Page 519 - kpi17073
P. 519
518 การประชุมวิชาการ
สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 16
ไม่ตระหนักในอำนาจอธิปไตยของประชาชน โดยการสภาพการณ์ดังกล่าวจะเป็นสิ่งที่กัดกร่อน
รากฐานของระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยไปเรื่อยๆ และหากไม่มีการแก้ไขอย่าง
ทันท่วงที คำว่า การปกครองระบอบประชาธิปไตยก็คงจะเหลือแค่ตัวอักษรในรัฐธรรมนูญเท่านั้น
ส่วนอีกกลุ่มคือ ประชาชนกลุ่มที่มีการยึดถือว่าตนเองมีอำนาจอธิปไตยเพียงอย่างเดียว
โดยไม่คำนึงถึงความถูกต้องเหมาะสมของการใช้อำนาจอธิปไตยนั้น จนก่อให้เกิดความเดือดร้อน
ขึ้นแก่สังคมส่วนรวม ดังจะเห็นได้จากการอ้างสิทธิในการกระทำต่างๆ ตามระบอบการปกครอง
แบบประชาธิปไตย แต่ไม่ได้มีการกล่าวถึงขอบเขตของการใช้สิทธินั้นๆ ส่งผลให้การใช้สิทธินั้น
กลายเป็นการละเมิดสิทธิของคนอื่นๆ เช่น การใช้สิทธิการชุมนุมตามรัฐธรรมนูญย่อมทำได้
แต่หลายครั้งเราจะพบว่า ผู้ชุมนุมไม่ได้กระทำตามลักษณะของการใช้สิทธิตามรัฐธรรมนูญอย่าง
ครบถ้วน เห็นได้จากการชุมนุมที่มีการทำลายสิ่งของ ตลอดจนการปิดกั้นสิทธิเสรีภาพของฝ่ายที่
เห็นต่าง จนนำไปสู่ความเสียหายด้านต่างๆตามมาเป็นจำนวนมาก และบรรยากาศเหล่านี้เอง
ที่เป็นชนวนชั้นดีที่นำไปสู่ความแตกแยกรุนแรงภายในประเทศในช่วงระยะเวลาที่ผ่านมา
4. ความสัมพันธ์ เป็นเรื่องของความสัมพันธ์เชิงอำนาจที่เกิดขึ้นในการติดต่อระหว่างกัน
ของประชาชนและหน่วยทางสังคมต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นภาคราชการ ภารธุรกิจ ภาคประชาชน ฯลฯ
โดยประชาชนที่มีคุณสมบัติของการเป็นพลเมืองที่ดีตามระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตย
จะต้องรู้จักการรักษาความสัมพันธ์เชิงอำนาจระหว่างตนเองกับหน่วยอื่นๆ ในสังคมให้มีความ
เหมาะสม กล่าวคือ พลเมืองจะต้องรู้จักคิดและวิเคราะห์ว่าตนเองควรจะมีการจัดวางความ
สัมพันธ์อย่างไรกับหน่วยทางสังคมอื่นๆ ที่ตนเองได้เข้าไปติดต่อด้วย เพื่อให้ความสัมพันธ์นั้น
เป็นไปตามหลักประชาธิปไตย เช่น เมื่อพลเมืองเข้าไปติดต่อกับนักการเมือง พลเมืองก็จะต้อง
ตระหนักไว้ก่อนแล้วว่า ตนเองเป็นผู้มีสิทธิเสรีภาพตามระบอบประชาธิปไตย จะต้องไม่มอง
นักการเมืองในลักษณะของการเป็นเจ้านายของเรา ทั้งนี้ก็เพื่อไม่ให้ตนเองต้องตกอยู่ใต้อำนาจของ
นักการเมือง แต่ควรมองนักการเมืองในฐานะหน่วยผลประโยชน์หน่วยหนึ่งที่เราจำเป็นต้อง
พิจารณาอย่างรอบคอบว่า ควรเลือกเขาเข้าไปบริหารประเทศหรือไม่ และหากเขาได้เข้าไปบริหาร
ประเทศแล้ว เขาจะสามารถสร้างประโยชน์ให้เกิดขึ้นได้มากน้อยเพียงใด หรือเมื่อต้องทำงานร่วมกับ
กลุ่มคนชายขอบไม่ว่าจะเรื่องใดก็ตาม พลเมืองก็จำเป็นต้องมีการจัดวางความสัมพันธ์ให้เหมาะสม
นั่นคือ การมองแบบให้เกียรติว่า คนกลุ่มนี้ก็มีสิทธิแห่งความเป็นมนุษย์เหมือนกับเราทุกประการ
จึงควรปฏิบัติต่อพวกเขาอย่างทัดทียมกับคนอื่นๆ โดยไม่นำรูปลักษณ์ภายนอก หรือทรัพย์สิน
เงินทองเข้ามาตัดสินคุณค่าของคน แต่ควรยึดหลักภราดรภาพ นั่นคือ การถือว่าทุกคนมีสิทธิ
เสรีภาพเท่าเทียมกัน ไม่มีใครด้อยไปกว่าใคร ซึ่งหากทำได้เช่นนี้ ก็เชื่อแน่ว่า ระบบความสัมพันธ์
ต่างที่มีอยู่ในสังคมย่อมจะสามารถจัดวางไว้ได้อย่างเรียบร้อย ลดปัญหาเกี่ยวกับความสัมพันธ์เชิง
อำนาจที่เคยมีอยู่ลง
การประชุมกลุ่มย่อยที่ 5 ทำสิ่งต่างๆ ให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่สังคมส่วนรวม ไม่มุ่งกอบโกยผลประโยชน์เพียงอย่างเดียว
5. เจตจำนงทางการเมืองและผลประโยชน์ มีนัยยะถึงความตั้งใจของบุคคลที่ร่วมกันจะ
โดยความตั้งใจนี้ถือเป็นหัวใจสำคัญอย่างหนึ่งของความเป็นพลเมืองเลยทีเดียว เนื่องจากความ
ตั้งใจเป็นเสมือนจุดหมายปลายทางที่พลเมืองจะก้าวไปให้ถึง ซึ่งหากประชาชนในประเทศมีความ