Page 446 - kpi17073
P. 446
การประชุมวิชาการ
สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 16 445
9
อำนาจเพิ่มขึ้น ส.ส. ต้องเรียกมารับใช้ชาวบ้านได้ง่ายๆ ซึ่งสอดคล้องกับภาวะผู้นำแบบผู้รับใช้
ระบบอุปถัมภ์ในหมู่บ้านที่ว่าเน้นเรื่องของผลประโยชน์ที่ชาวบ้านจะได้รับจากการเข้าไปอยู่ภายใต้
การอุปถัมภ์ดูแลซึ่งอาจจะใกล้เคียงกับระบบมูลนายที่ไพร่ทุกคนต้องมีสังกัดในสังคมไทย
สมัยอยุธยาและรัตนโกสินทร์ตอนต้น ปรากฏการณ์ในหมู่บ้านเสื้อแดงดังกล่าวสอดคล้องกับ
ลักษณะความสัมพันธ์เชิงธนอุปถัมภ์ (ธีระยุทธ บุญมี, 2543) การเลือกตั้งไม่ใช่แค่การซื้อเสียง
แต่ธนอุปถัมภ์ของหัวคะแนนและ ส.ส. ที่ทำมาอย่างต่อเนื่องยาวนานต่างหากที่ทำให้พรรค
เพื่อไทยชนะการเลือกตั้งอย่างเข้มแข็ง ซึ่งเป็นพลวัตที่แตกต่างจากการศึกษาก่อนหน้า
(Phatharathananunth, 2008) อย่างเด่นชัด เพราะชาวบ้านหลายคนขนาดจ่ายสตางค์เพื่อเข้า
ร่วมการชุมนุมทางการเมืองมากกว่าที่จะรอรับเงินเพื่อไปกากบาทลงคะแนนเสียงเลือกตั้งอย่าง
เดียวอย่างในอดีต ส่วนความสัมพันธ์ระหว่างชาวบ้านกับ คสช. และทหารหลังรัฐประหาร เป็นไป
อย่างระบบราชการ ที่เน้นการสั่งการและใช้อำนาจบังคับปฏิบัติตาม ซึ่งชาวบ้านอึดอัด คับแค้น
และไม่พอใจอย่างรุนแรง
้ เสน นะเ น บา
การแก้ปัญหาธนอุปถัมภ์ในสังคมไทยไม่ใช่การแก้ไขที่ง่ายดาย หัวใจคือการแก้ไขปัญหา
ความเหลื่อมล้ำในสังคม หากรัฐ/ระบบราชการ ตลอดจนโครงสร้างทางสังคม (เช่น การกู้เงิน
ธนาคารพาณิชย์) เปิดโอกาสและความเท่าเทียมในการเข้าถึงข้อมูล การใช้บริการ จะช่วยมิให้
ระบบธนอุปถัมภ์เกิดความเติบโตงอกงาม เมื่อไม่มีความจำเป็นต้องใช้เส้นสาย ส.ส. หรือ
หัวคะแนนจะไม่สามารถสร้างระบบธนอุปถัมภ์ดังกล่าวขึ้นมาได้ง่ายๆ
การที่ชาวบ้านมีเส้นสายผ่านระบบธนอุปถัมภ์โดยนักการเมืองท้องถิ่น แล้วชาวบ้านรู้สึกว่า
ตนมีพลังอำนาจเพิ่มขึ้นนั้น แท้จริงแล้วไม่ใช่พลังอำนาจในตน หากแต่เป็นการยืมจมูกคนอื่น
หายใจ การศึกษาเพื่อเปลี่ยนโลกทัศน์ของชาวบ้านให้ต่อสู้ด้วยตนเอง เข้มแข็งพึ่งพิงตนเองได้
มากกว่าการแสวงหามูลนายที่สามารถดลบันดาลและคุ้มครองตนเองได้นั้นเป็นสิ่งที่จำเป็น ทฤษฎี
เศรษฐกิจพอเพียงที่เน้นหลักการของความพอประมาณ มีเหตุผล มีภูมิคุ้มกันตนเอง (อภิชัย
พันธเสน, 2547) ตามแนวพระราชดำริในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ควรได้รับการปลูกฝังกับ
เยาวชนไทยผ่านระบบการศึกษาซึ่งต้องเร่งแก้ไขโดยด่วน
สำหรับ คสช. ควรพัฒนารูปแบบในการสร้างความปรองดองสมานฉันท์ที่ละมุนละม่อม
ทำให้ชาวบ้านเกิดความรู้สึกต้องการเปลี่ยนแปลงตนเองได้ ทำอย่างค่อยเป็นค่อยไป การ
เปลี่ยนแปลงนั้นควรทำให้ชาวบ้านได้ผลประโยชน์มากขึ้น ข้อสำคัญควรสร้างความสัมพันธ์อันดี
กับชาวบ้าน เข้าใจชาวบ้านอย่างแท้จริง มากกว่าการสั่งการบังคับบัญชาอย่างทหาร ควรใช้หลัก
จิตวิทยาว่าด้วยการปรับพฤติกรรมทางปัญญา (Cognitive behavior modification) และการ
เปลี่ยนแปลงเจตคติ (Attitude formation) ในวิชาจิตวิทยาสังคมเป็นหลักในการปฏิบัติการเชิง
จิตวิทยาในหมู่บ้าน
9 แนวคิดเรื่องภาวะผู้นำแบบผู้รับใช้มีการนำมาปรับใช้อย่างชัดเจนในประเทศไทยเช่นที่ชุมชนสันติอโศก ผู้นำทั้ง การประชุมกลุ่มย่อยที่ 5
ห้าเรียกว่าผู้รับใช้ทั้งห้า มีภาวะผู้นำแบบผู้รับใช้ที่คอยทำหน้าที่รับใช้สมาชิกในชุมชนในเรื่องต่างๆ