Page 432 - kpi17073
P. 432
สถาบันการเมืองกับการเมืองภาคพลเมือง:
เสียงก้องจากหมู่บ้านเสื้อแดง 1
ดร.อานนท์ ศักดิ์วรวิชญ์ 2
ศาสตราจารย์กิตติคุณ ดร.สุภางค์ จันทวานิช 3
ศาสตราจารย์ ดร.ยุบล เบ็ญจรงค์กิจ 4
ดร.ภทรพร ยุทธาภรณ์พินิจ 5
บทคัดย่อ
การศึกษาวิจัยในครั้งนี้ ใช้การวิจัยเชิงคุณภาพเพื่อศึกษาความสัมพันธ์
6
ระหว่างสถาบันการเมืองกับการเมืองภาคพลเมือง โดยศึกษาหมู่บ้านเสื้อแดง
แห่งหนึ่งในจังหวัดอุดรธานี ด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกและการสนทนากลุ่ม
การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ทฤษฎีรากฐาน ผลการวิจัยพบว่าสถาบันการเมืองคือพรรค
เพื่อไทยมีช่องทางในการติดต่อกับการเมืองภาคพลเมืองสามช่องทางคือ ส.ส.
และทีมงาน แกนนำ นปช. และสื่อมวลชนเสื้อแดง หัวคะแนนเป็นหมุดเชื่อม
1 เสียงก้องจากหมู่บ้านเสื้อแดงเป็นการอุปมาอุปไมยกับหนังสือชื่อเสียงก้องจากโรงเรียน
เชิงเขาซึ่งเป็นการรวบรวมเรียงความของเด็กญี่ปุ่นในชนบทห่างไกลหลังญี่ปุ่นแพ้สงครามโลก
ครั้งที่สองใหม่ๆ ที่แสดงทัศนะต่อสังคมญี่ปุ่นและโอกาสทางสังคม แปลเป็นภาษาไทยโดย
ม.ล.รสคนธ์ อิศรเสนา
2 หัวหน้าสาขาวิชาการวิเคราะห์ธุรกิจและการวิจัย คณะสถิติประยุกต์ สถาบันบัณฑิต
พัฒนบริหารศาสตร์
3 ศาสตราจารย์ กิตติคุณ ภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา คณะรัฐศาสตร์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยการย้ายถิ่นแห่งเอเชีย สถาบันเอเชียศึกษา
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
4 ศาสตราจารย์ประจำคณะนิเทศศาสตร์และนวัตกรรมการจัดการ สถาบันบัณฑิต
พัฒนบริหารศาสตร์
5 อาจารย์ประจำคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล
ตะวันออก วิทยาเขตบางพระ
6 บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของรายงานการวิจัยลักษณะและปัจจัยกำหนดภาพในความคิด
(Stereotype) ที่คนไทยมีต่อกลุ่มการเมืองต่างๆ ที่ได้รับทุนวิจัยจากสถาบันพระปกเกล้าสำหรับ
โครงการวิจัยระยะที่หนึ่งซึ่งเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative research)