Page 466 - kpi17073
P. 466
การประชุมวิชาการ
สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 16 465
ต้องการให้มีการป้องกันและพัฒนาต่อรัฐด้วยการยื่นข้อร้องเรียน การเคลื่อนไหวในพื้นที่
สาธารณะ การชุมนุมประท้วง การปิดถนน เช่น ขบวนการเคลื่อนไหวของคนจน คนด้อยอำนาจ
ด้อยโอกาสกลุ่ม/ขบวนการของคนจน คนชายขอบที่ถูกรุกรานด้านฐานทรัพยากรขบวนการ
เคลื่อนไหวของคนจนในเมือง
2. เสนอปัญหาที่รัฐละเลยไม่ใส่ใจในการแก้ไข เช่น การนำเสนอปัญหาการเข้าถึงปัจจัย
การผลิต ปัญหาการเข้าถึงปัจจัยพื้นฐานการดำรงชีพและสวัสดิการ (ที่อยู่อาศัย ที่ดิน
สาธารณูปโภค) ปัญหาผู้สูงอายุ และผู้พิการ ปัญหาค่าจ้าง/สวัสดิการจากการทำงาน เช่น
ขบวนการแรงงาน เครือข่ายสลัม และชุมชนแออัด
3. เสนอแนวทางการบริหารจัดการโดยประชาชนเองผ่านการเสนอกฎหมาย หรือ
เสนอนโยบาย และการแสดงออกซึ่งความประสงค์ของประชาชนต่อการบริหารจัดการ
บ้านเมือง โดยการทำให้ประเด็นการรากเหง้าปัญหาและความขัดแย้งทางสังคมความเป็นธรรม
ทางสังคมได้มีการบอกกล่าวต่อสังคมและรวมกันเสนอกฎหมายหรือนโยบาย เช่น ประเด็น
การเข้าถึง/การกระจายทรัพยากรด้านการผลิต ปัญหาการรุกรานฐานทรัพยากรจากรัฐและทุน
ในการพัฒนาอุตสาหกรรม ปัญหาความเหลื่อมล้ำและความเป็นธรรมทางสังคม ปัญหา
ประชาธิปไตยและกระบวนการจรรโลงประชาธิปไตย ขบวนการเคลื่อนไหวด้านสิ่งแวดล้อม
ขบวนการต่อต้านโลกาภิวัตน์ ขบวนการต่อต้านกระแสเสรีนิยมใหม่ และ การค้าเสรีรวมไปถึงการ
ขับเคลื่อนเพื่อผลักดันกฎหมายที่เสนอโดยภาคประชาชนตามรัฐธรรมนูญ
4. การสร้างการเมืองที่โปร่งใส ตรวจสอบได้ เช่น กลุ่มศึกษาข้อตกลงเขตการค้าเสรีภาค
ประชาชน (FTA Watch) การคัดค้านข้อตกลงทางการค้า กลุ่มตรวจสอบผลประโยชน์ของชาติ
จากการรุกรานของบรรษัทข้ามชาติ เครือข่ายต่อต้านการทุจริต-คอรับชัน
5. การสร้างและขยายประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วม และประชาธิปไตยแบบปรึกษาหารือ
เช่น ขบวนการเคลื่อนไหวในมิติเกี่ยวกับประชาธิปไตยอย่างคณะกรรมการรณรงค์เพื่อประชาธิปไตย
8
(ครป.) เครือข่ายผู้หญิงกับรัฐธรรมนูญ กลุ่มติดตามการปฏิรูปการเมือง
จะเห็นว่าภาคประชาสังคมที่เข้มแข็งจะมีพลังสร้างดุลยภาพได้ทั้งเศรษฐกิจ การเมือง และ
สังคม รวมทั้งเป็นกลไกทางสังคมขัดเกลาและสร้างความเป็นพลเมืองได้เป็นอย่างดี ตัวอย่างจาก
โครงการ GK ทำให้เห็นด้วยว่าพลเมืองที่มีความกระตือรือร้นในการแก้ไขปัญหาของส่วนร่วม
ก็สามารถสร้างประชาสังคมที่เข้มแข็งได้เช่นเดียวกัน ซึ่งแสดงถึงความสัมพันธ์ที่แยกจากกันไม่ได้
8 คณะกรรมการรณรงค์เพื่อประชาธิปไตย (ครป.) (Campaign for Popular Democracy-CPD) เป็นองค์กร
พัฒนาเอกชน (NGO) ด้านประชาธิปไตยและสิทธิมนุษยชนที่ก่อตั้งขึ้นเมื่อเดือน กันยายน 2523 มีวัตถุประสงค์หลัก
เพื่อรณรงค์ให้มีการแก้ไข รัฐธรรมนูญฉบับปี พ.ศ. 2521 ให้เป็นประชาธิปไตย ซึ่งได้ยุติบทบาทลงเมื่อปี พ.ศ.
2526 แต่เมื่อเกิดรัฐประหารโดยคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ (รสช.) ขึ้นเมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ.
2534 องค์กรสิทธิมนุษยชนองค์กรพัฒนาเอกชน นักวิชาการ และนักศึกษาจึงได้กลับมารวมตัวรื้อฟื้น ครป. ขึ้นมา การประชุมกลุ่มย่อยที่ 5
อีกครั้งหนึ่ง โดยมีเป้าหมายสำคัญ คือการติดตามและรณรงค์เพื่อให้รัฐธรรมนูญฉบับปี พ.ศ. 2534 เป็น
ประชาธิปไตย