Page 430 - kpi17073
P. 430
การประชุมวิชาการ
สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 16 429
ดีๆ ภายใน 10 ปีเห็นผล ไม่ต้องรอถึง 100 ปีที่ไทยเปลี่ยนการปกครอง นั่นเป็นประเภทที่ 1
ส่วนประเภทที่ 2 คือ การเมืองภาคพลเมืองในระดับของการมีส่วนร่วม การกำหนดนโยบาย
สาธารณะ อาจจะเป็นระดับท้องถิ่น ระดับกลุ่มย่อย หรือระดับชาติก็ได้ อาจจะเป็นในรูปของแผน
กฎหมายอะไรก็ได้ อันนี้กระบวนการนี้จะเห็นเติบโตอย่างมาก ภายหลังจากที่มีสมัชชาสุขภาพ
แห่งชาติ การปฏิรูปสุขภาพที่เริ่มในปี 2543 ตรงนั้น ทำให้เกิดกระบวนการนโยบายสาธารณะ
ตรงนี้เป็นอีกระดับหนึ่งที่สูงขึ้นมา อันนี้เป็นเรื่องของชนชั้นกลางเป็นเรื่องของนักวิชาการของคนที่
มีจิตสาธารณะ และต้องใช้ความรู้ในการนำเสนอและมีปฏิสัมพันธ์กับพวกผู้ปกครอง ผู้บริหาร
ต่างๆ อีกระดับหนึ่ง ระดับที่ 3 เป็นการเมืองภาคพลเมืองในลักษณะของการตรวจสอบ
การทุจริต คนที่ทำงานในเรื่องของเครือข่ายตรวจสอบนักการเมือง ต้องเอาชีวิตไปสละไม่น้อย
เพราะฉะนั้นการเมืองภาคพลเมืองใน 3 ระดับใจความสำคัญ คือ จิตสำนึกของความเป็นพลเมือง
หรือสิ่งที่เรียกว่าความเป็นพลเมืองนั้นมันจะเกิดขึ้นได้ด้วยการ exercise ด้วยการปฏิบัติการ
อาจเรียกว่า public acting หรือปฏิบัติการสาธารณะ เป็นการกระทำการทางสาธารณะเพื่อ
ประโยชน์สาธารณะ ปกป้องประโยชน์สาธารณะครั้งแล้วครั้งเล่า ไม่ว่าจะเป็นระดับของกลุ่ม ชุมชน
ครอบครัว ท้องถิ่น หรือของชาติ ประชาชนที่เข้าร่วมปฏิบัติการนี้จะถูกขัดเกลา ฝึกฝนจิตสำนึก
เพื่อส่วนรวม จิตสำนึกสาธารณะ จิตสำนึกอาสา จะถูกฝึกทีละนิด คนที่ผ่านการชุมนุมแต่ละครั้ง
เขาจะเปลี่ยนแปลง ฉะนั้น การเคลื่อนไหวสาธารณะ ทั้งเล็กทั้งใหญ่ต่างๆ จะทำให้พลังของ
พลเมืองเกิดขึ้นอย่างสม่ำเสมอ เมื่อถึงวันหนึ่งมันจะเปลี่ยนประเทศเราได้ ผมคิดว่าใกล้แล้ว
เพราะฉะนั้นหัวเลี้ยวหัวต่อของการปฏิรูปครั้งนี้ทำให้ดีๆ ออกแบบรัฐธรรมนูญให้ดี ให้เอื้อไปใน
ทิศทางนี้ ในมุมมองของผมอีก 20 ปีข้างหน้าบ้านเมืองจะไปอย่างไร อยู่ที่ดุลยภาพของการเมือง
ภาคพลเมืองกับอำนาจรัฐ อำนาจทางสังคมและธุรกิจ ได้สมดุลกัน วันนี้เราไม่ค่อยห่วงอำนาจรัฐ
ธุรกิจ เขาแข็งแรงอยู่แล้ว แต่อำนาจของประชาชน ทางสังคมนั้นต้องฟูมฟักอีกสักนิดหนึ่ง การประชุมกลุ่มย่อยที่ 5