Page 527 - kpi17073
P. 527

526     การประชุมวิชาการ
                   สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 16


                  ประชาธิปไตย มาใช้ในการกอบโกยผลประโยชน์จากประชาชน แม้ท้องถิ่นหลายแห่งจะพยายาม
                  ชูประเด็นเกี่ยวกับการสร้างการมีส่วนร่วมของประชาชนมาเป็นจุดขายของตนเองก็ตาม แต่ก็

                  จำเป็นต้องระวังว่า การสร้างการมีส่วนร่วมนั้นเป็นการมีส่วนร่วมที่แท้จริงหรือไม่ เพราะหลายครั้ง
                  ถูกพบว่า การสร้างการมีส่วนร่วมที่เกิดขึ้นภายในชุมชนนั้นเป็นการสร้างการมีส่วนร่วมแบบระดม
                  คนของฝ่ายตนเองมาสร้างความชอบธรรมในเชิงกระบวนการเท่านั้น มิใช่เน้นให้ทุกฝ่ายเข้ามามี

                  ส่วนร่วมอย่างแท้จริง


                       2.  การมีส่วนร่วมในระดับมหภาค เป็นการมีส่วนร่วมที่ประชาชนผู้เป็นเจ้าของอำนาจ
                  อธิปไตยได้เข้าไปมีส่วนร่วมในการเมืองระดับใหญ่ที่ทำหน้าที่ในการออกนโยบายมาบริหารประเทศ
                  โดยตรง ตลอดจนการมีส่วนร่วมในองค์กรที่มีส่วนร่วมในการบริหารประเทศด้านต่างๆ ไม่ว่าจะ

                  เป็นองค์กรภาคราชการหรือองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ ซึ่งการเข้าไปมีส่วนร่วมในการเมือง
                  ระดับใหญ่ดังกล่าว ถือเป็นสิ่งที่มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการกำหนดทิศทางของประเทศ แม้ว่า

                  บุคคลคนเดียวจะไม่สามารถสร้างให้เกิดเหตุการณ์ใดๆ ขึ้นได้ แต่หากประชาชนส่วนใหญ่ร่วมมือ
                  กันแล้ว ก็ย่อมสร้างบางสิ่งบางอย่างให้เกิดขึ้นในทางการเมืองได้อย่างไม่ยากนัก เช่น หากพบเห็น
                  นักการเมืองคนใดทุจริต ก็เข้าไปทำการตรวจสอบ และร่วมกันลงชื่อถอดถอน หรือการร่วมกัน

                  ตรวจสอบการทำงานขององค์ต่างๆตามช่องทางที่มีอยู่เสมอ เพื่อสร้างธรรมาภิบาล (Governance)
                  ให้เกิดขึ้นในการบริหารราชการแผ่นดิน


                         สำหรับช่องทางการเข้าไปมีส่วนร่วมในการเมืองระดับใหญ่นี้ ก็มีความคล้ายคลึงกับการ
                  เข้าไปมีส่วนร่วมในการเมืองระดับเล็ก เช่น การเลือกตั้งผู้แทน การร่วมตรวจสอบการทำงานของ

                  หน่วยงานรัฐ การลงชื่อถอดถอน ฯลฯ อย่างไรก็ตาม ประเด็นสำคัญประการหนึ่งที่จำเป็นต้องนำ
                  มาพิจารณาเมื่อกล่าวถึงการมีส่วนร่วมในระดับใหญ่ คือ การที่นักการเมืองที่ผ่านการเลือกตั้ง

                  เข้ามามักจะไม่ค่อยฟังเสียงที่มีความแตกต่างหลากหลายของประชาชนเท่าใดนัก แต่มักจะมีการ
                  ให้ความสำคัญกับเสียงของ “คนส่วนใหญ่” ที่เลือกพวกเขาเข้ามาเท่านั้น โดยพวกเขามักอ้างว่า
                  ตนเองได้รับเลือกเข้ามาถูกต้องตามครรลองของการปกครองระบอบประชาธิปไตย ซึ่งคำกล่าวอ้าง

                  เช่นนี้ นับว่า “ถูกเพียงครึ่งเดียว” เนื่องจากหลักการของประชาธิปไตยที่แท้จริงนั้นจะต้องไม่ทอดทิ้ง
                  เสียงส่วนน้อยที่ไม่เห็นด้วย และควรนำเสียงส่วนน้อยนั้นมาพิจารณาเพื่อปรับปรุงการทำงานของ

                  ตนเองให้ดีขึ้น ดังนั้น ภาคประชาชนจึงจำเป็นที่จะต้องพยายามเข้าไปมีส่วนร่วมในการเมืองระดับ
                  ใหญ่ให้มาก ไม่ว่าจะเป็นประชาชนที่เห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วยกับรัฐบาลก็ตาม ทั้งนี้ก็เพื่อให้เกิด
                  การคานอำนาจซึ่งกันและกัน ไม่ปล่อยให้ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งใช้อำนาจแบบไร้ขอบเขต เพราะเราต้อง

                  ไม่ลืมว่า ประชาชนทุกคนเป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตย แม้ว่าจะมีประชาชนบางกลุ่มที่เป็นเสียง
                  ส่วนน้อยในระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยก็ตาม หรือในทางกลับกัน ในบางครั้ง เมื่อ

                  นักการเมืองที่ได้รับเลือกจากเสียงส่วนใหญ่ให้เข้าไปดำรงตำแหน่งสำคัญในการบริหารประเทศก็มี
                  การกระทำในลักษณะที่ทำตาม “อำเภอใจ” ของตนเอง และ “ยืนเป็นกระต่ายขาเดียว” ว่าตนเอง
        การประชุมกลุ่มย่อยที่ 5   เป็นผู้ที่ได้รับเสียงส่วนมากให้เข้ามาดำรงตำแหน่ง ทั้งที่ประชาชนที่เป็นเสียงส่วนมากที่เคย


                  สนับสนุนนักการเมืองกลุ่มนี้ก็อาจไม่ได้เห็นด้วนเสียทั้งหมด ซึ่งหากปล่อยให้เหตุการณ์เช่นนี้
                  ดำเนินไปเรื่อยๆ ก็อาจทำให้ระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตย กลายเป็นระบอบการปกครอง
   522   523   524   525   526   527   528   529   530   531   532