Page 463 - kpi17073
P. 463
462 การประชุมวิชาการ
สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 16
รับความสนใจอีกครั้งมีการรื้อฟื้นกระแสชุมชนนิยมด้วยเหตุผลวิกฤติที่โครงสร้างของรัฐชาติ
ไม่สามารถเข้ามาจัดการได้ ขณะที่ประชาชนโดยปัจเจกก็อ่อนแอเกินไป การรวมตัวเป็นภาค
ประชาสังคมจึงจำเป็นที่ต้องเกิดขึ้น เพื่อเติมเต็มช่องว่างระหว่างรัฐและพลเมือง (เสกสรร
ประเสริฐกุล, 2548) หลังรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2540 กระแสความคิดประชาสังคมจึงมีการพัฒนา
อย่างรวดเร็ว ขณะเดียวกับที่ทางการเมืองพรรคการเมืองมีความเป็นสถาบันมากขึ้น การเลือกตั้ง
ผูกโยงนโยบายพรรคการเมืองเข้ากับความต้องการของประชาชนมากขึ้น ประชาชนเข้ามามี
อำนาจทางการเมืองต่อนักการเมืองที่มาจากการเลือกตั้งมากขึ้น เป็นช่วงเวลาสำคัญต่อการเกิดขึ้น
และยอมรับต่อภาคประชาชน และนับเป็นโอกาสทางการเมืองต่อความชอบธรรมของขบวนการ
เคลื่อนไหวของภาคประชาสังคม รวมทั้งกลุ่มที่เรียกร้องให้แก้ไขปัญหาและการเข้ามีอำนาจต่อรอง
ทางการเมืองของประชาชน โอกาสให้การชุมนุมประท้วง และ การกดดันต่อรองให้แก้ไขปัญหา
ต่างๆ เป็นไปได้มากขึ้น ในที่สุดได้ทำให้การเมืองภาคพลเมืองได้กลายเป็น พลังการเปลี่ยนแปลง
และดุลอำนาจหนึ่งในโครงสร้างทางสังคมการเมืองและนับเป็นการเปลี่ยนแปลงจากอดีตที่นับ
ตั้งแต่การเปลี่ยนแปลงการปกครองที่ประชาชนเจ้าของอำนาจอธิปไตยไม่เคยอยู่ในกระบวนการ
สถาปนาประชาธิปไตยเลย (เสกสรรค์, 2548) 3
“หนทางเดียวที่จะช่วยให้ประเทศไทยไม่ต้องกลับสู่ระบอบอำนาจนิยมกันอีก คือ
การขยายประชาธิปไตยออกไปนอกเวทีแข่งขันของนักการเมือง ทำให้มันมีลักษณะ
เป็นประชาธิปไตยทางตรงยิ่งขึ้นและอาศัยการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนมากขึ้น
4
เพื่อถ่วงดุลของนักการเมืองที่มาจากชนชั้นนำ ” (เสกสรรค์ ประเสริฐกุล, 2548 น.
(8)-(9))
ภาคประชาสังคม กับการสร้างความเป็นพลเมือง
เพื่อเสริมดุลยภาพทางการเมือง
แนวคิดและความหมายของพลเมือง (civic/citizen) หรือความเป็นพลเมือง (citizenship)
มีสาระและคำอธิบายที่แตกต่างกันไปตามทฤษฎีและช่วงเวลาที่เปลี่ยนแปลงไปของกระแสความ
เป็นพลเมือง เพราะความเป็นพลเมืองยังมีการพัฒนาของความคิดและมุมมองไปอย่างไม่หยุดยั้ง
ในศตวรรษที่ 19 ความเป็นพลเมืองผู้ติดกับรัฐชาติ (nation-state) เช่น ในอังกฤษ T.H.
Marshall (1893-1981) กล่าวว่ารัฐและพลเมืองมีความสัมพันธ์กันผ่านสิทธิ และหน้าที่ กล่าวคือ
พลเมืองของรัฐได้รับสิทธิ 3 ประเภทคือสิทธิของพลเมือง (civil rights) สิทธิทางการเมือง
การประชุมกลุ่มย่อยที่ 5 3 4 อ่านเพิ่มเติม ใน เสกสรรค์ ประเสริฐกุล 2548 น. 12-22
(political rights) และสิทธิทางสังคม (Social rights) ขณะที่พลเมืองต้องมีหน้าที่ที่ต้องปฏิบัติต่อ
ในงานดังกล่าวของ เสกสรรค์ ความหมายของการถ่วงดุลอำนาจโดยประชาชน คือ การถ่วงดุลต่ออำนาจกับ
ภาครัฐ ภาคธุรกิจเอกชน และ ถ่วงดุลกลไกตลาดเสรี (ซึ่งเป็นผู้ถืออำนาจอธิปไตยในด้านเศรษฐกิจ)