Page 437 - kpi17073
P. 437
436 การประชุมวิชาการ
สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 16
การ เ ราะ ้ ล
การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การวิเคราะห์ด้วยทฤษฎีฐานราก (Grounded theory) (Charmaz,
1995, 2000; Fassinger, 2005; Glaser & Strauss, 1967; Strauss & Corbin, 1998)
Grounded theory เป็นเทคนิควิธีการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพที่พัฒนาโดยนักสังคมวิทยา
สองท่าน (Glaser & Strauss, 1967) แต่ในการศึกษานี้จะประยุกต์ใช้เทคนิควิธีของ grounded
theory ที่ปรับแต่งสำหรับงานวิจัยเชิงจิตวิทยา (Charmaz, 1995; Fassinger, 2005) ซึ่งมี
ขั้นตอนในการวิเคราะห์ดังนี้
หนึ่ง การลงรหัสแบบเปิด (Open coding) ผู้วิจัยจะอ่านบทสัมภาษณ์และสนทนากลุ่ม
โดยพยายามแยกย่อยประโยคลงเป็นหน่วยความหมาย (Units of meanings) และมโนทัศน์
(Concepts) โดยการวิเคราะห์บริบทและเงื่อนไขที่อยู่รอบๆ ความหมายนั้น การลงรหัสแบบเปิดนี้
จะไม่ทำเป็นคำๆ แต่จะทำเป็นประโยคหรือย่อหน้า (Paragraph) เพื่อให้การวิเคราะห์ครอบคลุม
บริบทและเงื่อนไขที่อยู่รอบๆ ความหมายนั้นด้วย ผู้วิจัยจะบันทึกย่อๆ ในระหว่างบรรทัดของบท
สัมภาษณ์และสนทนากลุ่ม ทั้งนี้การพยายามทำความเข้าใจรู้สึกร่วม (Empathy) และเอาตัวตน
ของตัวเองออกมาจากสถานการณ์ (Bracketing) เพื่อให้เข้าใจและรู้สึกอย่างที่ผู้ให้ข้อมูลได้ให้
ข้อมูลมา ตามศัพท์ของท่านพุทธทาสภิกขุเรียกว่า “จิตว่าง” การลงรหัสแบบเปิดนี้เป็นเพียง
สมมุติฐานชั่วคราว (Working hypothesis) ที่อาจจะปรับเปลี่ยนได้หากพิจารณาบริบทและ
สถานการณ์แล้วไม่สอดคล้องหรือสมเหตุสมผล ผู้วิจัยอาจจะทำการลงรหัสแบบเปิดหลายครั้ง
อย่างรอบคอบเพื่อให้เข้าใจความหมายอย่างแท้จริง
สอง การลงรหัสตามแกน (Axial coding) จะเป็นขั้นตอนในการจัดกลุ่มจัดประเภทของ
หน่วยความหมายและมโนทัศน์ ซึ่งเป็นสมมุติฐานชั่วคราวจากการลงรหัสแบบเปิด สำหรับวิธีที่ใช้
ในการจัดกลุ่มประเภทของหน่วยความหมายและมโนทัศน์ใช้วิธีการเปรียบเทียบคงที่ (A constant
comparison method) ที่มีการเปรียบเทียบ 4 ชนิด อย่างแรกคือการเปรียบเทียบและการเชื่อม
โยงประเภทย่อย (Subcategories) กับประเภท (Categories) ว่ามีความสอดคล้องสมเหตุสมผล
กันหรือไม่ อย่างที่สองคือการเปรียบเทียบกับข้อมูลใหม่ (เช่นผู้ให้ข้อมูลอีกคน) ว่าประเภทที่จัดไว้
ก่อนหน้านั้นสามารถสอดคล้องเข้ากันได้กับข้อมูลใหม่หรือไม่ อย่างที่สามคือการขยายความ
ซับซ้อนของประเภทที่เราจัดไว้โดยการพยายามอธิบายสมบัติต่างๆ ของประเภทและมิติของ
ประเภทว่ามีประเภทย่อยๆ ใดบ้างหรือสามารถจัดลำดับประเภทย่อยๆ ตามระดับความต่อเนื่อง
ของประเภทได้หรือไม่ อย่างที่สี่คือการค้นหาความหลากหลายของประเภทที่จัดไว้ เช่นการยก
ตัวอย่างที่ดูจะไม่สอดคล้องหรือขัดแย้งจากข้อมูลกับประเภทที่เราจัดไว้เช่นเดียวกันกับพยายาม
สร้างมโนทัศน์ที่เหมาะสมกว่าในการจัดประเภทและหรือที่สามารถอธิบายความสัมพันธ์ระหว่าง
ประเภทที่เราจัดไว้ได้ดีกว่าเดิม หลังจากนั้นให้พยายามค้นหาความสัมพันธ์ระหว่างหน่วยความ
การประชุมกลุ่มย่อยที่ 5 หน่วยความหมายหรือมโนทัศน์ หรือสร้างโครงสร้างของหน่วยความหมายหรือมโนทัศน์ โดยใช้
หมายและมโนทัศน์ที่ได้รับการจัดหมวดหมู่ในตอนนี้ผู้วิจัยอาจจะโยงเส้นหรือวิเคราะห์จัดหมวดหมู่
เครื่องมืออื่นๆ ร่วมก็ได้ การตรวจสอบความสัมพันธ์นี้ให้ใช้ตัวอย่างจากข้อมูลที่แสดงความ
สัมพันธ์ระหว่างประเภท และควรตรวจสอบหรือหาตัวอย่างที่ขัดแย้งความสัมพันธ์ระหว่างประเภท