Page 435 - kpi17073
P. 435

434     การประชุมวิชาการ
                   สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 16


                  ซึ่งขึ้นชื่อว่าเป็นเมืองหลวงของคนเสื้อแดงก็เพื่อต้องการเรียนรู้จากพื้นที่ซึ่งมีความคิดเห็นทางการ
                  เมืองเด่นชัด คณะผู้วิจัยเลือกลงพื้นที่ไปศึกษาในหมู่บ้านเสื้อแดงชนบทซึ่งเป็นหมู่บ้านเสื้อแดงแห่ง

                  แรกๆ ในประเทศไทยและมีบทบาททางการเมืองเข้มข้นมาตลอดระยะเวลาสิบปีที่ผ่านมาทั้งการมา
                  ร่วมชุมนุมที่ราชประสงค์ในปี 2553 การมาชุมนุมที่สนามราชมังคลากรีฑาสถาน และการมาร่วม
                  ชุมนุมที่ถนนอักษะในปี 2557 แกนนำชาวบ้านของพื้นที่นี้หลายคนมีชื่อเสียงระดับประเทศ

                  นอกจากนี้พื้นที่ที่ลงไปศึกษายังมีความน่าสนใจเป็นพิเศษอีกสองประการ ประการแรกพื้นที่
                  ดังกล่าวเคยเป็นเขตพื้นที่ของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรพรรคประชาธิปัตย์มาเนิ่นนานก่อนการเข้า

                  มาสู่การเมืองไทยของพันตำรวจโท ดร. ทักษิณ ชินวัตร และสองพื้นที่นี้มีการแทรกแซงและเข้าไป
                  กำกับดูแลตลอดจนปฏิบัติการจิตวิทยาโดยกองทัพบกและคสช อย่างเข้มข้นในช่วงห้าเดือนที่ผ่าน
                  มานี้ ทำให้พื้นที่ดังกล่าวมีลักษณะเฉพาะที่ควรสนใจศึกษาอย่างยิ่ง ความรู้และความเข้าใจความ

                  สัมพันธ์ระหว่างสถาบันการเมืองกับการเมืองภาคพลเมือง ของชาวบ้านในพื้นที่ดังกล่าวจึงน่าจะ
                  ช่วยให้เห็นพลวัตรและแนวทางในการสร้างความสมานฉันท์ปรองดองในสังคมไทยขึ้นได้ และอาจ

                  จะช่วยเป็นแนวทางในการปฏิรูปประเทศไทยในอนาคตอันใกล้


                  ระเบียบวิธีวิจัย



                       การวิจัยนี้ใช้การวิจัยเชิงคุณภาพ เนื่องจากคณะผู้วิจัยวางแผนงานโครงการวิจัยออกเป็น

                  หลายระยะและเลือกใช้รูปแบบการวิจัยผสมผสาน (Mixed method) โดยออกแบบงานวิจัย
                                                                                                7
                  เป็นการวิจัยเชิงผสมผสานเพื่ออธิบายตามลำดับ (Sequential Explanatory Design)  (Creswell,
                  2013; Hanson, Creswell, Plano Clark, Petska, & Creswell, 2005) คณะผู้วิจัยศึกษาพื้นที่
                  จากข่าวในหนังสือพิมพ์ อินเตอร์เน็ท และการสอบถามคนในพื้นที่จังหวัดอุดรธานี เพื่อให้เข้าใจ
                  สภาพพื้นที่และเลือกพื้นที่ที่มีความสำคัญในการศึกษาดังที่ได้อธิบายไปแล้วข้างต้นก่อนการลง

                  พื้นที่ (Fieldwork) เพื่อเก็บข้อมูลจริง


                  การเ ้าถ  กล    ั    า

                       การเข้าถึงกลุ่มตัวอย่างเลือกเก็บข้อมูลจากผู้ให้ข้อมูลหลัก คณะผู้วิจัยได้ติดต่อชาวบ้าน
                  ในพื้นที่อำเภอเมืองจังหวัดอุดรธานีและอาศัยชาวบ้านแนะนำให้รู้จักคณะผู้วิจัยเป็นทอดๆ
                  ที่เรียกว่าการสุ่มตัวอย่างแบบลูกหิมะ (Snowball sampling) ซึ่งเหมาะกับการศึกษาในกลุ่ม

                  ตัวอย่างที่เข้าถึงได้ยาก แม้จะอาศัยวิธีการดังกล่าว โดยมีคนในพื้นที่รับรองให้การเก็บข้อมูลก็ยัง
                  ไม่ราบรื่นเท่าที่ควร ชาวบ้านในพื้นที่มีความหวาดระแวงและเกรงกลัวว่าคณะผู้วิจัยซึ่งเป็น

                  คนต่างถิ่นจะเป็นสายสืบของทางราชการทหารหรือตำรวจสันติบาล ทำให้การสัมภาษณ์เชิงลึกใน
                  ช่วงแรกเป็นไปอย่างตะกุกตะกัก ชาวบ้านไม่กล้าให้ข้อมูลจริง แม้จะมีคนในท้องถิ่นแนะนำไปและ


        การประชุมกลุ่มย่อยที่ 5     มีความเข้าใจในปรากฏการณ์ที่ต้องการศึกษาไม่เพียงพอสำหรับการสร้างกรอบแนวคิดในการวิจัย (Research
                        โดยในระยะแรกของโครงการจะใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ เนื่องจากเรื่องที่ศึกษาเป็นเรื่องที่ค่อนข้างใหม่และยัง
                     7

                  framework) เมื่อได้กรอบแนวคิดในการวิจัยจากการวิจัยเชิงคุณภาพแล้วจึงใช้วิธีการศึกษาเชิงปริมาณในโครงการวิจัย
                  ระยะที่สองต่อไป (ซึ่งยังไม่ได้ศึกษาในขณะนี้)
   430   431   432   433   434   435   436   437   438   439   440