Page 436 - kpi17073
P. 436

การประชุมวิชาการ
                                                                                         สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 16   435


                      ผู้สัมภาษณ์พูดภาษาท้องถิ่นอีสานได้อย่างคล่องแคล่วมากเนื่องจากเป็นคนอีสานโดยกำเนิด
                      จึงกลับมาคิดหาวิธีการในการทำความรู้จักและสร้างปฏิสัมพันธ์ (Rapport) กับกลุ่มตัวอย่างที่

                      ต้องการเก็บข้อมูล เนื่องจากชาวบ้านมีความหวาดระแวงแพราะมีทหารเข้าไปแทรกแซงและปฏิบัติ
                      การตลอดเวลา อีกทั้งชาวบ้านหลายคนมีคดีความและบางส่วนถูกพิพากษาจำคุกจากคดีเผา
                      ทำลายศาลากลางจังหวัดอุดรธานี การสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจกัน (Interpersonal trust) จึงเป็น

                      เรื่องสำคัญที่สุด ผู้วิจัยเปลี่ยนวิธีการในการมาขอสัมภาษณ์มาเป็นการทักทายทำความรู้จัก
                      แนะนำตนเองให้กับชาวบ้าน โดยให้ทราบชื่อจริงนามสกุลจริง หลังจากนั้นอธิบายให้ชาวบ้านฟังว่า

                      ได้ไปเก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์พูดคุยกับชาวบ้านในจังหวัดอื่นๆ ทั้งชาวบ้านที่เป็น กปปส.
                      ที่สุราษฎร์ธานี และกรุงเทพฯ พันธมิตรที่ชลบุรีและที่กรุงเทพ ตลอดจนพี่น้อง นปช. ใน
                      กรุงเทพมหานครว่ามีความคิดเห็นทัศนะทางการเมืองอย่างไรบ้าง โดยการเล่าให้ฟังอย่างเป็น

                      กันเอง สบายๆ ชาวบ้านจะถามและโต้เถียงเป็นระยะ โดยที่ผู้สัมภาษณ์ไม่ขัดหรือโต้แย้งชาวบ้าน
                      แต่อย่างใด ด้วยวิธีการนี้ทำให้ชาวบ้านรู้สึกสนใจมากเพราะไม่เคยทราบความคิดเห็นที่แตกต่าง

                      จากตนเองอย่างสิ้นเชิงมาก่อน ผู้สัมภาษณ์เล่าด้วยน้ำเสียงที่เปิดเผยจริงใจไม่ปิดบัง และไม่มี
                      ลักษณะท่าทางที่จะมาเก็บข้อมูลแต่เป็นการพูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็นอย่างเป็นกันเองด้วย
                      บรรยากาศผ่อนคลาย มากกว่า ด้วยวิธีการนี้ทำให้ชาวบ้านเกิดความไว้วางใจและสนทนาด้วย

                      หลายชั่วโมงอย่างเปิดใจทำให้ได้ข้อมูลเชิงลึก หลังจากการสัมภาษณ์ผู้วิจัยได้ขอร้องให้ชาวบ้าน
                      ช่วยแนะนำหรือพาไปพบชาวบ้านคนอื่นๆ ให้ข้อมูล ชาวบ้านบางคนขับรถมอเตอร์ไซค์นำทาง

                      ผู้วิจัยไปหากลุ่มตัวอย่างคนอื่นๆ พร้อมแนะนำให้รู้จักและช่วยเหลือในการเก็บข้อมูลเป็นอย่างดี
                      โดยเฉพาะผู้ใหญ่บ้านและภรรยา (ซึ่งเป็นสมาชิกสภาจังหวัด) ได้ช่วยเหลือในการเก็บข้อมูลเป็น
                      อย่างดีกับลูกบ้าน


                      การเก บ ้   ล

                            การเก็บข้อมูลใช้การสังเกต (Observation) และการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth

                      interview) เป็นหลัก โดยมีคำถามนำและคำถามตาม (Probing questions) ที่คณะผู้วิจัยสร้างขึ้น
                      จากการทบทวนวรรณกรรมงานวิจัยในอดีตที่เกี่ยวกับคนเสื้อแดง (ได้แก่ Siamwalla &

                      Jitsuchon, 2012; The Asia Foundation, 2013; วรรณวิภางค์ มานะโชติพงษ์, 2556; อภิชาต
                      สถิตนิรามัย, ยุกติ มุกดาวิจิตร, & นิติ ภวัครพันธุ์, 2556) หากมีชาวบ้านเข้ามาร่วมการ
                      สัมภาษณ์เชิงลึกมากกว่าหนึ่งคน ผู้สัมภาษณ์จะเปลี่ยนสถานภาพเป็นผู้ดำเนินการสนทนา

                      (Moderator) สำหรับการสนทนากลุ่ม (Focus-group interview) และให้โอกาสทุกคนมีโอกาส
                      แสดงความคิดเห็นแทน การสัมภาษณ์และการสนทนากลุ่มอาจจะมีการบันทึกเสียงโดยใช้ ipad

                      โดยแจ้งให้ชาวบ้านทราบล่วงหน้าหากชาวบ้านไม่ยินยอมหรือไม่สบายใจที่จะให้บันทึกเสียงก็จะใช้
                      การจดโน้ตย่อ (Note-taking) แทน จากการไปลงพื้นที่สามวันสามคืนได้ดำเนินการสัมภาษณ์เชิง
                      ลึกและการสนทนากลุ่มกับชาวบ้านมาทั้งสิ้น 12 คน การสัมภาษณ์ใช้เวลานานมากอย่างต่ำ

                      ประมาณ 2-4 ชั่วโมง ข้อมูลที่ได้จากการสัมภาษณ์หากเป็นการบันทึกเสียงจะนำมาถอดเทปหาก
                      เป็นการจดโน้ตย่อก็จะนำมาเรียบเรียงและพิมพ์เพื่อนำข้อมูลมาวิเคราะห์ในลำดับต่อไป                     การประชุมกลุ่มย่อยที่ 5
   431   432   433   434   435   436   437   438   439   440   441