Page 461 - kpi17073
P. 461

460     การประชุมวิชาการ
                   สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 16


                       หลังการล่มสลายของพรรคคอมมิวนิสต์และการคลายตัวของกระแสแนวคิดมาร์กซิส เป็น
                  ช่วงเวลาที่ทุนนิยมเสรีและประชาธิปไตยกลายเป็นกระแสความคิดสำคัญของโลกและนำไปสู่

                  กระแสความคิดประชาสังคม (civil society) ขณะที่ความเปลี่ยนแปลงของสังคมไทยมีมาอย่าง
                  ต่อเนื่องทั้งทางด้านเศรษฐกิจที่ผู้คนพึ่งพาระบบเศรษฐกิจนอกภาคการเกษตรมากขึ้น การเติบโต
                  ของภาคอุตสาหกรรม ปัญหาด้านการส่งออกที่ผลผลิตทางการเกษตรมีมูลค่าการส่งออกน้อยกว่า

                  ภาคอุตสาหกรรม การเกิดคนชั้นกลางทั้งในเมืองและชนบท ระบบราชการส่วนกลางและส่วน
                  ภูมิภาคไม่สามารถสนองตอบความเปลี่ยนแปลงได้ ไม่สามารถให้บริการประชาชนได้อย่างทั่วถึง

                  กระแสความคิดประชาสังคม (civil society) ในประเทศไทยเองก่อเกิดขึ้นเป็นกลุ่มประชาสังคม
                  ที่มีฐานจาก 3 แนวคิดสำคัญนั้น (อุเชนทร์ เชียงแสน, 2556, น. 120-121) ดังนี้


                       1.  ประชาสังคมแบบชุมชนนิยม หรือ การสร้างความเข้มแข็งจากคนชั้นล่าง กลุ่มนี้
                  มีอิทธิพลจากความคิดวัฒนธรรมชุมชนและการพึ่งตนเองของประชาชน จึงเชื่อว่าการเปลี่ยนแปลง

                  สังคมการเมืองจะขึ้นอยู่กับประชาชนเองมากกว่าการปฏิรูปโครงสร้างทางการเมืองในระดับชาติ
                  ทำให้ไม่ต้องการยุ่งเกี่ยวกับการเมือง แนวคิดนี้เป็นที่นิยมและใช้อธิบายประชาสังคมในช่วงก่อน
                  รัฐธรรมนูญ ฉบับปี 2540


                       2.  ประชาสังคมแบบเบญจภาคี-ประชาคม และประชารัฐ หรือการเมืองของความร่วมมือ

                  กลุ่มนี้เชื่อว่า การผลักดันการแก้ไขปัญหาต่างๆ ทั้งในระดับชาติและท้องถิ่นนั้น สามารถที่จะทำได้
                  และจำเป็นต้องทำผ่านความร่วมมือของทุกส่วนในสังคม รวมทั้งรัฐซึ่งมีอำนาจและทรัพยากร
                  จึงเน้นการเมืองของความสมานฉันท์มากกว่าความขัดแย้งเผชิญหน้าที่จะเป็นการทำลายตัวเอง

                  หรือพลังในการสร้างสรรค์ การขับเคลื่อนเพื่อการเปลี่ยนแปลงของกลุ่มนี้จึงเป็นการทำเวที
                  แลกเปลี่ยนเรียนรู้กับทุกๆ ภาคส่วน งานศึกษาและบทความวิชาการที่สนับสนุนแนวคิดดังกล่าว

                  เกิดขึ้นเป็นอย่างมากในช่วงเวลาหลังรัฐธรรมนูญ ฉบับปี 2540 และมักรวมเอาแนวคิดประชา-
                  สังคมเข้มแข็งแบบชุมชนนิยมไว้ร่วมด้วยเสมอ


                       3.  ประชาสังคมแบบขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคม หรือการระดมพลังของรากหญ้า
                  เป็นกลุ่มที่ให้ความสำคัญกับการรวมตัวในรูปของขบวนการทางสังคมทุกชนิดที่ให้ความสำคัญกับ

                  การรวมกลุ่มจัดตั้งของประชาชน และเชื่อว่าอำนาจของประชาชนจะได้มาจากการเคลื่อนไหว
                  กดดันจากเบื้องล่าง เน้นการวิพากษ์วิจารณ์นโยบายของรัฐ การตรวจสอบการใช้อำนาจของรัฐโดย
                  การสร้างพลังการเคลื่อนไหวจากภายนอกระบบ มีรูปแบบการต่อสู้ที่สำคัญคือการกระทำทางตรง

                  (direct action) เพื่อท้าทายขัดขวางระบบการเมืองปกติ  2


                       4.  ประชาสังคมแบบเสรีนิยม-สมาคมของชนชั้นกลาง (เอนก เหล่าธรรมทัศน์, 2539,
                  2541, 2543) เป็นกลุ่มที่เห็นว่าประชาสังคมเกิดขึ้นในสมัยใหม่ในพื้นที่ที่มีความเป็นเมืองสูง

                  ผู้คนมีอิสระและมีความเป็นปัจเจกสูงในแบบเสรีนิยม ไม่อยู่ในระบบอุปถัมภ์ดั้งเดิม และเห็นว่า
        การประชุมกลุ่มย่อยที่ 5   ประชาสังคมแบบขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมครอบคลุมพื้นที่ได้ไม่มาก นำไปสู่ความขัดแย้ง




                     2
                        ตัวอย่างรูปธรรมของแนวคิดนี้คือ ขบวนการเคลื่อนไหวของประชาชนที่มีปัญหาต่างๆ  เช่น สมัชชาคนจน
                  สมัชชาเกษตรกรรายย่อยภาคอีสาน
   456   457   458   459   460   461   462   463   464   465   466