Page 440 - kpi17073
P. 440
การประชุมวิชาการ
สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 16 439
นโยบายที่สามที่ชาวบ้านชอบมากเช่นกันคือกองทุน SML (โครงการพัฒนาศักยภาพ
หมู่บ้านและชุมชน) ซึ่งให้เงินมาให้ชาวบ้านจัดทำโครงการพัฒนาชุมชน ซึ่งทางหมู่บ้านนี้ตัดสินใจ
สร้างศาลาประจำหมู่บ้าน ไว้จัดกิจกรรมร่วมกัน ประชุมกัน ชาวบ้านได้ไปใช้ประโยชน์จากพื้นที่
ส่วนกลางที่สร้างขึ้นด้วยเงินของกองทุน SML และยังมีเงินเหลือไปพัฒนาส่วนอื่นๆ ของหมู่บ้าน
ด้วย
นโยบายที่สี่ ที่ยังไม่ได้ทำ แต่ชาวบ้านต้องการและชอบมาก คือ นโยบายรถไฟความเร็วสูง
ซึ่งชาวบ้านบอกว่าเป็นการเตรียมพร้อมสำหรับ AEC ต่อเชื่อมไปลาว เวียดนาม และจีน ถ้าทำได้
สำเร็จจะทำให้อุดรธานีเจริญก้าวหน้าเศรษฐกิจดีกว่านี้อีกมาก
ผู้วิจัยแปลกใจว่าไม่ชอบนโยบายจำนำข้าวหรือ ชาวบ้านตอบว่า “ก็ดีชาวนาได้ประโยชน์
แต่หมู่บ้านนี้เขาเซาเฮ็ดข้าวแล้ว เขาค้าขาย ค้าไม้ยูคา ขายของกันเป็นส่วนใหญ่ นาเอาให้คนอื่น
เซ่า บ่ได้เฮ็ดเอง กะเลยบ่ปานได๋กับนโยบายจำนำข้าว” คณะผู้วิจัยลองหยั่งเชิงถามว่าแล้วคิดว่า
นโยบายจำนำข้าวมีการโกงไหมอย่างที่โทรทัศน์ หนังสือพิมพ์เขาพูดกัน คำตอบที่ได้จากชาวบ้าน
ออกมาเป็นสองกลุ่ม กลุ่มแรกบอกว่า “กะบ่ฮู้คือกั๋น เรื่องมันบ่จบ ต้องไปพิสูจน์กันในศาล เฮา
ชาวบ้านฮู้น้อย เฮียนมาน้อย ฟังข่าวก็บ่ฮู้เรื่อง กะให้เขาเถียงเขาสู้กันไป เฮาบ่ได้เห็นกะตา
เจ้าของ บ่มีหลักฐานอีหยัง กะท่าเบิ่งอยู่ว่าสิเป็นจั๊งได๋” กับอีกกลุ่มมีความเห็นว่า “มันกะแค่เกมส์
การเมือง เขาตีกัน เพราะบางคนมันเสียผลประโยชน์ ก็เลยอิจฉาทักษิณ อิจฉายิ่งลักษณ์
หาเรื่องมาใส่ร้ายใส่ความเขาซื่อๆ นี่เหลว”
“
า สั พัน ระ า พรร เพ ละการเ า พลเ า บ้าน
“
จากการสัมภาษณ์ ชาวบ้านมีปฏิสัมพันธ์ทางตรงและทางอ้อมกับพรรคเพื่อไทย ในสามช่อง
ทางดังรูปข้างล่าง
“
”
ช่องทางแรกคือ ส.ส. ในพื้นที่และทีมงาน ช่องทางที่สองคือแกนนำ นปช. ช่องทางที่สามคือ
สื่อมวลชนเสื้อแดงอันได้แก่ สถานีโทรทัศน์ เอเชียอัพเดท เป็นหลัก
รูปที่ 1 แสดงความสัมพันธ์ระหว่างพรรคเพื่อไทยและชาวบ้านผ่านตัวแทนหลายช่องทาง
(เส้นประแสดงว่าเป็นช่องทางที่ค่อนข้างติดขัดไม่สะดวก, หัวลูกศรแสดงทิศทางในการสื่อสาร)
การประชุมกลุ่มย่อยที่ 5
(
(
(
“