Page 516 - kpi17073
P. 516
การประชุมวิชาการ
สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 16 515
ประสงค์ตามเจตนารมณ์ของการปกครองระบอบประชาธิปไตยด้วย ดังที่กฤษฎา แก้วเกลี้ยง
(2553) กล่าวไว้ตอนหนึ่งว่า
“การปลูกฝังจิตสำนึกที่ดีงามตามหลักการของระบอบประชาธิปไตยให้กับประชาชน ถือเป็น
สิ่งสำคัญเป็นอันดับแรกที่ทุกฝ่ายจำเป็นจะต้องร่วมมือกันทำ เพื่อให้สังคมไทยเป็นสังคมที่มี
คุณภาพ โดยก่อนที่จะทำสังคมให้มีคุณภาพได้นั้น ก็จำเป็นที่จะต้องทำให้ประชาชนในสังคมเป็น
ผู้ที่มีคุณภาพเสียก่อน ซึ่งการกล่าวเช่นนี้ เป็นการกล่าวที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อเชื่อมโยงให้เห็นว่า
หน่วยย่อยๆของสังคมมี “พลัง” ที่สำคัญยิ่ง ในการที่จะกำหนดทิศทางของหน่วยใหญ่ทางสังคม
นั่นก็คือ ประเทศชาติ หรือถ้าจะกล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ เป็นการเชื่อมโยงให้เห็นถึงความสัมพันธ์
ระหว่างสังคมระดับจุลภาค (micro) และสังคมระดับมหภาค (macro) นั่นเอง” (กฤษฎา แก้วเกลี้ยง,
2553, น.146)
อย่างไรก็ตาม เมื่อกล่าวถึงคุณสมบัติของประชาชนที่พึงประสงค์กลุ่มดังกล่าว แนวคิด
ที่ดูเหมือนจะอธิบายประเด็นนี้ได้ดีที่สุดคือ แนวคิดเกี่ยวกับความเป็นพลเมือง (Citizenship)
ความเป็นพลเมืองกับการปกครองระบอบประชาธิปไตย
ความเป็นพลเมือง ถือว่ามีความสำคัญอย่างยิ่งในการปกครองระบอบประชาธิปไตย เพราะ
คำว่า พลเมือง แสดงให้เห็นถึงการมีส่วนร่วมในกิจการต่างๆที่มีอยู่ในรัฐ พลเมืองมิใช่ผู้ที่รอรับ
คำสั่งจากผู้มีอำนาจเพียงอย่างเดียว แต่พลเมืองจะเป็นผู้ที่มีการแสดงบทบาทอย่างรุกเร้า
(Active) เพื่อที่จะพิทักษ์สิทธิและผลประโยชน์อันพึงมีพึงได้ของตนเอง แต่ก็ไม่ลืมที่จะทำหน้าที่
ตามที่กฎหมายไว้ (กฤษฎา แก้วเกลี้ยง, 2554, น.291) ซึ่งจุดเน้นเกี่ยวกับความเป็นพลเมือง
ดังกล่าว เมื่อดูตามรูปศัพท์ทางภาษาของไทยแล้ว ก็จะกล่าวได้ว่า มีความสอดคล้องกับ
ความหมายของจุดเน้นนั้นพอดี เพราะคำว่า พลเมือง เกิดขึ้นจากคำว่า พละ ที่แปลว่า กำลัง
รวมกับคำว่า เมือง ซึ่งเมื่อรวมความแล้วก็แปลได้ว่า ผู้เป็นกำลังของเมือง โดยแน่นอนว่า ผู้ที่เป็น
กำลังของเมืองนี้จะต้องไม่ใช่บุคคลที่มีสถานภาพเป็นผู้ขอรอรับจากผู้อำนาจเพียงอย่างเดียว
แต่พลเมืองจะต้องเป็นผู้มีจิตสำนึก รู้จักใช้ความคิดในการพิจารณาสิ่งต่างๆ ตามหลักที่ควรจะเป็น
รวมถึงไม่ย่อท้อต่อเผชิญหน้ากับความอยุติธรรมต่างๆ
เมื่อเชื่อมโยงคุณลักษณะของความเป็นพลเมืองข้างต้นเข้ากับเจตนารมณ์ของการปกครอง
ระบอบประชาธิปไตยแล้วก็กล่าวได้ว่า แนวความคิดเกี่ยวกับความเป็นพลเมืองและแนวความคิด
เกี่ยวกับประชาธิปไตยนั้นซ้อนทับกันอยู่อย่างผสมกลมกลืนกัน จนไม่สามารถแยกออกจากกันได้
ด้วยเหตุที่หลักการปกครองแบบประชาธิปไตยนั้นเน้นประชาชนเป็นศูนย์กลางในการกระทำ
สิ่งต่างๆ แม้การปกครองระบอบประชาธิปไตยของไทยในปัจจุบัน จะเป็นระบอบประชาธิปไตย
แบบผู้แทน(Representative Democracy) คือ ประชาชนมิได้ใช้อำนาจอธิปไตยทางตรง เพราะ
ประชาชนจะใช้อำนาจอธิปไตยนั้นผ่านทางการเลือกผู้แทน แต่หากประชาชนมีความเป็นพลเมือง
แล้ว ก็ยังกล่าวได้ว่าการปกครองแบบนี้เป็นการปกครองโดยประชาชน มิใช่การปกครองโดย การประชุมกลุ่มย่อยที่ 5
ผู้แทน หรือปกครองโดยนักการเมือง หรือพรรคการเมือง เพราะประชาชนที่เป็นพลเมืองจะเป็น