Page 465 - kpi17073
P. 465
464 การประชุมวิชาการ
สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 16
ความใส่ใจ (new politics of caring) และเศรษฐศาสตร์ใหม่ของการแบ่งปัน (new economics
of sharing) การดำเนินงานของโครงการยึดหลักธรรมาภิบาล โดยใช้ประเด็นการลดความยากจน
และสร้างสวัสดิการสังคมที่ดีเป็นประเด็นขับเคลื่อน ปัจจุบันโครงการขยายไปสู่ประชาสังคมที่
ประสานเครือข่ายระดับชาติ ที่มีภาครัฐทั้งระดับชาติและระดับท้องถิ่น มหาวิทยาลัย องค์กรธุรกิจ
เอกชน และภาคประชาชนเข้าร่วมอย่างกว้างขวาง รวมทั้งได้ขยายพื้นที่ของโครงการไปในประเทศ
ยากจนอื่นๆ อย่าง กัมพูชา อินโดนีเซีย และปาปัวนิวกินี ด้วย
ในงานศึกษาการเคลื่อนไหวของภาคประชาสังคม the Gawad Kalinga Movement
วิเคราะห์ไว้ว่าการปฏิรูปดังกล่าวจะประสบความสำเร็จและยั่งยืนไม่ได้เลย หากไม่มีการปฏิรูปเชิง
สถาบันและมีพลเมืองที่กระตือรือร้น (Brillantes Jr. and Fernandez, 2011) และได้เสนอว่า
การเปลี่ยนแปลงของโลกและการเป็นไปของรัฐภายใต้กระแสโลกที่รัฐไม่มีวันเป็นอิสระได้นั้น
ความเป็นพลเมืองมีความสำคัญต่อรัฐชาติมากกว่าการมีสถาบันทางการเมือง การควบคุม และ
การเมืองของชนชั้นนำ
โครงการ Gawad Kalinga ดังกล่าวได้รับการยอมรับว่าเป็นรูปแบบที่สามารถสร้างกระบวนทัศน์
ของธรรมาภิบาล ให้กับผู้เข้าร่วมโครงการได้เป็นอย่างดี ทั้งค่านิยมต่อความโปร่งใส ตรวจสอบได้
ความรับผิดชอบ การมีส่วนร่วม หลักนิติธรรม ความเสมอภาค และความยุติธรรมทางสังคมและ
เป็นตัวอย่างสำคัญของบทบาทของประชาสังคมในการสร้างดุลอำนาจทางการเมืองโดยมีพลเมืองที่
กระตือรือร้นเป็นองค์ประกอบสำคัญ
งานศึกษาได้สะท้อนให้เห็นว่าภาคประชาสังคมมีส่วนสำคัญในการสร้างพลเมืองให้มีความ
กระตือรือร้นและทำให้เกิดการพัฒนาประชาธิปไตยในทุกๆ ส่วนของสังคม ภาคประชาสังคมจะ
เป็นพลังทำให้พลเมืองสามารถเรียกร้องความรับผิดชอบจากรัฐ ยืนหยัดต่อต้านการละเมิดของรัฐ
และส่งเสริมการใช้สิทธิของพลเมือง สิทธิอันชอบธรรมในการเข้ามีส่วนทางการเมืองและในการดึง
อำนาจกลับคืนจากรัฐและชนชั้นนำได้ (Cohan and Arato, 1992 อ้างใน Brillantes Jr. and
Fernandez, 2011, p.21) งานดังกล่าวยังเสนออีกว่า หลักการ “สิทธิ” จะต้องเป็นยึดเป็นหลัก
พื้นฐานในการยืนหยัดอ้างอำนาจอธิปไตย รวมทั้งปกป้องและสิทธิต่างๆ จากรัฐ (Hassal, 1999
อ้างใน Brillantes Jr. and Fernandez, 2011, p.21-22) ซึ่งสอดคล้องกับ เสกสรรค์ ประเสริฐกุล
(2548) ที่กล่าวว่า นอกจากความสัมพันธ์เชิงอำนาจแล้ว กระแสโลกาภิวัตน์ของระบบทุนนิยม
โลกที่รุกเข้ามาให้รัฐไทย ได้ทำให้ประเทศไทยนั้นเปลี่ยนแปลงไป ยิ่งต้องมีพื้นที่ให้กับ
ปวงประชาชนที่จำใช้อำนาจอธิปไตยในการกำหนดหรือผลักดันนโยบายสำคัญๆ ของประเทศของ
ตนเอง
ในประเทศไทย ประภาส ปิ่นตบแต่ง (2552) ได้รวบรวมบทบาทของประชาชนในภาค
ประชาสังคมในการถ่วงดุลอำนาจรัฐผ่านการเคลื่อนไหวทางการเมืองภาคพลเมืองในช่วงเวลาทั้ง
การประชุมกลุ่มย่อยที่ 5 ก่อนและหลังรัฐธรรมนูญ ปี 2540 ไว้ โดยจัดกลุ่มจำแนกตามประเด็นการเคลื่อนไหวไว้ ดังนี้
1. การตรวจสอบติดตามการทำงานของรัฐหรือนโยบายรัฐ และเรียกคืนความรับผิดชอบ
ของรัฐต่อเสียงของประชาชน ภาคประชาสังคมใช้การบอกกล่าวปัญหาประสบอยู่ หรือสิ่งที่