Page 453 - kpi17073
P. 453

452     การประชุมวิชาการ
                   สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 16


                       1.  ด้านการกำกับควบคุมการใช้อำนาจ การใช้อำนาจอธิปไตยที่เกี่ยวโยงกับเรื่อง
                  สิ่งแวดล้อมมีทั้งในด้านอำนาจบริหาร นิติบัญญัติ และตุลาการ ซึ่งมีประเด็นที่ต้องปฏิรูปทั้งสิ้น


                         การใช้อำนาจด้านบริหารผ่านกลไกคณะรัฐมนตรี และคณะกรรมการระดับชาติต่างๆ
                  เช่น คณะกรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติ คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ คณะกรรมการ

                  ประมงแห่งชาติ เป็นต้น  มีประเด็นต้องปฎิรูปทั้งในแง่ความทับซ้อนของผลประโยชน์
                  องค์ประกอบของคณะกรรมการที่ส่วนใหญ่เป็นตัวแทนฝ่ายการเมืองและหน่วยงานของรัฐ

                  กระบวนการพิจารณาที่ขาดธรรมาภิบาล (ความโปร่งใส การมีส่วนร่วม ความพร้อมรับผิดชอบ
                  ฯลฯ) การใช้เครื่องมือประกอบการตัดสินใจที่เน้นเป้าหมายด้านเศรษฐกิจเป็นหลัก การใช้รายงาน
                                                                              1
                  การวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ (EIA/ EHIA)  เป็นเครื่องมือและกลไกสร้าง
                  ความชอบธรรมในการตัดสินใจ แต่ระบบและโครงสร้าง EIA ที่เป็นอยู่ขาดความเชื่อถือและ
                  ยอมรับจากภาคประชาชน  จึงเป็นเหตุที่มาของความขัดแย้งระหว่างรัฐกับประชาชนในหลายกรณี

                  เช่น กรณีเขื่อนแม่วงก์กรณี โครงการน้ำ 3.5 แสนล้าน กรณีท่าเรือน้ำลึกปากบรา เป็นต้น

                         การใช้อำนาจด้านนิติเพื่อการปรับปรุงหรือตรากฎหมาย ในปัจจุบันมีกฎหมายด้าน

                  ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจำนวนมากที่มีเนื้อหาไม่สอดคล้องหรือขัดแย้งกับบทบัญญัติ
                  ในรัฐธรรมนูญ ในขณะที่ทางฝ่ายชุมชน องค์กรพัฒนาเอกชน นักวิชาการ ยึดถือบทบัญญัติตาม

                  รัฐธรรมนูญในมาตราต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการรับรองสิทธิชุมชน สิทธิของประชาชน การมีส่วน
                  ร่วมในการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เช่น มาตรา 56 มาตรา 66
                  มาตรา 67 วรรคสองในรัฐธรรมนูญฉบับปี 2550 ฯลฯ ทางฝ่ายหน่วยงานของรัฐยังยึดถือ

                  กฎหมายระดับพระราชบัญญัติที่ให้อำนาจหน่วยงานในการปฏิบัติหน้าที่ จึงเป็นสาเหตุสำคัญ
                  ประการหนึ่งที่ทำให้เกิดข้อพิพาท การฟ้องร้องคดีด้านสิ่งแวดล้อมเป็นจำนวนมากเกิดขึ้นในทุก

                  ภูมิภาค ในขณะที่กระบวนการปรับแก้ไขกฎหมายที่เป็นอยู่ มีความล่าช้าอย่างมาก มีความ
                  พยายามเร่งรัดโดยการเข้าชื่อเสนอกฎหมายโดยภาคประชาชนหลายฉบับ เช่น กฎหมายป่าชุมชน
                  กฎหมายที่ดิน กฎหมายองค์การอิสระด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ ฯลฯ แต่กระบวนการ

                  นิติบัญญัติตั้งแต่ในขั้นการตรวจของคณะกรรมการกฤษฎีกา ไปจนถึงขั้นการพิจารณาในรัฐสภา
                  สามารถถูกกำกับหรือแทรกแซงโดยฝ่ายบริหารได้


                         สำหรับในด้านกระบวนการยุติธรรมด้านสิ่งแวดล้อม มีหลายเรื่องที่ต้องเร่งปฏิรูปเช่นกัน
                  เช่น ความล่าช้าในกระบวนการพิจารณาทำให้ความเสียหายด้านสิ่งแวดล้อมมีต้นทุนสูงขึ้นหรือ

                  ยากที่จะแก้ไขเยียวยา ความไม่เท่าเทียมของคู่ขัดแย้งในการต่อสู้โต้แย้งด้านข้อมูลหรือหลักฐาน
                  ระหว่างชาวบ้านกับธุรกิจขนาดใหญ่ การคิดต้นทุนความเสียหายต่อสิ่งแวดล้อมและการชดเชย

                  เยียวยาต่อประชาชนอย่างเป็นธรรม ฯลฯ


                       2.  ด้านการตรวจสอบการใช้อำนาจ เป็นการปฏิรูปเพื่อให้กระบวนการและกลไกการ
        การประชุมกลุ่มย่อยที่ 5   ตรวจสอบการใช้อำนาจของรัฐทั้งโดยองค์กรอิสระที่เกี่ยวข้องกับเรื่องสิ่งแวดล้อม เช่น





                     1
                        ปาริชาต ศิวะรักษ์ , 2545 EIA สำรวจสถานภาพ ปัญหาและทางออก. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย
                  (สกว.)
   448   449   450   451   452   453   454   455   456   457   458