Page 429 - kpi17073
P. 429
428 การประชุมวิชาการ
สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 16
แรงต้าน แรงเฉื่อย อย่างเช่นแผนฯ 8-11 ที่บอกว่าต้องเอาสังคมเป็นตัวตั้ง ต้องให้ความสำคัญกับ
ดุลยภาพ กับเรื่องเศรษฐกิจชุมชน เศรษฐกิจมหภาค หรือสิ่งแวดล้อม แต่เอาเข้าจริง ข้าราชการ
เองก็ยังติดอยู่กับวิธีคิดแบบเดิมๆ และงบประมาณต่างๆ ที่ผ่านแผนงานต่างๆ ของกระทรวง
ทบวง กรม ก็ปฏิบัติโดยข้าราชการที่ยังมีแนวคิดแบบเดิม เพราะฉะนั้นมันยังกลายเป็นความขัด
แย้งที่เกิดขึ้นมาตลอด เมื่อรัฐธรรมนูญเปิดโอกาสให้ภาคประชาชน ก็เกิดการเคลื่อนไหวในทัศนะ
ของผมการทำให้ภาคประชาชนเข้มแข็งมันอยู่ที่ประชาชนต้องมีสิ่งที่เรียกว่าความเป็นพลเมือง
ไม่ใช่เป็นราษฎรที่ถูกปกครอง ถูกบริหารจัดการ แต่เรามีรัฐธรรมนูญ 2475 เรามีการ
เปลี่ยนแปลงการปกครอง มีการเลือกตั้ง ประชาชนก็มีความสำนึกที่จะเป็นพลเมืองอย่างช้าๆ
จนกระทั่งผ่านไปตั้ง 40 ปี จนเกิดเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 ตั้ง 40 ปีกว่าจะเกิดการ
เปลี่ยนแปลงคุณภาพ จาก 2516 มาถึงปี 2557 ก็อีก 40 ปีเหมือนกัน ภาคประชาชนได้ลอง
ปฏิบัติการ ได้ฝึกฝนประชาธิปไตยในชีวิตประจำวัน ประจำเดือน ประจำปี หรือ 4 ปีที่จะต้องใช้
สิทธิเลือกตั้ง อย่างน้อยก็ได้ฝึกฝน ทีนี้ตอนหลังที่ผมชี้ให้เห็นคุณูปการของแผนพัฒนาประเทศ
ฉบับที่ 8 รัฐธรรมนูญปี 40 ก็เพราะว่าการที่แผนเป็นไปในทิศทางนี้ ทำให้ประชาชนมีบทบาท
มีความสำคัญมากขึ้น และมีส่วนร่วมในการที่จะกำหนดตนเอง ผมมองเห็นรูปแบบในการมีส่วนร่วม
ของประชาชนเป็น 3 ระดับ เท่าที่เห็นระดับแรกเป็นระดับล่างสุด คือ ประชาชนรวมตัวร่วมคิด
ร่วมทำ ร่วมแก้ปัญหาของตัวเอง ร่วมจัดการและต่อสู้ให้ได้มาซึ่งสิ่งที่ตนเองต้องการ หลายเรื่อง
ต้องต่อสู้กับอิทธิพล กลุ่มชุมชนต่างๆ ที่หวงแหนป่า เพราะป่าเป็นชีวิตของเขา เราให้รางวัลทุกปี
รางวัลลูกโลกสีเขียวเป็นปีที่ 16 แล้วเราพบว่าป่าชุมชนที่สามารถดูแลได้ต้องเอาชีวิตเข้าแลกผู้นำ
หลายคนถูกฆ่าตาย เพราะว่าต้องสู้กับอิทธิพล นักการเมืองท้องถิ่น กับข้าราชการ และนายทุน
ที่ไหนที่สามารถผ่านตรงนั้นมาได้มักจะมีความยั่งยืน มีความแข็งแรง มีภูมิต้านทาน เพราะฉะนั้น
อันนี้คือการรวมตัวร่วมคิดร่วมทำ มีทั้งเรื่องร้อนและเย็น เขากำหนดตัวเองเป็นกลุ่มองค์กรเล็กๆ
ตามที่เขาสนใจ ดูแลฐานทรัพยากรส่วนรวมที่เขาฝากชีวิตไว้ด้วยกัน นี่คือระดับที่หนึ่ง แผนฯ 8
ทำให้เกิดกระแสการสนับสนุนส่งเสริมการรวมตัว เป็นกลุ่มออมทรัพย์ กลุ่มพัฒนา พอเพียงต่างๆ
ปี 2542 ผมถูกอาจารย์หมอประเวศดึงตัวมาจากพิษณุโลกมาอยู่ที่นี่ มาดูแลมูลนิธิชุมชนท้องถิ่น
พัฒนาให้ท่าน ในตอนนี้ท่านบอกว่า สิ่งที่จำเป็นต้องทำ คือ ทำอย่างไรให้แปดหมื่นหมู่บ้านหายจน
ให้ได้ อันนี้เป็นภารกิจที่หมอพลเดชต้องทำ โดยที่ไม่มีอำนาจอะไรเลย ตอนนั้นผมรวบรวมข้อมูล
มีการรวมกลุ่มกันขององค์กรชุมชนต่างๆทั้งหมดประมาน 42,000 กลุ่ม องค์กรในนั้นมีองค์กร
ที่เข้มแข็งประมาน 13% แต่ 87% ถือว่าอ่อนแอและเสี่ยงที่จะไม่รอด วันนี้ เมื่อปีที่แล้วผมได้
รวบรวมข้อมูลอีกครั้งให้สมัชชาสุขภาพแห่งชาติ เขาจัดงานในเรื่องยุทธศาสตร์ชุมชนเข้มแข็ง
พบว่าฐานข้อมูลของหน่วยงานทั้งหมดประมาณ 15-16 หน่วยงานมีองค์กรชุมชน การรวมตัวแบบ
นี้ประมาณ 23 ประเภท มีประมาณ 310,000 องค์กร จากเดิม 42,000 แล้วแต่ละหน่วยงาน
ที่เป็นแม่ข่ายในทุกด้านเขามีการประเมินของเขา พบว่า มีความเข้มแข็งประมาณ 30% จะเห็นว่า
คุณูปการตรงนี้เป็น exercise ที่การเมืองภาคพลเมืองที่เกิดจากฐานข้างล่าง ทั้งเรื่องทรัพยากร
การประชุมกลุ่มย่อยที่ 5 จะถูกครอบงำยากขึ้น แต่ไม่รวดเร็วอย่างที่คิดต้องใช้เวลา นึกไปถึงอีก 20 ปีข้างหน้า ภาพคง
การจัดการตนเอง ทั้งเศรษฐกิจ ยิ่งทำยิ่งเข้มแข็งและจัดการตนเองได้ ยิ่งมีความภาคภูมิใจ ตรงนี้
ไม่ใช่อย่างนี้ ถ้าเราเดินทางถูก ต้องฝากรัฐธรรมนูญฉบับนี้ต้องคงในทิศทางเดิมนี้ต่อไป ถ้าไป
ทิศทางนี้การเมืองภาคพลเมืองจะได้ดุลกับการเมืองตัวแทนมากขึ้นอย่างที่เราเห็น ถ้าเดินอย่างนี้