Page 464 - kpi17073
P. 464
การประชุมวิชาการ
สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 16 463
รัฐ เช่น การเสียภาษี และการเป็นทหารในยามศึกสงคราม แนวคิดเป็นความเข้าใจต่อพลเมือง
ในฐานะสมาชิกในสังคมการเมืองที่มีสิทธิ และหน้าที่ในฐานะสมาชิกของสังคมการเมืองนั้นๆ 5
อย่างไรก็ตาม พัฒนาการทางความคิดเรื่องสิทธิมนุษยชน สิทธิพลเมือง ความเท่าเทียม และ
ประชาธิปไตย หลังปฏิวัติฝรั่งเศส และสงครามโลกทั้งสองครั้งได้ทำให้ประชาชนมีความคิด
เสรีนิยมมากขึ้นและเข้าร่วมในระบบการเมืองฐานะผู้ใช้สิทธิเลือกตั้ง และมีส่วนร่วมทางการเมือง
ตั้งแต่การไปเลือกตั้ง การติดตามข้อมูลข่าวสาร การรวมกลุ่มเป็นประชาสังคม ไปจนถึงการ
เคลื่อนไหวทางการเมือง ซึ่งเป็นการขยายพื้นที่ของความเป็นพลเมืองไปไกลกว่าการเป็นสมาชิกใน
รัฐที่มีนัยทางการกฎหมาย และขอบเขตรัฐชาติ โดยเฉพาะในคริสต์ศตวรรษที่ 20 – 21 ที่โลก
เช่น มุมมองทางวัฒนธรรมพลเมืองมีความหมายถึงบุคคลที่มีอัตลักษณ์ร่วมเฉพาะกลุ่ม เฉพาะ
ชนชาติ ที่ไม่ยึดติดกับพื้นที่กล่าวคือในขณะที่ตัวตนอาจเป็นของพื้นที่หนึ่งแต่อัตลักษณ์เป็นของ
พื้นที่หนึ่งซึ่งเรียกว่าพลเมืองที่ยืดหยุ่น (Flexible citizen) ยังไม่รวมถึง แนวคิดความเป็นพลเมือง
6
โลก - Global citizenship ในฐานะบุคคลที่มียึดมั่นในความยุติธรรม ความหลากหลาย และใส่ใจ
สิ่งแวดล้อม ซึ่งมีการกล่าวถึงกันมากขึ้นนับตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 21 เป็นต้นมา
จากนิยามความหมายพอสังเขปของความเป็นพลเมืองดังกล่าว หากประชาสังคมจะสร้าง
ดุลอำนาจทางการเมืองได้พลเมืองในประชาสังคมนั้นต้องมีศักยภาพสามารถเป็นผู้กระทำการ
ทางการเมืองและมีพลังในการดุลอำนาจทางการเมืองได้ ต้องเป็นพลเมืองที่ต้องมีส่วนร่วม
เห็นประเด็นของสิทธิ เสรีภาพ และหลักการประชาธิปไตย เป็นสำคัญ และในกระแสโลกที่รัฐ
ไม่สามารถเป็นอิสระได้นั้น พลเมืองต้องไปไกลกว่าระดับชุมชน การสร้างและพัฒนาพลเมือง
ที่กระตือรือร้น โดยทั่วไปที่มักทำผ่านโครงการชุมชนที่ใส่ใจแต่ในระดับชุมชนนั้นจะต้องยกระดับ
ไปสู่วาระของรัฐ สังคม หรือระดับโลก ซึ่งจะนำพลเมืองไปสู่การตรวจสอบความรับผิดชอบของ
รัฐบาลที่ต้องมีต่อพลเมืองได้อย่างครอบคลุมขึ้น
ในที่นี้ขอตัวอย่างการสร้างประชาสังคมที่ดุลอำนาจทางเศรษฐกิจ สังคม และการเมืองใน
ประเทศฟิลิปปินส์ คือ โครงการ GK หรือ Gawad Kalinga ที่เกิดขึ้นในปี 1994 (พ.ศ. 2537)
โดยภาคประชาสังคมที่มีความตั้งใจง่ายๆ ว่าจะให้ความใส่ใจและไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง (a simple
desire to give care and leave no one behind) ด้วยแรงบันดาลใจที่ต้องการแก้ไขปัญหาความ
ยากจนและปัญหาที่อยู่อาศัยของเพื่อนร่วมชาติในชุมชนแออัดกลางกรุงมะนิลาของ Tony Meloto
ที่เขาคิดว่าการที่ประเทศมีความยากจนนั้นเป็นเพราะการละทิ้งคนยากจนไว้ข้างหลัง โครงการเริ่ม
ต้นด้วยการทำงานแบบอาสาสมัครจนขับเคลื่อนเป็นโครงการ To give Care (Gawad Kalingka)
และเป็นมูลนิธิในปี 2003 (พ.ศ.2546) การขับเคลื่อนเป็นการนำผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในการปฏิรูป
7
คุณภาพสังคมที่รัฐไม่สามารถรับผิดชอบได้เต็มที่เข้ามามีส่วนในกระบวนการทั้งภาครัฐ ภาคธุรกิจ
และภาคประชาสังคม โครงการได้ชื่อว่าเป็นตัวแบบของการพัฒนาที่ส่งเสริม การเมืองใหม่ของ
5 Standford Encyclopedia of Philosophy, Citizenship. Retrieved Aug 5, 2014
6 อ่านเพิ่มเติมใน Flexible Citizenship: The Cultural Logics of Tran-nationality , 1999 ของ Aiwa Ong การประชุมกลุ่มย่อยที่ 5
7 GawadKalinga Community Development Foundation, Inc. / โครงการ (GK) Gawad Kilinga : Building
Community to End Poverty. Retrieved Aug 5, 2014 from http://www.gk1world.com/home