Page 434 - kpi17073
P. 434
การประชุมวิชาการ
สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 16 433
สถาบันการเมืองกับการเมืองภาคพลเมือง:
เสียงก้องจากหมู่บ้านเสื้อแดง
บทนำ
ตามทฤษฎีสองนคราประชาธิปไตยนั้นประชาชนในพื้นที่ชนบทจะเป็นผู้มีอำนาจในการจัดตั้ง
รัฐบาลแต่ประชาชนในเมืองจะเป็นผู้ล้มรัฐบาล ซึ่งในอดีตที่ผ่านมาการเมืองไทยก็อยู่ในวงจรนี้มา
เป็นระยะเวลายาวนาน (เอนก เหล่าธรรมทัศน์, 2556) การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างสถาบัน
การเมืองกับการเมืองภาคพลเมืองในพื้นที่ชนบทจึงเป็นสิ่งที่สำคัญยิ่ง โดยเฉพาะภาคตะวันออก-
เฉียงเหนือมีจำนวนประชากรมากที่สุดของประเทศ ทำให้มีจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมาก
จึงมีอิทธิพลต่อผลการเลือกตั้งทั้งประเทศและการเมืองระดับประเทศสูงมาก และประชากรภาค
อีสานส่วนใหญ่อาศัยในพื้นที่ชนบท ประกอบกับในช่วงสิบปีที่ผ่านมา ประชาชนจากพื้นที่ชนบท
(ต่อไปนี้จะขอเรียกสั้นๆ ว่า “ชาวบ้าน”) ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือเข้ามามีส่วนร่วมในการ
เคลื่อนไหวทางการเมืองเข้มแข็งมากเป็นพิเศษ โดยเฉพาะการเคลื่อนไหวเพื่อสนับสนุนพรรคไทย
รักไทย พรรคเพื่อไทย และแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการ (นปช.) จากการทบทวน
วรรณกรรมในอดีตที่ได้มีการศึกษากับชาวบ้านในพื้นที่ซึ่งพรรคไทยรักไทยชนะการเลือกตั้งอย่าง
ขาดลอย เช่นในภาคเหนือด้วยวิธีการเชิงชาติพันธุ์วิทยา (Ethnographic research) พบว่าการที่
พรรคไทยรักไทยนำโดยพันตำรวจโท ดร. ทักษิณ ชินวัตร ชนะการเลือกตั้งนั้นไม่ได้มาจากการ
ซื้อสิทธิ์ขายเสียงแต่มาจากวิธีการเมืองรายวัน (Everyday politics) ที่หัวคะแนนค่อยๆ สร้าง
คุณค่าให้ชาวบ้านนั้นเลือกตั้งพรรคไทยรักไทยจนเกิดเป็นรัฐธรรมนูญชนบท (Rural constitution)
ซึ่งเป็นค่านิยมและบรรทัดฐานทางการเมืองที่ต้องการเลือกผู้แทนทางการเมืองเป็นคนท้องถิ่นที่
สามารถให้ความสนับสนุนทางการเงิน และต้องกลับมายกระดับและพัฒนาพื้นที่ ปากท้อง และ
ชีวิตความเป็นอยู่ของชาวบ้านให้ดีขึ้นด้วย นอกจากนี้ยังมีระบบอุปถัมภ์ช่วยเหลือ (Patronage
system) ที่ชาวบ้านยึดถือเป็นบรรทัดฐานที่ว่านักการเมืองต้องช่วยเหลือและอุปถัมภ์ชาวบ้าน
โดยเฉพาะการติดต่อกับรัฐหรือระบบราชการซึ่งทำให้ความนิยมชมชอบในระบอบทักษิณเพิ่มขึ้น
อย่างท่วมท้นและชนะการเลือกตั้งอย่างถล่มทลาย (Walker, 2008) ส่วนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
นั้นการศึกษากลับพบว่าทั้งนโยบายสาธารณะเช่นนโยบายประชานิยมต่างๆ ที่ชัดเจนเป็นรูปธรรม
ถูกใจชาวบ้านและการใช้เงินในการเลือกตั้งมีผลร่วมกันทำให้พรรคไทยรักไทยชนะการเลือกตั้ง
ถล่มทลายในภาคอีสานเช่นกัน (Phatharathananunth, 2008)
การศึกษานี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อเข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างสถาบันการเมืองกับการเมือง
ภาคพลเมืองโดยเฉพาะชาวบ้านในหมู่บ้านเสื้อแดงในเขตพื้นที่ชนบททั้งในแง่กระบวนการ
ความคิด ความรู้สึกของชาวบ้านที่มีต่อสถาบันทางการเมืองซึ่งได้แก่ พรรคเพื่อไทย และ คสช.
ซึ่งเป็นผู้มีปฏิสัมพันธ์กับชาวบ้านโดยตรงก่อนและหลังรัฐประหารเมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2557 การประชุมกลุ่มย่อยที่ 5
สาเหตุที่เลือกศึกษาหมู่บ้านเสื้อแดงโดยตรงในเขตพื้นที่ชนบทในอำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี