Page 472 - kpi17073
P. 472

กฎหมายการชุมนุมสาธารณะในสังคมไทย :

                            ดุลยภาพระหว่างเสรีภาพของผู้ชุมนุม
                            กับเสรีภาพของประชาชน



                            ชลัท ประเทืองรัตนา*










                            1. ที่มาและความสำคัญ



                                  การได้รับประกันการใช้เสรีภาพในการชุมนุมสาธารณะเป็นหัวใจสำคัญของ

                            การปกครองในระบอบประชาธิปไตย เป็นพื้นฐานที่สำคัญที่ทำให้ประชาชนได้มี
                            ช่องทางในการแสดงออก เรียกร้องความต้องการ บอกเล่าความทุกข์ร้อน อีกทั้ง
                            รัฐมีหน้าที่ในการให้บริการสาธารณะแก่ประชาชน บางครั้งรัฐไม่สามารถให้

                            บริการได้ทันต่อสถานการณ์ ทั่วถึงและมีประสิทธิภาพ ทำให้ประชาชนออกมา
                            เรียกร้องให้รัฐจัดบริการสาธารณะในรูปแบบต่างๆ รวมถึงการชุมนุมประท้วง

                            การชุมนุมเป็นปัจจัยสำคัญอย่างหนึ่งที่เสริมสร้างเสถียรภาพของระบอบ
                            ประชาธิปไตย ซึ่งการแสดงออกซึ่งความคิดทางการเมืองไม่ได้อยู่ที่การเลือกตั้ง
                            เพียงอย่างเดียว อีกทั้งเสรีภาพในการชุมนุมเป็นเสรีภาพทางการเมืองที่ต่อยอด

                            มาจากเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นของปัจเจกบุคคลมาสู่การแสดงความคิด
                            เห็นแบบรวมหมู่ (collective) (จันทจิรา เอี่ยมมยุรา, 2552, น. 59)


                                  ในขณะเดียวกันการใช้เสรีภาพนั้นก็จำเป็นต้องได้รับการตรวจสอบเช่นกัน
                            ว่าอยู่ในขอบเขตหรือไม่ เป็นการกระทบสิทธิของคนอื่นหรือไม่ จึงจำเป็นต้อง

                            สร้างความสมดุลระหว่างสิทธิเสรีภาพของผู้ชุมนุม กับสิทธิของประชาชนทั่วไป
                            ซึ่งไม่ได้เกี่ยวข้องกับปัญหาที่เกิดขึ้น ให้สามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างสงบ ไม่เกิด

                            ความวุ่นวายและไม่ขัดขวางการสัญจรไปมาของบุคคลที่สามจนไม่อาจใช้พื้นที่
                            สาธารณะได้ การใช้เสรีภาพในการชุมนุมมิใช่สิทธิเด็ดขาด (absolute right)
                            แต่เป็นสิทธิสัมพัทธ์ (relative right) ที่สามารถถูกจำกัดได้โดยบทบัญญัติแห่ง

                            กฎหมาย ในกรณีที่ก่อให้เกิดความวุ่นวายกระทบต่อสิทธิของบุคคลอื่น (ปกรณ์
                            นิลประพันธ์, 2553, น.3)



                              *  นักวิชาการชำนาญการ สำนักสันติวิธีและธรรมาภิบาล สถาบันพระปกเกล้า
   467   468   469   470   471   472   473   474   475   476   477