Page 442 - kpi17073
P. 442
การประชุมวิชาการ
สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 16 441
ภาวะไร้พลังอำนาจที่ชาวบ้านมีอยู่ทำให้เมื่อ ส.ส. พรรคเพื่อไทยและหัวคะแนน ทำหน้าที่
เอื้อเฟื้อช่วยเหลือในการติดต่อ/ประสานงาน ทำให้ชาวบ้านรู้สึกว่าตนเองมีพลังอำนาจมากเพิ่มขึ้น
เปลี่ยนจากภาวะไรพลังอำนาจมาเป็นภาวะมีพลังอำนาจ (Being powerful) ภาวะพลังอำนาจ
ดังกล่าวไม่ได้มาจากชาวบ้านเองโดยตรงแต่มาจากการที่ชาวบ้านสามารถอาศัยพึ่งพิง ส.ส. และ
หัวคะแนน ซึ่งมีลักษณะเป็นระบบอุปถัมภ์ (Patronage system) อย่างชัดเจน ข้อที่น่าสังเกต
อีกประการคือคือภาวะผู้นำของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่พึ่งปรารถนาในสายตาของชาวบ้าน
ได้เปลี่ยนจากความเป็นเจ้าขุนมูลนายมาเป็นผู้รับใช้ ซึ่งทางวิชาการด้านพฤติกรรมองค์การ
สมัยใหม่เรียกว่าภาวะผู้นำแบบผู้รับใช้ (Servant leadership) (Greenleaf, 2002)
หัวคะแนนของพรรคเพื่อไทยเป็นหมุดเชื่อมโยงระหว่างสามฝ่ายคือ ส.ส. และทีมงาน
แกนนำ นปช. และชาวบ้าน โดยทำงานประสานงานใกล้ชิดกับ ส.ส. และทีมงาน ชาวบ้านบอกว่า
แม้ขณะนี้ไม่มีการเคลื่อนไหวทางการเมืองเพราะทาง คสช. ห้ามเอาไว้ แต่หัวคะแนนและ ส.ส.
ก็ยังออกงาน ชาวบ้านรู้สึกว่าการที่ ส.ส. หรือหัวคะแนนมางานบุญ งานบวช งานแต่งงาน งานศพ
ของญาติพี่น้องลูกหลานตนเป็นเรื่องที่ทำให้รู้สึกซาบซึ้งและ “ได้หน้าได้ตา” การทำงานของ
หัวคะแนนในพื้นที่นั้นไม่ได้ทำเฉพาะช่วงที่มีการเลือกตั้งแต่ทำงานอย่างต่อเนื่องมาตลอดไม่เคย
ขาดแม้จะอยู่ในช่วงรัฐประหาร ชาวบ้านรู้สึกอุ่นใจว่ามีที่พึ่งพิงได้ตลอดเวลาที่ต้องการ ความ
สัมพันธ์จึงเป็นเรื่องที่มากกว่าเงินทองที่ได้รับแต่เป็นเรื่องของ “บุญคุณ” เพราะ ส.ส. พรรคเพื่อไทย
และหัวคะแนนได้ให้ความช่วยเหลือแก่ชาวบ้านทุกรูปแบบมาโดยตลอดเป็นการผูกใจอย่าง
สม่ำเสมอ จะเลือกตั้งอีกกี่ครั้งก็ยังจะเลือกด้วยเหตุผลนี้
หัวคะแนนยังมีบทบาทสำคัญในการช่วยเหลือให้ชาวบ้านได้เข้ามามีส่วนร่วมกับกิจกรรม
ทางการเมืองตลอดเวลาหลายสิบปี ชาวบ้านที่ให้ข้อมูลบางคนมีลูกชายที่เพิ่งถูกปล่อยตัวออกมา
จากเรือนจำจากคดีเผาศาลากลางจังหวัดอุดรธานี เล่าให้ฟังว่า “เฮาเป็นคนพาชาวบ้านไป ไป
ทุ่งศรีเมือง ไปราชประสงค์ ไปราชมังคลา ไปไสกะไป ที่นปช ไป เฮาเป็นคนประสานงาน
กะต้องหารถหาราให้ชาวบ้าน คั่นบ่หาให้ ชาวบ้านกะมาคอยถาม เมื่อได๋ สิพาไป อยากไป
กรุงเทพ อยากไปทุ่งศรีเมือง ชาวบ้านไปเพราะเขามัก เขาได้ม่วนเด๊ะ มันถืกใจหลาย บางเทื่อ
เฮาหารถให้บ่ได้ ชาวบ้านเขาก็เหมารถไปกันเอง ไปเชียร์ทักษิณ ไปซ่อยทักษิณ ชาวบ้านต้องการ
ไปปกป้องประชาธิปไตย” สอดคล้องกับป้าคนหนึ่งที่กล่าวว่า “โอ๊ยไปชุมนุมกะเขานี่เด้อ ข้อยเสีย
เงินเด้อ บ่แม่นว่าได้เงินเด๊ะ แต่ข้อยกะไป เพราะฮักทักษิณหลาย ซ่อยชีวิตข้อยมาเลย เสียเงิน
เสียคำ ค่ารถค่ารา กะไป มันม่วน มันถึงใจหลาย อิตน (สงสาร) ยิ่งลักษณ์ แม่ยิงผู้งามผู้น้อย
ถึกแต่คนรังแก เฮาคนอีสาน ฮักไผฮักจริง ฮักอ้ายแล้วกะต้องฮักน้องสาวนำ”
จากการสัมภาษณ์ทำให้ทราบได้ว่าก่อนรัฐประหารชาวบ้านมีพฤติกรรมการเปิดรับสื่อ
(Media exposure) ที่น่าสนใจมาก ถ้าเป็นคนมีอายุน้อยจะรับสื่อทั้งทางออนไลน์ (Line และ
Facebook) กับโทรทัศน์โดยเฉพาะช่อง Asia Update ถ้าเป็นคนมีอายุจะนั่งดูโทรทัศน์ช่อง Asia
Update เพียงอย่างเดียว ข้อนี้สร้างความประหลาดใจมากว่าอุดรธานีนั้นวิทยุชุมชนน่าจะมีคนฟัง
กันมาก (เช่นวิทยุชุมชนของขวัญชัย ไพรพนา) แต่จากการสอบถามชาวบ้านไม่มีใครฟังเลยแม้แต่ การประชุมกลุ่มย่อยที่ 5
คนเดียว ทุกคนบอกว่ามีโทรทัศน์ดูสนุกกว่า ไม่จำเป็นต้องฟังวิทยุแต่อย่างใด หลายบ้านการชม