเรือนไปเข้าค่ายทหารฟัง
                  บรรยายและปฏิญาณว่าจะจงรักภักดีต่อชาติศาสนาทุกวัน ชาวบ้านอึดอัดมากกับคำสั่งดังกล่าว

                  และกล่าวว่า “เสียเวลาทำมาหากิน 35 ครัวเรือนทุกวันหนึ่งสัปดาห์ ค่าแรงขั้นต่ำก็สามร้อยบาท
                  นี่บาทเดียวก็ยังไม่ได้ แล้วให้ไปท่องไปปฏิญาณสร้างความปรองดองอะไร นี่มันไม่ใช่วิธีการ
                  มาบังคับเปลี่ยนความคิดเราได้ที่ไหนกัน”


                       ผู้วิจัยถามชาวบ้านว่าแล้วจะทำยังไงกับ คสช. ถ้าอึดอัดไม่พอใจ ชาวบ้านบอกว่า “คั่น คสช.

                  แน่จริงกะประกาศยกเลิกกฎอัยการศึกสิ ชาวบ้านกะพร้อมสิรบสิเฮ็ดศึกอยู่แล้ว อันนี้ คสช.
                  บ่แน่จริงกะเลยเอากฎอัยการศึกมารังแกกดขี่ชาวบ้าน” คำพูดของชาวบ้านแทบทุกคนมีความ
                  คับแค้นที่ไม่อาจจะทำตามที่ตัวเองปรารถนาได้ และได้แต่เก็บความเก็บกดเอาไว้ในใจ ซึ่งน่ากลัว

                  ว่าวันหนึ่งจะระเบิดออกมาเป็นความก้าวร้าวรุนแรงตามทฤษฎีทางจิตวิทยาสังคมที่ชื่อว่า
                  Frustration-aggression hypothesis (Berkowitz, 1989)



                  อภิปราย



                   ้   กั    การ   ั

                       การวิจัยนี้ดำเนินไปด้วยข้อจำกัดสองประการ ประการแรกชาวบ้านมีความหวาดกลัวว่า
                  คณะผู้วิจัยจะเป็นสายลับของทางราชการทหารหรือสันติบาล ทำให้การสร้างความเชื่อใจ (Trust)

                  ระหว่างผู้วิจัยกับชาวบ้านเพื่อให้ได้ข้อมูลข้อเท็จจริงเป็นเรื่องยากมาก สุดท้ายผู้วิจัยเปลี่ยนวิธีการ
                  เป็นการเล่าเรื่องการไปสัมภาษณ์กลุ่มการเมืองอื่นๆ เช่น พันธมิตร กปปส. ทั้งที่กรุงเทพ ชลบุรี

                  สุราษฎร์ธานีว่าชาวบ้านในที่อื่นๆ คิดอย่างไร ซึ่งชาวบ้านที่อุดรธานี สนใจและอยากฟังอย่างยิ่ง
                  ผู้วิจัยพลิกท่าทีจากการไปขอข้อมูล เป็นการเล่าสู่กันฟังทำให้ได้ข้อมูลเชิงลึกจากชาวบ้าน อย่างไร
                  ก็ตามข้อมูลที่ผู้วิจัยเล่าให้ชาวบ้านฟังอาจจะมีผลต่อข้อมูลที่ผู้วิจัยได้รับจากชาวบ้านได้ ข้อสอง

                  ชาวบ้านทุกคนปฏิเสธที่จะแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับสถาบันพระมหากษัตริย์เพราะต่างเกรงกลัว
                  โทษจากประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 ทำให้การวิจัยเพื่อทราบความคิดว่าชาวบ้านเสื้อแดง

                  ที่หมู่บ้านแห่งนี้คิดอย่างไรกับสถาบันพระมหากษัตริย์ไม่อาจจะทำได้อย่างที่ตั้งใจ


                     ปรา  ลการ   ั เ

                       ความสัมพันธ์ระหว่างสถาบันการเมืองกับการเมืองภาคพลเมืองในหมู่บ้านเสื้อแดงแห่งนี้มีใน
                  สองลักษณะ ก่อนรัฐประหารความสัมพันธ์ระหว่างพรรคเพื่อไทยกับชาวบ้านเป็นไปในลักษณะ

                  ระบบอุปถัมภ์ ระบบอุปถัมภ์ดังกล่าวมีความสม่ำเสมอ ดังที่ชาวบ้านกล่าวว่า ใจถึง พึ่งได้ เรียกมา
                  ใช้ได้ง่ายๆ ทำให้ชาวบ้านพึงพอใจเพราะได้มีเส้นสายในการเข้าถึงโอกาส เป็นการลดความ
                  เหลื่อมล้ำลง ทำให้ชาวบ้านรู้สึกว่าตนมีที่พึ่งและมีพลังอำนาจเพิ่มมากขึ้น การเลือกตั้งในสายตา
        การประชุมกลุ่มย่อยที่ 5   เกื้อหนุนพรรคเพื่อไทยให้เติบโตอย่างเข้มแข็งในจิตใจของชาวบ้าน ข้อค้นพบนี้ใกล้เคียงกับข้อค้นพบ
                  ของชาวบ้านคือการแสดงพลังอำนาจที่มีเหนือระบบรัฐ/ราชการ และระบบอุปถัมภ์ดังกล่าว



                  เรื่องรัฐธรรมนูญชาวบ้าน ที่พบในพื้นที่หมู่บ้านทางภาคเหนือ (Walker, 2008) เป็นอย่างยิ่ง ข้อที่
                  แตกต่างกันมากคือชาวบ้านในหมู่บ้านเสื้อแดงแห่งนี้แสดงความรู้สึกชัดเจนมากเรื่องการมีพลัง
   440   441   442   443   444   445   446   447   448   449   450