Page 459 - kpi17073
P. 459

458     การประชุมวิชาการ
                   สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 16


                  สังคม จึงเป็นกึ่งระบอบการปกครองภายใต้ระบอบการเมืองการปกครอง (Schimitter, 1992:
                  423 อ้างถึงใน Fioromonti, and Fiori, 2010)


                       ในประเทศไทย นักวิชาการมีมุมมองต่อภาคประชาสังคมหลากหลายไม่น้อยไปกว่าใน
                  ต่างประเทศ เช่น เอนก เหล่าธรรมทัศน์ เห็นว่าภาคประชาสังคมเป็นเรื่องของการร่วมตัวของ

                  ผู้คนทุกกลุ่ม ทุกชนชั้น ที่อยู่บนฐานของความร่วมมือและแสวงหาการมีส่วนร่วมด้วยสำนึกความ
                  เป็นพลเมือง (เอนก เหล่าธรรมทัศน์, 2539) ชูชัย ศุภวงศ์ ให้ความหมายว่า ภาคประชาสังคม

                  คือการที่ผู้คนในสังคมเห็นวิกฤตหรือปัญหาที่ต้องการแก้ไขร่วมกัน มารวมตัวกันเป็นกลุ่มหรือ
                  องค์กร ไม่ว่าจะเป็นภาครัฐ ภาคธุรกิจเอกชน หรือภาคสังคม (ประชาชน) ในลักษณะที่เป็น
                  หุ้นส่วนกัน (Partnership) มีวัตถุประสงค์ร่วมกันซึ่งนำไปสู่การก่อจิตสำนึก (Civic consciousness)

                  เพื่อร่วมกันแก้ปัญหาหรือกระทำการให้บรรลุวัตถุประสงค์ ภายใต้การจัดการแบบเครือข่าย (ชูชัย
                  ศุภวงศ์, 2540) ธีรยุทธ บุญมี เห็นว่า ภาคประชาสังคมนั้นเปรียบเป็นพลังที่สามของสังคมที่มีอยู่

                  กระจัดกระจายในทุกส่วนทุกวิชาชีพ ทุกระดับรายได้ ทุกภูมิภาค ซึ่งธีรยุทธเห็นว่า แนวคิดนี้
                  มีความแตกต่างจากแนวคิด ประชาชนเป็นส่วนใหญ่ หรือ อำนาจของประชาชน ในการเคลื่อนไหว
                  ที่เกิดขึ้นในอดีต (ธีรยุทธ บุญมี, 2536)


                       สำหรับ สีดา สอนศรี ให้ความหมายของภาคประชาสังคมจากสังคมฟิลิปปินส์ประเทศที่

                  ภาคประชาสังคมมีความเข้มแข็งนับร้อยปีไว้อย่างชัดเจนว่า คือ สังคมของประชาชนหรือพลเมือง
                  ที่มีบทบาททางการเมือง บทบาทในการแสดงความคิดเห็นและร่วมกิจกรรมต่างๆ กับรัฐในการ
                  กำหนดนโยบาย สีดา กล่าวว่านับตั้งแต่การได้รับเอกราชจากสเปน ประชาสังคมคือตัวเปลี่ยนแปลง

                  (change agent) เพื่อไปสู่สังคมที่ดีในฟิลิปปินส์ กล่าวคือ สามารถผลักดันรัฐให้ปฏิรูปสถาบันของ
                  รัฐและรับผิดชอบต่อประชาชน และมีบทบาทในการกำหนดนโยบายของประเทศด้วย (สีดา

                  สอนศรี, 2009, น. 1-2)

                       ปลายคริสต์ทศวรรษ 1980 ถึง ต้นคริสต์ทศวรรษ 1990 การเคลื่อนไหวของภาคประชาชน

                  ที่เกิดขึ้นในยุโรป เอเชีย และแอฟริกา ได้ทำให้งานศึกษาการพัฒนาประชาธิปไตยกับภาคประชา
                  สังคมในตะวันตกได้รับความสนใจและกลายเป็นสาระสำคัญต่อการส่งเสริมเสรีภาพทางการเมือง

                  เป็นหนทางสู่การปฏิรูปประชาธิปไตย สนับสนุนการสร้างสถาบันและยกระดับประชาธิปไตย
                  (Diamond, 1992; Ignatiff, 1995; Monshipouri, 1997; Pearce, 1997 อ้างถึงใน Fioromonti,
                  and Fiori, 2010) Lary Diamond กล่าวว่า “สังคมประชาที่มีชีวิตชีวามีความสำคัญยิ่งต่อสร้าง

                  ความเข้มแข็งและคงไว้ซึ่งประชาธิปไตยมากกว่าการเริ่มต้นมีประชาธิปไตย”


                       ภาคประชาสังคมช่วยสร้างการมีส่วนร่วมของประชาชนในการตรวจสอบความรับผิดชอบ
                  ของฝ่ายบริหารและภาครัฐ ช่วยส่งเสริมสมรรถภาพทางการเมืองและเสริมสร้างทักษะความเป็น

                  พลเมืองและทำให้เกิดโครงสร้างและช่องทางที่หลากหลายของการขจัดความขัดแย้ง (Diamond,
        การประชุมกลุ่มย่อยที่ 5   1994: 7 อ้างถึงใน Fioromonti, Lorenzo and Fiori, Antonio. (2010)) Juan Linz และ

                  Alfred Stepan ได้แสดงความเห็นว่าความเข้มแข็งของประชาธิปไตยไม่ได้อยู่ที่พฤติกรรมความ

                  ซื่อสัตย์ของผู้นำ และการบัญญัติรัฐธรรมนูญ หรือการจัดการความขัดแย้งเพียงเท่านั้น แต่สิ่งที่
   454   455   456   457   458   459   460   461   462   463   464