Page 428 - kpi17073
P. 428
สถาบันการเมืองกับการเมืองภาคพลเมือง :
ดุลยภาพที่เหมาะสม
นายแพทย์พลเดช ปิ่นประทีป*
ผมต้องขอบคุณสถาบันพระปกเกล้าที่ได้จับประเด็นดุลยภาพที่เหมาะสม
ของการเมืองภาคพลเมืองและการเมืองของเชิงสถาบัน เพราะผมคิดว่าในช่วง
ต่อไปนี้มันจะมีความสำคัญมากขึ้นเรื่อยๆ หากว่าเราสามารถจัดความสมดุล
ในส่วนตรงนี้ได้จะทำให้บ้านเมืองเป็นไปในทางที่ลงตัวได้ จากที่เฝ้าสังเกตการณ์
พัฒนาทางการเมืองมา ผมคิดว่าคุณูปการที่สำคัญของรัฐธรรมนูญปี 40
แผนพัฒนาประเทศฉบับที่ 8 และรัฐธรรมนูญปี 50 ต่อมา และรัฐธรรมนูญ
ปีถัดๆ ไป ผมว่าตัวนี้เป็นตัวสำคัญ เพราะว่าพอรัฐธรรมนูญเป็นกรอบใหญ่
ที่เปลี่ยนจากเรื่องของการเมืองแบบเลือกตั้งแบบตัวแทนมาเป็นแบบมีส่วนร่วม
แผนพัฒนาประเทศก็เน้นการพัฒนาที่เอาประชาชนเป็นตัวตั้ง สองอันนี้มันทำให้
ทิศทางของการพัฒนาประเทศต่างๆ เม็ดเงินงบประมาณ การทำงานของแผนงาน
ต่างๆ โครงการต่างๆ ของทุกหน่วยต้องเป็นไปในทางนี้ จะเชื่อหรือเข้าใจแค่ไหน
ก็ต้องไปในทางนี้ ฉะนั้น พอแผนพัฒนาประเทศฉบับที่ 8 9 10 หรือแม้กระทั่ง
11 วางกรอบอย่างนี้ การวางรัฐธรรมนูญก็วางไปในทิศทางนี้ คือการมีส่วนร่วม
ตรงนี้ก็ทำให้มีการเติบโต ผมถือว่าการเติบโตในช่วงหลังปี 2540 เป็นต้นมา
การเติบโตของภาคพลเมือง ประชาชน เติบโตค่อนข้างเร็ว และขยายตัวมาก
โดยเฉพาะ 3-4 ปีหลัง ที่มีการชุมนุมใหญ่ๆ เพราะการชุมนุมใหญ่ๆ แต่ละครั้ง
ก็เป็นการฝึกฝนการปฏิบัติการของการเมืองแบบมีส่วนร่วม ที่ส่งผลกระทบ
มหาศาล แต่อย่างไรก็ตามสิ่งที่ในความเป็นจริง รัฐธรรมนูญก็บอกอย่างนั้น
แผนพัฒนาประเทศฉบับ 8 9 10 11 ก็บอกอย่างนั้น แต่ว่าในทางปฏิบัติมันมี
* เลขาธิการสถาบันชุมชนท้องถิ่นพัฒนา