Page 451 - kpi17073
P. 451

450     การประชุมวิชาการ
                   สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 16


                  ดุลยภาพระหว่างสถาบันการเมือง กับการเมืองภาคพลเมือง



                       แนวทางหนึ่งของการสร้างดุลยภาพระหว่างสถาบันการเมือง (หรือการเมืองเชิงสถาบัน) กับ
                  การเมืองภาคพลเมือง คือ การจัดปรับความสัมพันธ์ทางอำนาจ การจัดปรับบทบาทและหน้าที่ของ

                  ตัวกระทำทางการเมือง (Political Actors) ที่อยู่ในสถาบันการเมืองและตัวแสดงทางเมืองในภาค
                  พลเมือง ภายใต้บริบทสภาพแวดล้อมทางการเมืองและทางสังคมที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก โดย
                  ผ่านทางการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ที่กำลังเกิดขึ้นในช่วงปี 2557 -2558 นี้ (โปรดดูรูปที่ 1)













































                  ที่มา : การประชุมจัดทำรัฐธรรมนูญประชาชน วันที่ 22 สิงหาคม 2557  สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน และ วันที่
                  22 กันยายน 2557 คณะกรรมการปฏิรูปกฎหมาย


                       จากรูปที่ 1 “การปฏิรูปการเมืองเชิงสถาบัน” มีขอบเขตครอบคลุมตั้งแต่ เรื่องการ
                  ออกแบบสถาบันทางการเมือง (ระบบรัฐสภา พรรคการเมือง) เรื่องระบบ กติกาและกลไกการ
                  เลือกตั้ง ทั้งในระดับชาติและระดับท้องถิ่น ซึ่งเป็นการเข้าสู่อำนาจทางการเมืองในระบอบ

                  ประชาธิปไตย เรื่องการปฏิรูประบบ กลไก และกระบวนการใช้อำนาจทางการเมือง ผ่านช่องทาง/
                  กลไกการใช้อำนาจต่างๆ ทั้งโดยคณะรัฐมนตรี คณะกรรมการแห่งชาติต่างๆ (เช่น
        การประชุมกลุ่มย่อยที่ 5   คณะกรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติ คณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ คณะกรรมการ


                  นโยบายเศรษฐกิจระหว่างประเทศ คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ฯลฯ) เพื่อกำกับ ควบคุม
                  ให้มีการใช้อำนาจอย่างเป็นธรรม เป็นไปตามกรอบรัฐธรรมนูญและหลักนิติรัฐ นิติธรรม ในเรื่องนี้
   446   447   448   449   450   451   452   453   454   455   456