Page 520 - kpi17073
P. 520
การประชุมวิชาการ
สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 16 519
ตระหนักถึงการทำประโยชน์เพื่อส่วนรวมร่วมกันแล้ว ก็ย่อมทำให้การพัฒนาประชาธิปไตยเป็นไป
ได้อย่างราบรื่น อย่างไรก็ตาม ความตั้งที่จะทำประโยชน์เพื่อส่วนรวมนี้ สามารถมองได้หลาย
ระดับ ตั้งแต่ระดับเล็ก เช่น การรู้จักฝึกหัดตนเองให้เป็นคนที่เห็นความสำคัญของการทำความดี
แม้จะเป็นเรื่องเล็กน้อย แต่ก็ตระหนักว่า หากเราทำเรื่องเล็กน้อยเป็นประจำ เรื่องเล็กน้อย
ก็สามารถส่งผลต่อสังคมในระยะยาวได้ เช่น การรู้จักแยกแยะว่า การกระทำสิ่งใดถูก การกระทำ
สิ่งใดผิดด้วยจิตที่เป็นกลาง ไม่นำอคติส่วนตัวเข้ามาเกี่ยวข้อง การหลีกเลี่ยงจากอุปนิสัยมักง่าย
ต่างๆ และการมองว่า การมีส่วนร่วมทางการเมืองเป็นสิ่งที่บุคคลทุกคนพึงกระทำ ไม่มองเพียง
ว่าการเมืองเป็นเรื่องของนักการเมืองเท่านั้น เป็นต้น และการทำเพื่อส่วนรวมในระดับใหญ่ เช่น
การร่วมเคลื่อนไหวเพื่อประโยชน์สาธารณะต่างๆ และการเข้าร่วมในกระบวนการแก้ไขปัญหา
สาธารณะ และการเข้าร่วมเป็นผู้บริหารทางการเมืองอย่างมีคุณธรรม เป็นต้น ซึ่งย้อนมามอง
คุณลักษณะประการดังกล่าวในสังคมไทยแล้ว ก็กล่าวได้ว่า สังคมไทยยังต้องมีการพัฒนา
คุณลักษณะข้อนี้อีกมาก เพราะประชาชนบางกลุ่มยังคงมีการยึดถือผลประโยชน์ของตนเอง
เป็นที่ตั้ง และไม่สนใจที่จะมีส่วนร่วมที่จะพัฒนาสิ่งใดเพื่อประโยชน์สาธารณะ จนในที่สุดจึงกลาย
เป็นวัฒนธรรมทางการเมืองแบบ “ต่างคนต่างอยู่” และเกิดการแย่งชิงผลประโยชน์แบบ “ใครเร็ว
ใครได้” จนในที่สุดจึงทำให้เกิดความวุ่นวายขึ้นในสังคมมาอย่างต่อเนื่อง
6. การลงมือปฏิบัติ นับเป็นคุณลักษณะที่สำคัญยิ่งที่พลเมืองของประเทศพึงมี เพราะการ
ลงมือปฏิบัติถือเป็นขั้นตอนสุดท้ายที่จะขับเคลื่อนสิ่งที่เป็นนามธรรมทั้งหมดให้บังเกิดผลเป็น
รูปธรรมขึ้นในสังคม โดยการกระทำใดๆของพลเมืองนั้นจะต้องตั้งอยู่บนพื้นฐานของจิตสำนึก
สาธารณะและความรับผิดชอบต่อส่วนรวม เพื่อให้บังเกิดประโยชน์สูงสุดแก่สังคม ซึ่งเมื่อกล่าวถึง
การลงมือปฏิบัติแล้ว ย่อมสามารถเชื่อมโยงไปถึงประเด็นของการประสานงานกันระหว่างพลเมือง
ในภาคส่วนต่างๆ โดยการประสานงานกันระหว่างภาคส่วนต่างๆนี้ย่อมต้องอาศัยความ “เข้าใจ”
และ “เห็นใจ” ซึ่งกันและกัน รวมถึงไม่ยึดตนเองเป็นศูนย์กลางของการดำเนินการเพียงอย่างเดียว
แต่จะต้องรู้จักรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นที่อาจจะมีความคิดเห็นแตกต่างกันด้วย ซึ่งการรับฟัง
ดังกล่าวถือเป็นหัวใจอย่างหนึ่งของการปกครองระบอบประชาธิปไตย เพราะการปกครองระบอบ
ประชาธิปไตยเป็นระบอบการปกครองที่เปิดโอกาสให้คนที่มีความแตกต่างทางความคิดสามารถ
แสดงออกได้ตามสิทธิของตนเอง แต่การแสดงความคิดเห็นนั้นก็ย่อมต้องตั้งอยู่บนพื้นฐานของการ
“เคารพผู้อื่น-เคารพกติกา” ด้วย โดยความงดงามของการปกครองระบอบประชาธิปไตยนั้นมิได้
อยู่ที่การที่ทุกคนเห็นพ้องต้องกันทั้งหมด แต่อยู่ตรงการที่บุคคลที่มีความคิดที่แตกต่างหลากหลายนั้น
สามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างเป็นระเบียบ เสมือนช่อดอกไม้ที่ประกอบไปด้วยดอกไม้หลากหลายสี
ที่เมื่อนำเข้ามาจัดเป็นช่อร่วมกันแล้ว ดอกไม้เหล่านั้นก็สามารถสร้างความงดงามให้เกิดขึ้นได้อย่าง
ลงตัว
จากที่กล่าวถึงคุณลักษณะของพลเมืองตามแนวคิดพลเมืองผ่านทางการวิเคราะห์ตาม
แนวคิดของ David Mathews มาตั้งแต่ต้น จะเห็นได้ว่า ความเป็นพลเมืองในการปกครองระบอบ
ประชาธิปไตยนั้นเป็นเรื่องที่อยู่ในชีวิตประจำวันของคนทุกคน ไม่ว่าบุคคลนั้นจะมีความแตกต่าง
กันในด้านใดก็ตาม ทุกคนก็สามารถพัฒนาตนเองให้มีความเป็นพลเมืองได้ เพราะทุกคนล้วนอยู่ การประชุมกลุ่มย่อยที่ 5