Page 452 - kpi17073
P. 452
การประชุมวิชาการ
สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 16 451
รวมถึงมิติการกระจายอำนาจ และการใช้อำนาจอธิปไตยทางตรงของประชาชน (เช่น การเข้าชื่อ
เสนอกฎหมายของประชาชน การออกเสียงประชามติต่อการกำหนดนโยบายสาธารณะ การมี
ส่วนร่วมกำหนดและตัดสินใจนโยบายสาธารณะ ฯลฯ) รวมทั้งเรื่องการติดตามตรวจสอบการใช้
อำนาจ โดยองค์กรอิสระต่างๆ และโดยภาคประชาชน
ในด้าน “การเมืองภาคพลเมือง“ กรอบกติกาหลักในรัฐธรรมนูญที่เป็นฐานรองรับในเรื่องนี้
จะอยู่ในหมวดด้าน “สิทธิและเสรีภาพของประชาชน” รวมถึงข้อบัญญัติต่างๆ ในหมวดด้าน
“แนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ” จะเห็นได้อย่างชัดเจนว่า พลเมืองและชุมชนที่ตื่นตัว ได้ยึดถือ
บทบัญญัติในมาตราต่างๆ ภายใต้หมวดสิทธิและเสรีภาพของประชาชนและหมวดแนวนโยบาย
พื้นฐานแห่งรัฐที่อยู่รัฐธรรรมนูญฉบับปี 2540 ต่อเนื่องมาถึงฉบับปี 2550 เป็นกรอบและ
เครื่องมือสำคัญในการสร้างปฏิบัติการทางสังคมระดับต่างๆ ทำให้การเมืองภาคพลเมืองเกิดขึ้น
จริงอย่างเป็นรูปธรรมในทางปฏิบัติ อย่างไรก็ดี จากประสบการณ์ของการเมืองภาคพลเมือง
ที่ผ่านมาในช่วงการใช้บังคับรัฐธรรมนูญฉบับปี 2540 และปี 2550 มีบทบัญญัติหลายมาตรา
ที่จำเป็นต้องปรับแก้ไข และเพิ่มเติม เพื่อแก้ไขปัญหาการใช้บังคับ ปัญหาในการตีความ และ
รองรับแนวคิดใหม่ๆ ที่ก้าวหน้า เช่น สิทธิในการพัฒนาที่ยั่งยืน สิทธิในสิ่งแวดล้อมที่ดี (Right to
Healthy Environment) และส่งเสริมให้การเมืองภาคพลเมืองเข็มแข็งและมีความก้าวหน้าอย่าง
สร้างสรรค์มากขึ้น
ปมปัญหาสำคัญและยุ่งยากในเรื่องนี้อยู่ตรงที่การจัดสรรอำนาจ และการออกแบบกติกาให้
เกิดระบบและกลไกที่จะทำให้การใช้อำนาจทางการเมืองเชิงสถาบันเป็นไปตามกรอบแนวนโยบาย
พื้นฐานแห่งรัฐ ลดหรือไม่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อสิทธิและเสรีภาพของประชาชน เกิดการปะทะ
ขัดแย้งระหว่างการเมืองเชิงสถาบันกับการเมืองภาคพลเมืองเหมือนเช่นที่ผ่านมาในอดีต การจัด
ทำกติกาจัดความสัมพันธ์ทางอำนาจ การจัดปรับบทบาทและหน้าที่ของตัวแสดงทางการเมืองใน
รัฐธรรมนูญฉบับที่ 20 นี้ จึงมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการสร้างดุลยภาพระหว่างการเมืองเชิง
สถาบันกับการเมืองภาคพลเมือง (โปรดดูข้อเสนอในเชิงรูปธรรมในหัวข้อต่อไป)
การสร้างดุลยภาพระหว่างการเมืองสองระบอบในมิติ
“การเมืองเรื่องสิ่งแวดล้อม”
“การเมืองเรื่องสิ่งแวดล้อม” เป็นโจทย์ท้าทายอย่างมากเรื่องหนึ่งของกรอบเนื้อหาปฏิรูป
ประเทศไทยภายใต้กระแสโลกาภิวัตน์ เรื่องสิ่งแวดล้อม (และทรัพยากรธรรมชาติ) เป็นประเด็น
หลักของการปรับแนวคิดและทิศทางการพัฒนาเศรษฐกิจและการพัฒนาประเทศไปสู่เส้นทางการ
พัฒนาที่ยั่งยืน และเป็นประเด็นขัดแย้งสำคัญเรื่องหนึ่งในสังคมไทย
หากมองจากกรอบ “การปฏิรูปการเมือง” ที่ได้กล่าวถึงข้างต้น มีโจทย์การบ้านที่เกี่ยวโยง
กับหัวข้อ “การเมืองเรื่องสิ่งแวดล้อม” อย่างน้อยใน 3 ด้าน ที่จำเป็นต้องผลักดันขับเคลื่อน
กระบวนการปฏิรูปเพื่อการจัดปรับและสร้างดุลยภาพใหม่ระหว่างการเมืองเชิงสถาบันกับการเมือง การประชุมกลุ่มย่อยที่ 5
ภาคพลเมือง