Page 460 - kpi17073
P. 460
การประชุมวิชาการ
สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 16 459
ประชาธิปไตยต้องการคือ การสนับสนุนทางทัศนคติของพลเมืองเสียงข้างมากต่อกระบวนการและ
ค่านิยมประชาธิปไตยซึ่งแสดงออกผ่านพื้นที่ภาคประชาสังคม และสิ่งที่ประชาสังคมสามารถ
ส่งเสริมให้เกิดขึ้นได้อย่าง การมีส่วนร่วมของพลเมือง การมีสำนึกรับผิดชอบต่อสาธารณะ
การประนีประนอมผลประโยชน์ ซึ่งเป็นการเปลี่ยนประชาธิปไตยที่เป็นสถาบันเป็นประชาธิปไตย
ในวิถีชีวิต และเป็นเหมือนๆ กันทั้งในระดับผู้นำและระดับพลเมือง (Linz and Stepan 1996;
1997 อ้างถึงใน Fioromonti, Lorenzo and Fiori, Antonio. (2010) p.88)
เสรี พงศ์พิศ และศรีสุวรรณ ควรขจร นักพัฒนาและเคลื่อนไหวทางสังคมรุ่นแรกๆ ของไทย
ได้กล่าวถึงภาคประชาสังคมในมุมมองของ NGO ด้วยมีทัศนะว่าองค์กรพัฒนาเอกชนเป็น
ขบวนการก่อเกิดของประชาสังคม และมีส่วนช่วยพัฒนาประชาธิปไตยโดยทำให้เกิดองค์กร
ชาวบ้านที่เติบโตได้และมีเครือข่ายเพื่อทำให้ชาวบ้านได้ยกระดับสถานภาพทางการเมืองในการ
ลุกขึ้นท้าทาย สร้างการเปลี่ยนแปลงในระดับรัฐ ผลักดันกระบวนการตัดสินใจแบบกระจาย
ศูนย์ การรับฟังความเห็น การประชาพิจารณ์ ทำให้สังคมเข้าใจเรื่องสิทธิ และทำให้สังคมมีการ
ตรวจสอบและมีอำนาจในการต่อรอง (สังศิต พิริยะรังสรรค์, 2539)
การสร้างความเป็นตัวตน ขบวนการประชาสังคมจะสร้างพลังและความเป็นตัวตนของบุคคล
ได้ต้องมองผ่านกระบวนการที่พัฒนาขึ้นที่ละน้อย การพัฒนาของประชาชนส่วนหนึ่งอยู่ใน
ขบวนการพัฒนาและอยู่บนถนนเป็นรายๆ เรื่องๆ ไปเสรี ได้เล่าให้ฟังว่า ประชาชนเป็นผู้ริเริ่มและ
นำเสนอในการสัมมนาที่รัฐเป็นองค์กรสนับสนุนว่าตนต้องการสิ่งใด และไม่ต้องการต่อต้านแต่
ต้องการต่อรอง ต่อรองเรื่องอำนาจ อำนาจที่ไม่ใช่ของรัฐคนเดียว แต่ของประชาชนด้วย
ทรัพยากรก็ไม่ใช่ของรัฐหรือของใครคนเดียวแต่เป็นของประชาชนทุกคน และต้องต่อรอง ดังนั้น
สิ่งสำคัญของประชาสังคมคือการสร้างรากฐานที่ยั่งยืนร่วมกับเรียกร้องสิทธิอันชอบธรรม ดังนั้น
ขบวนการภาคประชาสังคมที่เข้มแข็งจะสร้างความสมดุลให้เกิดระหว่างอำนาจของประชาชน
อำนาจรัฐ และอำนาจทุน (สังศิต พิริยะรังสรรค์, 2539, น. 191) มุมมองดังกล่าวแสดงชัดเจน
ต่อความสำคัญของการสร้างประชาชนให้เข้มแข็งจึงทำให้เกิดประชาสังคมที่เข้มแข็งได้
ภาคประชาสังคม กับการเมืองภาคพลเมือง
กระแสการพัฒนาที่เข้ามาในประเทศพร้อมกับบทบาทที่เพิ่มขึ้นขององค์กรพัฒนาเอกชน
ที่ทำงานเพื่อพัฒนาสังคมในต้นพุทธศตวรรษที่ 2500 ได้พัฒนา 3 แนวคิดสำคัญในการพัฒนา
สังคม คือ แนวคิดวัฒนธรรมชุมชน ที่มีฐานความเข้าใจเกี่ยวกับการพัฒนาที่แท้จริงคือการสร้าง
คนที่มีคุณค่า และสร้างหลักประกัน ความมั่นคง ความก้าวหน้าของคนในสังคมด้วย ซึ่งเป็น
แนวคิดเริ่มต้นของการพัฒนาสังคมในกลุ่มนักพัฒนาและนักวิชาการในรุ่นแรกๆ กลุ่มแนวคิด
พุทธศาสนา-สันติวิธี ที่พยายามเสนอตัวเป็นทางเลือกของฝ่ายซ้ายและฝ่ายขวาทางอุดมการณ์ใน
การเปลี่ยนแปลงสังคม และใช้หลักพุทธศาสนากับการพัฒนา และกลุ่มนักศึกษาและกระแส
แนวคิดประชาธิปไตย ซึ่งเป็นกลุ่มที่เป็นที่มีกลุ่มกระแสอื่นเข้ามาร่วม ทั้งปัญญาชน นักวิชาการ
นักศึกษา สื่อมวลชน เป็นกลุ่มที่มีความกระตือรือร้นในการเคลื่อนไหว การประชุมกลุ่มย่อยที่ 5